ศิลปะ
ศิลปะ หมายถึงช่วงกว้าง ๆ ของสิ่งซึ่งเป็นหรือเป็นผลผลิตจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย ความคิด เพื่อแสดงออกซึ่งฝีมือ, สุนทรีย์, อำนาจทางอารมณ์, หรือแนวคิด[1][2][3]
โดยทั่วไปถือกันว่าไม่มีคำนิยามร่วมว่าอะไรทำให้สิ่งหนึ่งเป็นศิลปะ[4][5][6] และแนวคิดต่อศิลปะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา โดยทัศนศิลป์ประกอบด้วยสามสาขาดั้งเดิม ได้แก่ จิตรกรรม, ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม[7] การละคร, การร่ายรำ, และศิลปะการแสดงอื่น ๆ รวมถึงวรรณกรรม, ดนตรี, ภาพยนตร์ และสื่ออื่น ๆ อย่างภาพถ่ายและสื่ออินเทอร์แอกทีฟล้วนเป็นส่วนหนึ่งในความหมายกว้างของบรรดาศิลปะ[1][8]
ธรรมชาติของศิลปะและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง เช่น ความคิดสร้างสรรค์และการตีความศิลปะ ปรากฏศึกษาในอีกศาสตร์หนึ่งทางปรัชญาที่เรียกว่า สุนทรียศาสตร์[9] สำหรับงานศิลปะนั้นมีการศึกษาอย่างเป็นระบบในสาขาวิทยาการของการวิจารณ์ศิลปะและประวัติศาสตร์ศิลป์
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Art: definition". Oxford Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-01. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
- ↑ "art". Merriam-Websters Dictionary.
- ↑ "CONCEPTUAL ART | Definition of CONCEPTUAL ART by Oxford Dictionary on Lexico.com also meaning of CONCEPTUAL ART". Lexico Dictionaries | English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18.
- ↑ Stephen Davies (1991). Definitions of Art. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-9794-0.
- ↑ Robert Stecker (1997). Artworks: Definition, Meaning, Value. Pennsylvania State University Press. ISBN 978-0-271-01596-5.
- ↑ Noël Carroll, บ.ก. (2000). Theories of Art Today. University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-16354-9.
- ↑ Vasari, Giorgio (18 December 2007). The Lives of the Most Excellent Painters, Sculptors, and Architects. Random House Publishing Group. ISBN 9780307432391.
- ↑ "Art, n. 1". OED Online. December 2011. Oxford University Press. http://www.oed.com. (Accessed 26 February 2012.)
- ↑ W. E. Kennick, Art and Philosophy: Readings in Aesthetics. New York: St. Martin's Press, 1979, pp. xi–xiii. ISBN 0-312-05391-6.