อันตอน เชคอฟ

(เปลี่ยนทางจาก Anton Chekhov)

อันตอน ปัฟโลวิช เชคอฟ (รัสเซีย: Анто́н Па́влович Че́хов[note 1], อักษรโรมัน: Anton Pavlovich Chyekhov, แปลตรงตัว'ɐnˈton ˈpavləvʲɪtɕ ˈtɕexəf'; 29 มกราคม ค.ศ. 1860[note 2] – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1904[note 3]) เป็นนายแพทย์, นักเขียนเรื่องสั้น และ นักเขียนบทละครคนสำคัญชาวรัสเซีย[3] เชคอฟเขียนบทละครสี่เรื่องที่ถือกันว่าเป็นงานคลาสสิกโดยนักเขียนและนักวิพากษ์วรรณกรรม[4][5] ระหว่างที่ทำงานเขียนเชคอฟก็ยังเป็นนายแพทย์ไปด้วยในขณะเดียวกัน ครั้งหนึ่งเชคอฟเปรียบการเป็นแพทย์กับการเขียนว่า "การแพทย์เป็นภรรยาตามกฎหมายและการเขียนเป็นภรรยาน้อย"[6]

อันตอน เชคอฟ
เชคอฟใน ค.ศ. 1889
เชคอฟใน ค.ศ. 1889
เกิดอันตอน ปัฟโลวิช เชคอฟ
29 มกราคม ค.ศ. 1860(1860-01-29)[1]
ทากันร็อก เขตผู้ว่าการเยคาเตรีโนสลัฟ จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต15 กรกฎาคม ค.ศ. 1904(1904-07-15) (44 ปี)[2]
บาเดินไวเลอร์ แกรนด์ดัชชีบาเดิน จักรวรรดิเยอรมัน
ที่ฝังศพสุสานโนโวเดวิชี มอสโก
อาชีพแพทย์, นักเขียนเรื่องสั้น, นักเขียนบทละคร
ภาษารัสเซีย
สัญชาติรัสเซีย[3]
จบจากมหาวิทยาลัยการแพทย์รัฐแห่งแรกของมอสโก
รางวัลสำคัญรางวัลปุชกิน
คู่สมรสOlga Knipper (สมรส 1901)
ญาติอเล็กซานเดอร์ เชคอฟ (พี่ชาย)
มาเรีย เชคอวา (น้องสาว)
นิโคไล เชคอฟ (พี่ชาย)
มิฮาอิล เชคอฟ (หลานชาย)
Lev Knipper (หลานชาย)
โอลกา เชคอวา (หลานสาว)
Ada Tschechowa (เหลนสาว)
Marina Ried (เหลนสาว)
Vera Tschechowa (ลื่อสาว)

ลายมือชื่อ

เชคอฟหันหลังให้กับโรงละครเมื่อบทละครเรื่อง The Seagull (ไทย: นกนางนวล) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1896 ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า แต่ได้รับการรับรองเป็นอย่างดีเมื่อถูกนำกลับมาแสดงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1898 โดยโรงละครศิลปะมอสโคว์ของคอนแสตนติน สตานิสสลาฟสกี (Constantin Stanislavski) ซึ่งต่อมาก็สร้างละคร Uncle Vanya (ไทย: ลุงวานยา) และสร้างละครสองเรื่องสุดท้ายของเชคอฟเป็นครั้งแรก Three Sisters (ไทย: สามศรีพี่น้อง) และ The Cherry Orchard (ไทย: สวนเชอร์รี) งานบทละครสี่ชิ้นนี้เป็นงานที่ท้าทายนักแสดง[7] และผู้ชมเพราะแทนที่จะเป็นการสื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เชคอฟใช้ "บรรยากาศ" (theatre of mood) และ "ฝังชีวิตลงในเนื้อหา" (submerged life in the text)[8] บทละครที่เชคอฟแต่งไม่ได้ซับซ้อน แต่ติดตามได้ง่าย และทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงบรรยากาศที่ติดหูติดตา[3]

ในระยะแรกเชคอฟเขียนเรื่องสั้นเพื่อหารายได้ แต่เมื่อแรงบันดาลใจทางด้านศิลปะเริ่มก่อตัวขึ้น เชคอฟก็เริ่มใช้วิธีใหม่ที่เป็นการปฏิรูปการเขียนเรื่องสั้นสมัยใหม่[9] ความเป็นเอกลักษณ์ของเชคอฟอยู่ที่การเป็นผู้เริ่มใช้วิธีเขียนที่เรียกว่า "การเขียนตามกระแสสำนึก" (stream of consciousness writing) ที่ต่อมานำมาใช้โดยเจมส์ จอยซ์ และนักเขียนแบบวรรณกรรมสมัยใหม่นิยม (Modernist literature) คนอื่นๆ ที่มารวมกับการไม่ยอมสรุปความเห็นทางด้านจริยธรรม ตามธรรมเนียมโครงสร้างของการเขียนวรรณกรรมก่อนหน้านั้น[10] เชคอฟไม่ยอมแก้ตัวแต่อย่างใดในข้อที่ว่าบทละครทีตนเองเขียนเป็นบทละครที่ยากต่อความเข้าใจของผู้อ่าน โดยยืนกรานว่าหน้าที่ของศิลปินคือการตั้งคำถามมิใช่การตอบคำถาม[11]

งานเขียนบางชิ้น

แก้

บทละคร

แก้
  • On the Harmful Effects of Tobacco (ไทย: เรื่องอันตรายของยาสูบ) (ค.ศ. 1886)
  • Ivanov (ไทย: อิวานอฟ) (ค.ศ. 1887)
  • The Seagull (ไทย: นกนางนวล) (ค.ศ. 1896)
  • The Proposal (ไทย: ขอแต่งงาน) (ค.ศ. 1888-ค.ศ. 1889)
  • Uncle Vanya (ไทย: ลุงวานยา) (ค.ศ. 1899)
  • Three Sisters (ไทย: สามศรีพี่น้อง) (ค.ศ. 1900)
  • The Cherry Orchard (ไทย: สวนเชอร์รี) (ค.ศ. 1904)

เรื่องสั้น

แก้
  • The Student (ไทย: นักเรียน) (ค.ศ. 1894)
  • Easter Eve (ไทย: ค่ำวันก่อนอีสเตอร์) (ค.ศ. 1886)
  • The Bet (ไทย: พนัน) (ค.ศ. 1889)
  • The Black Monk (ไทย: พระดำ) (ค.ศ. 1894)
  • An Artist's Story (ไทย: เรื่องของศิลปิน) (ค.ศ. 1896)
  • The Lady with the Dog (ไทย: สตรีกับสุนัข) (ค.ศ. 1899)
  • On Official Duty (ไทย: ทำหน้าที่) (ค.ศ. 1899)
  • In the Ravine (ไทย: ในห้วย) (ค.ศ. 1900)
  • Betrothed (ไทย: คู่หมั้น) (ค.ศ. 1903)

หมายเหตุ

แก้
  1. ในสมัยของเชคอฟ เขาเขียนชื่อตนเองเป็น Антонъ Павловичъ Чеховъ ดูตัวอย่างใน Антонъ Павловичъ Чеховъ. 1898. Мужики и Моя жизнь.
  2. แบบเก่า: 17 มกราคม
  3. แบบเก่า: 2 กรกฎาคม

อ้างอิง

แก้
  1. Letter to G. I. Rossolimo, 11 October 1899. Letters of Anton Chekhov
  2. Rayfield 1997, p. 595.
  3. 3.0 3.1 3.2 Hingley, Ronald Francis (2022-01-25). "Anton Chekhov - Biography, Plays, Short Stories, & Facts". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  4. "Greatest short story writer who ever lived." Raymond Carver (in Rosamund Bartlett's introduction to About Love and Other Stories, XX); "Quite probably. the best short-story writer ever." A Chekhov Lexicon, by William Boyd, The Guardian, 3 July 2004. Retrieved 16 February 2007.
  5. "Stories ... which are among the supreme achievements in prose narrative." Vodka miniatures, belching and angry cats, George Steiner's review of The Undiscovered Chekhov, in The Observer, 13 May 2001. Retrieved 16 February 2007.
  6. Letter to Alexei Suvorin, 11 September 1888. Letters of Anton Chekhov. On Wikiquote.
  7. "Actors climb up Chekhov like a mountain, roped together, sharing the glory if they ever make it to the summit". Actor Ian McKellen, quoted in Miles, 9.
  8. "Chekhov's art demands a theatre of mood." Vsevolod Meyerhold, quoted in Allen, 13; "A richer submerged life in the text is characteristic of a more profound drama of realism, one which depends less on the externals of presentation." Styan, 84.
  9. "Chekhov is said to be the father of the modern short story". Malcolm 2004, p. 87; "He brought something new into literature." James Joyce, in Arthur Power, Conversations with James Joyce, Usborne Publishing Ltd, 1974, ISBN 978-0-86000-006-8, 57; "Tchehov's breach with the classical tradition is the most significant event in modern literature", John Middleton Murry, in Athenaeum, 8 April 1922, cited in Bartlett's introduction to About Love.
  10. "This use of stream-of-consciousness would, in later years, become the basis of Chekhov's innovation in stagecraft; it is also his innovation in fiction." Wood, 81; "The artist must not be the judge of his characters and of their conversations, but merely an impartial witness." Letter to Suvorin, 30 May 1888; In reply to an objection that he wrote about horse-thieves (The Horse-Stealers, retrieved 16 February 2007) without condemning them, Chekhov said readers should add for themselves the subjective elements lacking in the story. Letter to Suvorin, 1 April 1890. Letters of Anton Chekhov.
  11. "You are right in demanding that an artist should take an intelligent attitude to his work, but you confuse two things: solving a problem and stating a problem correctly. It is only the second that is obligatory for the artist." Letter to Suvorin, 27 October 1888. Letters of Anton Chekhov.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ชีวประวัติ
สารคดี
ผลงาน