อันดับเทนเรค
อันดับเทนเรค ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนตอนต้น-ปัจจุบัน, 23.3–0Ma [1] | |
---|---|
เทนเรคธรรมดา (Tenrec ecaudatus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
ชั้นฐาน: | Placentalia |
อันดับใหญ่: | Afrotheria |
อันดับ: | Afrosoricida Stanhope, 1998 |
วงศ์ | |
ชื่อพ้อง[2] | |
อันดับเทนเรค เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Afrosoricida (มาจากภาษากรีก-ละติน หมายความว่า "ดูคล้ายหนูผีแอฟริกา") ซึ่งอันดับนี้เดิมเคยถูกรวมกับสัตว์อื่นที่มีความใกล้เคียงกัน คือ อันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora)
รูปร่างลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้จะเหมือนกับสัตว์จำพวกอื่นที่เคยถูกจัดรวมเป็นอันดับสัตว์กินแมลงเหมือนกันในอดีต เช่น ตุ่น, หนูผี, เฮดจ์ฮอก หรือแม้แต่กระทั่งผสมกันระหว่างนาก ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ กับหนูผีก็มี ซึ่งจากการศึกษาด้านพันธุกรรมและดีเอ็นเอพบว่า สัตว์ในอันดับนี้มีการวิวัฒนาการที่แยกออกไป จึงได้ถูกจัดแยกออกมาเป็นอันดับต่างหาก ซึ่งการที่มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองแต่กลับมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับสัตว์ที่มีวิวัฒนาการที่แตกต่างออกไป การวิวัฒนาการเช่นนี้เรียกว่า "วิวัฒนาการแบบเข้าหากัน" [3]
พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา และเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งบรรพบุรุษของสัตว์ในอันดับนี้ก็เดินทางมาจากแผ่นดินใหญ่เหมือนกับลีเมอร์หรือสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของเกาะมาดากัสการ์เช่นเดียวกัน[3]
โดยแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ ประมาณ 50 ชนิด ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ ตุ่นสีทอง และเทนเรค [4]
การจำแนก
แก้- ชั้นฐาน Eutheria:
- อันดับใหญ่ Afrotheria
- Clade Afroinsectiphilia
- อันดับ Afrosoricida
- อันดับย่อย Tenrecomorpha
- วงศ์ Tenrecidae: เทนเรค และ หนูผีนาก; 30 ชนิด ใน 10 สกุล
- อันดับย่อย Chrysochloridea
- วงศ์ Chrysochloridae: ตุ่นสีทอง; ประมาณ 21 ชนิด ใน 9 สกุล
- อันดับย่อย Tenrecomorpha
- อันดับ Macroscelidea: หนูผีช้าง
- อันดับ Tubulidentata: อาร์ดวาร์ก
- อันดับ Afrosoricida
- Clade Paenungulata
- อันดับ Hyracoidea: ไฮแรกซ์
- อันดับ Proboscidea: ช้าง
- อันดับ Sirenia: มานาที และ พะยูน[4]
- Clade Afroinsectiphilia
- อันดับใหญ่ Afrotheria
อ้างอิง
แก้- ↑ Savage, RJG, & Long, MR (1986). Mammal Evolution: an illustrated guide. New York: Facts on File. pp. 53. ISBN 0-8160-1194-X.
- ↑ จาก itis.gov
- ↑ 3.0 3.1 Madagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 19 มกราคม 2556
- ↑ 4.0 4.1 Bronner, G. N.; Jenkins, P. D. (2005). "Order Afrosoricida". In Wilson, D. E.; Reeder, D. M. Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 71-81. ISBN 978-0-8018-8221-0.