7 ปี โลกไม่มีวันลืม
เซเวนเยียร์สอินทิเบต (อังกฤษ: Seven Years in Tibet) เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากหนังสืออัตชีวประวัติของไฮน์ริค ฮาร์เรอร์ นักไต่เขาชาวออสเตรียที่ใช้ชีวิตอยู่ในทิเบตระหว่างปี ค.ศ. 1944 ถึง 1951 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงการรุกรานทิเบตโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน มีชื่อภาษาไทยว่า "7 ปี โลกไม่มีวันลืม"
7 ปี โลกไม่มีวันลืม | |
---|---|
Seven Years in Tibet film poster. | |
กำกับ | Jean-Jacques Annaud |
เขียนบท | Heinrich Harrer (book) Becky Johnston |
อำนวยการสร้าง | Jean-Jacques Annaud Iain Smith John H. Williams |
นักแสดงนำ | แบรด พิตต์ David Thewlis Danny Denzongpa |
ดนตรีประกอบ | John Williams |
ผู้จัดจำหน่าย | TriStar Pictures |
วันฉาย | 8 ตุลาคม , พ.ศ. 2540 (USA) |
ความยาว | 139 min. |
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาแมนดาริน ภาษาทิเบต |
ทุนสร้าง | $70,000,000 US (est.) |
ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยฌอง ฌากส์ อันโน นำแสดงโดยแบรด พิตต์ และเดวิด ทีวลิส รับบทเป็นไฮน์ริค แฮร์เรอร์ และปีเตอร์ ออฟชไนเตอร์ สองนักไต่เขาชาวออสเตรียที่ขณะนั้นอยู่ใต้การปกครองของนาซีเยอรมนี ทั้งสองเป็นตัวแทนของเยอรมนีในการพิชิตยอดเขานังกาปาร์บัต บนเทือกเขาหิมาลัย แต่เมื่อเยอรมนีประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรจึงถูกจับตัวเป็นเชลยสงคราม และส่งเข้าค่ายกักกัน ทั้งสองหลบหนีออกมาจากค่ายและเดินเท้าขึ้นเหนือไปสู่ทิเบต ได้พบกับทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่ในวัยเด็ก ได้เป็นครูสอนวิชาภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ให้กับพระองค์ และเป็นที่ปรึกษาทางการทหารให้กับกองทัพทิเบต ทั้งสองใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังโปตาลาเป็นเวลาเจ็ดปีจนกระทั่งองค์ทะไลลามะทรงเข้าพิธีครองบัลลังก์อย่างเป็นทางการ และเดินทางกลับออสเตรียหลังจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน เข้ารุกรานทิเบตในปี ค.ศ. 1950
ภาพยนตร์เรื่องนี้แต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์โดยจอห์น วิลเลียมส์ มีโยโย มาเป็นนักดนตรีโซโล ภาพยนตร์ถ่ายทำส่วนใหญ่ในอาร์เจนตินา โดยมีภาพฟุตเตจบางส่วนได้มาจากการลักลอบถ่ายทำในสถานที่จริง [1] บางส่วนถ่ายทำในเนปาล ชิลี และแคนาดา เนื้อหาในภาพยนตร์นำเสนอภาพทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่ในทางบวก และกองทัพปลดปล่อยประชาชนในทางลบ [2] ส่งผลให้ผู้กำกับและนักแสดงนำทั้งสอง ถูกห้ามเข้าประเทศจีน [3][4]
อ้างอิง
แก้- ↑ Canada Tibet Committee: Director Secretly Filmed In Tibet
- ↑ Canada Tibet Committee: "Hollywood's New China Syndrome (The Los Angeles Times) 'Red Corner,' 'Seven Years in Tibet' and 'Kundun' take the country's human rights record to task, especially regarding its treatment of Tibet. How will the Chinese react to filmdom's scrutiny?"
- ↑ Brad Pitt biography at allmovie.com
- ↑ David Thewlis biography at allmovie.com
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Seven Years in Tibet ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส (1997)
- The Wild Things of God: Seven Years in Tibet เก็บถาวร 2008-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน