การประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 ครั้งที่ 44

(เปลี่ยนทางจาก 44th G7 summit)

การประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 ครั้งที่ 44 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8-9 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ที่ลามาลแบ รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา[1] การประชุดสุดยอดในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่หก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ที่ประเทศแคนาดาเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอด[2]

การประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 ครั้งที่ 44
ประเทศเจ้าภาพ แคนาดา
ข้อมูลวันที่8-9 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ผู้เข้าร่วม
เว็ปไซต์ทางการg7.gc.ca/en/

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 กลุ่ม 7 ได้ก่อตั้งขึ้น พร้อมกับเหล่าผู้นำจากประเทศแคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ เนื่องจากการเปิดอภิปรายให้ประเทศรัสเซียออกจากกลุ่ม 8[3] ตั้งแต่นั้นมาการประชุมจึงได้ขึ้นชื่อว่าอยู่ในกลุ่ม 7 ในวันแรกของการประชุม สหรัฐได้มีท่าทีที่จะผลักดันให้ประเทศรัสเซียเข้ามาในกลุ่ม 7 เหมือนเดิม หลังจากนั้นไม่นานประเทศอิตาลีก็ได้ขอให้ใช้ชื่อกลุ่ม 8 เหมือนเดิม[4][5]

การประชุมสุดยอดในครั้งนี้ได้ร่วมความสนใจอย่างมาก เนื่องจากว่าสหรัฐลดความสัมพันธ์กับสมาชิกประเทศในกลุ่ม 7[6] เนื่องจากเหตุการณ์ในครั้งนี้มีการขนานนามการประชุมในครั้งนี้ว่า การประชุมสุดยอดกลุ่ม 6+1 โดยสื่อมวลชนในประเทศฝรั่งเศสและประเทศสมาชิกได้กล่าวว่า เป็นการสื่อถึงการแยกตัวของสหรัฐ[7][8][9][10]

วาระการประชุมและการเตรียมการ

แก้

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด แห่งแคนาดา กล่าวว่าเขาตั้งใจที่จะ "แสดงการให้ความสำคัญกับทั้งในและต่างประเทศ: เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ชนชั้นกลาง เพิ่มความเสมอภาคทางเพศ การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการเคารพความหลากหลาย[1]

ในเดือนมิถุนายน 2560 ปีเตอร์ โบห์ม (Peter Boehm) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการการประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 และผู้แทนส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี[11] หลังจากทำหน้าที่เป็น "จี 7 เศรปา" (ผู้แทนนายกรัฐมนตรีในการเตรียมการประชุมประจำปี) ของแคนาดา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555[12]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ทรูโดได้เปิดตัวสัญลักษณ์การประชุมสุดยอด และประกาศห้าประเด็นสำคัญที่แคนาดาจะดำเนินการต่อ เมื่อได้รับตำแหน่งประธานของกลุ่ม 7 ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561[13]

  • ลงทุนสร้างความเจริญก้าวหน้าที่เหมาะสมกับทุกคน
  • เตรียมความพร้อมสำหรับงานในอนาคต
  • การพัฒนาความเสมอภาคทางเพศและการส่งเสริมพลังสตรี
  • ทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, มหาสมุทร และส่งเสริมพลังงานสะอาด
  • สร้างโลกที่สงบและปลอดภัยยิ่งขึ้น

คำประกาศแถลงการณ์

แก้

"พันธกรณีชาร์เลอวัว ในการปกป้องประชาธิปไตยจากภัยคุกคามจากต่างประเทศ" เป็นหนึ่งในแปดคำแถลงการณ์ในการประชุมครั้งนี้ โดยผู้นำกลุ่ม 7 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2561[14] โดยพันธกรณีชาร์เลอวัว ระบุว่า "ผู้ดำเนินนโยบายต่างชาติ ได้พยายามที่จะบ่อนทำลายสังคมประชาธิปไตยและสถาบันของเรา, กระบวนการเลือกตั้งของเรา, อำนาจอธิปไตยของเรา และความปลอดภัยของเรา กลยุทธ์ที่เป็นอันตรายหลายแง่มุมและมีวิวัฒนาการตลอดเวลาเหล่านี้ เป็นภัยคุกคามทางยุทธศาสตร์ร้ายแรง ซึ่งเรามุ่งมั่นที่จะเผชิญหน้าและทำงานร่วมกับรัฐบาลอื่น ๆ ที่แบ่งปันค่านิยมทางประชาธิปไตยของเรา" การประชุมสุดยอดชาร์เลอวัว มีมติให้จัดตั้งกลไกการตอบสนองอย่างรวดเร็วของกลุ่ม 7 "เพื่อเสริมสร้างการประสานงานของเราในการระบุและตอบสนองต่อภัยคุกคามที่หลากหลาย และการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยของเรา รวมถึงผ่านทางการแบ่งปันข้อมูลและการวิเคราะห์ และการระบุโอกาสในการประสานความร่วมมือกัน"[14]

ผู้นำในการประชุมสุดยอด

แก้
 
ภาพถ่ายรูปหมู่ของสมาชิกที่มาเข้าร่วมในการประชุมสุดยอด 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561
 
การประชุมในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ผู้เข้าร่วมการประสุดยอดในครั้งนี้ล้วนแล้วเป็นผู้นำประเทศของสมาชิกกลุ่ม 7 โดยมีตัวแทนจากสหภาพยุโรปเข้าร่วมด้วย ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรปได้เป็นผู้ที่เข้าร่วมการประชุมถาวร ในทุกครั้งการประชุมและการหารือกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524

การประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 ครั้งที่ 44 นี้ถือเป็นครั้งแรกในการประชุมสุดยอดของนายกรัฐมนตรีอิตาลี จูเซปเป คอนเต และเป็นการประชุมครังสุดท้ายของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เทเรซา เมย์ และประธานคณะคณะกรรมาธิการยุโรป ฌ็อง-โคลท ยุงเคอร์

ผู้เข้าร่วม

แก้
ผู้ที่เข้าร่วม/สมาชิกของการประชุมสุดยอดกลุ่ม 7
เมืองและผู้นำเจ้าภาพในการจัดประชุมสุดยอดจะเป็นตัวหนา
สมาชิก นำโดย ตำแหน่ง
  แคนาดา จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรี
  ฝรั่งเศส แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดี
  เยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรี
  อิตาลี จูเซปเป คอนเต นายกรัฐมนตรี
  ญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี
  สหราชอาณาจักร เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรี
  สหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี
  สหภาพยุโรป ฌ็อง-โคลท ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมมาธิการ
ดอนัลต์ ตุสก์ ประธานสภายุโรป

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Canada to host 2018 G7 Summit in Charlevoix, Quebec". pm.gc.ca. Office of the Prime Minister (Canada). May 27, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-27. สืบค้นเมื่อ May 27, 2017.
  2. "Canada to host 2018 meeting of G7 leaders in Charlevoix, Quebec". Toronto Star. May 25, 2017. สืบค้นเมื่อ May 29, 2017.
  3. "Leaders plan Brussels G7 in June instead of G8 in Sochi". Irish Independent. March 24, 2014. สืบค้นเมื่อ May 29, 2017..
  4. "Trump Calls for Russia to Be Readmitted to G-7". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-06-08. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2018-06-08.
  5. Herszenhorn, David (June 8, 2018). "New Italian leader backs Trump on Russia rejoining G-7". Politico. สืบค้นเมื่อ June 8, 2018.
  6. Erlam, Craig (June 8, 2018). "Risk Aversion Seen Ahead of Hostile G6+1 Summit". FXStreet. สืบค้นเมื่อ June 8, 2018. The G7 meeting has become more like a G6+1, with Trump choosing to isolate the US on a number of issues from trade to Iran and climate change.
  7. Allen, Jonathan (June 8, 2018). "Welcome to the G6+1: Trump reps an isolated America at the G-7 summit". NBC News. สืบค้นเมื่อ June 8, 2018. The G-7 this year looks more like a G6+1. That's how French Foreign Minister Bruno Le Maire recently described America's increasingly isolated position as the Group of Seven nations — the U.S., Britain, France, Japan, Germany, Italy and Canada — start a two-day meeting in Charlevoix, Canada, Friday.
  8. Erlam, Craig (June 8, 2018). "Risk Aversion Seen Ahead of Hostile G6+1 Summit". FXStreet. สืบค้นเมื่อ June 8, 2018. The G7 meeting has become more like a G6+1, with Trump choosing to isolate the US on a number of issues from trade to Iran and climate change.
  9. Kottasová, Ivana (8 June 2018). "G7 summit angst; ZTE deal; IMF in Argentina". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-16. สืบค้นเมื่อ 8 June 2018. Diplomatic tensions and an escalating trade war mean that President Donald Trump can expect a chilly reception at the summit, which some have dubbed the G6+1.
  10. Solomon, Deborah (June 11, 2018). "Who is Peter Navarro?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 13, 2018.
  11. "The Prime Minister announces changes in the senior ranks of the Public Service". pm.gc.ca. Office of the Prime Minister (Canada). 23 June 2017. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
  12. "Peter Boehm". pm.gc.ca. 23 June 2017. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
  13. "Prime Minister unveils themes for Canada's 2018 G7 Presidency". pm.gc.ca. Office of the Prime Minister (Canada). 14 December 2017.
  14. 14.0 14.1 Charlevoix commitment on defending democracy from foreign threats (PDF) (Report). Charlevoix, Quebec: Group of 7. June 9, 2018. p. 2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

47°37′14″N 70°8′44″W / 47.62056°N 70.14556°W / 47.62056; -70.14556