2 พงศาวดาร 8 (อังกฤษ: 2 Chronicles 8) เป็นบทที่ 8 ของหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่ 2 ของหนังสือพงศาวดารในคัมภีร์ฮีบรู[1][2] หนังสือพงศาวดารรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบตัวตน ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เรียกว่าเป็น "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร" (the Chronicler) และมีรูปร่างสุดท้ายที่ทำขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 หรือ 4 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 8 ของ 2 พงศาวดารเป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่รัชสมัยของซาโลมอน (2 พงศาวดาร 1 ถึง 9)[1] จุดเน้นของบทนี้คือโครงการก่อสร้างอื่น ๆ และความพยายามด้านการค้าของซาโลมอน[4]

2 พงศาวดาร 8
หน้าของหนังสือพงศาวดาร (1 และ 2 พงศาวดาร) ในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศาวดาร
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์14

ต้นฉบับ

แก้

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 18 วรรค

พยานต้นฉบับ

แก้

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[5]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B;  B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A;  A; ศตวรรษที่ 5)[6][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม

แก้
  • 2 พงศาวดาร 8:1–18: 1 พงศ์กษัตริย์ 9:10-28[10]

โครงการก่อสร้างอื่น ๆ ของซาโลมอน (8:1–11)

แก้

การนมัสการที่พระวิหาร (8:12–16)

แก้

ส่วนนี้ให้รายละเอียดเรื่องที่โซโลมอนรักษาธรรมบัญญัติของโมเสสในการถวายเครื่องบูชาและกฎเกณฑ์ของดาวิดในการมอบหมายหน้าที่ให้ปุโรหิตและคนเลวี (1 พงศาวดาร 22:7–16; 28:6–10, 20-21)[11] ปราฏชื่อของเทศกาลประจำปี 3 เทศกาลอยู่ ณ ที่นี้ พร้อมด้วยการถวายเครื่องบูชาประจำวันรวมถึงวันสะบาโตและวันขึ้นหนึ่งค่ำ[4]

กองเรือของซาโลมอน (8:17–18)

แก้

ส่วนนี้คล้ายกับ 1 พงศ์กษัตริย์ 9:26-28 โดย "ทะเล" นั้นหมายถึงทะเลแดง[11]

ดูเพิ่ม

แก้
  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: อพยพ 34, เลวีนิติ 23, 1 พงศ์กษัตริย์ 7, 1 พงศ์กษัตริย์ 8, 1 พงศ์กษัตริย์ 9, 1 พงศาวดาร 22, 1 พงศาวดาร 28
  • หมายเหตุ

    แก้
    1. หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[7][8][9]

    อ้างอิง

    แก้
    1. 1.0 1.1 Ackroyd 1993, p. 113.
    2. Mathys 2007, p. 268.
    3. Ackroyd 1993, pp. 113–114.
    4. 4.0 4.1 Mathys 2007, p. 287.
    5. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    6. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    7. Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
    8. Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
    9. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    10. 2 Chronicles 8 Berean Study Bible. Biblehub
    11. 11.0 11.1 Coogan 2007, p. 630 Hebrew Bible.

    บรรณานุกรม

    แก้

    แหล่งข้อมูลอื่น

    แก้