ชุดตัวอักษรสากลสำหรับการถอดอักษรภาษาสันสกฤต

(เปลี่ยนทางจาก ไอเอเอสที)

ชุดตัวอักษรสากลสำหรับการถอดอักษรภาษาสันสกฤต (อังกฤษ: International Alphabet of Sanskrit Transliteration) หรือ ไอเอเอสที (IAST) เป็นระบบการถอดอักษรจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่นของอินเดียเป็นอักษรโรมัน ระบบนี้ได้มาจากระบบการถอดอักษรที่เสนอโดยเซอร์ชาลส์ เทรเวลเยน, วิลเลียม โจนส์, มอเนียร์ มอเนียร์-วิลเลียมส์ และนักวิชาการคนอื่น ๆ และได้รับการตรวจสอบและนำมาใช้โดยคณะกรรมการถอดอักษรแห่งการประชุมใหญ่นักบุรพคดีนานาชาติ ณ เจนีวา ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1894[1]

ชุดตัวอักษรสากลสำหรับการถอดอักษรภาษาสันสกฤต
ไอเอเอสที
ชนิด
อักษรสระ-พยัญชนะ
ระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับ
ช่วงยุค
คริสต์ศตวรรษที่ 17–ปัจจุบัน
ภาษาพูดภาษาสันสกฤตและภาษาอื่น ๆ ของอินเดีย
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

การใช้งาน

แก้

โดยทั่วไป นักวิชาการในระดับอุดมศึกษาใช้ไอเอเอสทีในงานตีพิมพ์ที่มีการอ้างถึงข้อความในภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี และภาษาคลาสสิกอื่น ๆ ของอินเดีย

ใน ค.ศ. 2001 ได้มีการเริ่มใช้ระบบมาตรฐานการถอดอักษรสากลสำหรับการถอดอักษรอินเดีย ไอเอสโอ 15919 ซึ่งส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับระบบไอเอเอสทียกเว้นความแตกต่างเล็กน้อยบางจุด (เช่น ṃ/ṁ และ ṛ/r̥)

การถอดอักษร

แก้

อักษรของระบบไอเอเอสทีใช้การเปรียบเทียบกับอักษรเทวนาครี ซึ่งสามารถใช้ในการถอดอักษรภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี และภาษาอื่นที่ใช้อักษรเทวนาครี อย่างไรก็ตาม อาจมีความแตกต่างทางสัทวิทยาเกิดขึ้น

สระและพยัญชนะท้ายพยางค์
อักษรเทวนาครี อักษรโรมัน หมวดหมู่
a A สระเดี่ยว
และพยัญชนะเหลวแกนพยางค์
ā Ā
i I
ī Ī
u U
ū Ū
e E สระประสมสองเสียง
ai Ai
o O
au Au
อนุสวาร
วิสรรคะ
˜ จันทรพินทุ
' อวครหะ
พยัญชนะ
เพดานอ่อน เพดานแข็ง ลิ้นม้วน ฟัน ริมฝีปาก หมวดหมู่

k  K

c  C

ṭ  Ṭ

t  T

p  P
เสียงหยุด ไม่ก้อง ไม่พ่นลม

kh  Kh

ch  Ch

ṭh  Ṭh

th  Th

ph  Ph
เสียงหยุด พ่นลม

g  G

j  J

ḍ  Ḍ

d  D

b  B
เสียงหยุด ก้อง

gh  Gh

jh  Jh

ḍh  Ḍh

dh  Dh

bh  Bh
เสียงหยุด ก้อง พ่นลม

ṅ  Ṅ

ñ  Ñ

ṇ  Ṇ

n  N

m  M
เสียงนาสิก

h  H

y  Y

r  R

l  L

v  V
เสียงเปิด
 
ś  Ś

ṣ  Ṣ

s  S
  เสียงเสียดแทรกอุสุม

การเปรียบเทียบกับไอเอสโอ 15919

แก้

ส่วนใหญ่แล้ว ไอเอเอสทีเป็นส่วนหนึ่งของไอเอสโอ 15919 ยกเว้นแต่ความแตกต่างเล็กน้อยบางประการ

อักษรเทวนาครี ไอเอเอสที ไอเอสโอ 15919 หมายเหตุ
ए / े e ē (e) e ในระบบไอเอสโอโดยทั่วไปใช้แทน ए / ॆ ซึ่งมีเสียงสั้น แต่อาจใช้แทน ए / े ซึ่งมีเสียงยาวในอักษรเทวนาครี เบงกอล คุรมุขี คุชราต และโอริยา
ओ / ो o ō (o) o ในระบบไอเอสโอโดยทั่วไปใช้แทน ऒ / ॆ ซึ่งมีเสียงสั้น แต่อาจใช้แทน ओ /ो ซึ่งมีเสียงยาวในอักษรเทวนาครี เบงกอล คุรมุขี คุชราต และโอริยา
अं / ं ในระบบไอเอสโอใช้แทน ในอักษรคุรมุขี
ऋ / ृ ในระบบไอเอสโอใช้แทน ड़ /ɽ/
ॠ / ॄ r̥̄ เพื่อให้สอดคล้องกับ
ऌ / ॢ ในระบบไอเอสโอใช้แทน ळ /ɭ̆/
ॡ / ॣ l̥̄ เพื่อให้สอดคล้องกับ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Monier-Williams, Monier (1899). A Sanskrit-English Dictionary (PDF). Oxford: Clarendon Press. pp. xxx.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้