ไลกา (สุนัข)

(เปลี่ยนทางจาก ไลก้า (สุนัข))

ไลก้า (อังกฤษ: Laika; รัสเซีย: Лайка, มีความหมายตามตัวอักษรว่า "ช่างเห่า" (barker); ประมาณ ค.ศ. 1954 - 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957) เป็นสุนัขอวกาศโซเวียต ที่กลายเป็นสัตว์ตัวแรกที่โคจรรอบโลก เช่นเดียวกับเป็นตัวแรกที่ตายในวงโคจรด้วยเช่นกัน

ไลกา
ฉายาอื่น ๆคุดร์ยัฟกา
สปีชีส์Canis lupus familiaris
สายพันธุ์พันทาง
เพศเมีย
เกิดประมาณ ค.ศ. 1954
มอสโก สหภาพโซเวียต
ตาย3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957
สปุตนิก 2 ในวงโคจรต่ำของโลก
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1957
เป็นที่รู้จักสำหรับสัตว์ตัวแรกที่โคจรรอบโลก
เจ้าของโครงการอวกาศโซเวียต

เนื่องจากเป็นที่ทราบกันน้อยมากถึงผลกระทบของการบินอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในขณะภารกิจของไลก้า เทคโนโลยีในการผละออกจากวงโคจรยังไม่ถูกพัฒนา จึงคาดการณ์กันว่าไลก้าไม่น่าจะรอดชีวิต นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามนุษย์จะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้จากการปล่อยหรือสภาพของอวกาศ ดังนั้น วิศวกรจึงมองว่าเที่ยวบินที่ส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศด้วยนั้นจำเป็นก่อนภารกิจของมนุษย์[1] ไลก้าที่เป็นสุนัขเร่ร่อน เดิมชื่อ คุดร์ยัฟกา (รัสเซีย: Кудрявка, "เจ้าขนหยิกน้อย") เข้าสู่การฝึกกับสุนัขอื่นอีกสองตัว และได้รับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับยานอวกาศโซเวียต สปุตนิก 2 ในท้ายที่สุด ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957

คาดว่าไลก้าน่าจะตายภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังปล่อยยานจากความร้อนเกิน[2] ซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดจากความล้มเหลวของระบบยังชีพกลางอาร์-7 (R-7 sustainer) ในการแยกจากน้ำหนักบรรทุก[3] สาเหตุและเวลาการตายที่แท้จริงของมันนั้นไม่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะกระทั่ง ค.ศ. 2002 แต่ก่อนหน้านั้นได้รายงานอย่างกว้างขวางว่ามันตายเพราะขาดออกซิเจนในวันที่หก[4] หรือตามที่รัฐบาลโซเวียตอ้างแต่แรก มันตายสบาย (euthanised) ก่อนออกซิเจนพร่องไปอีก อย่างไรก็ดี การทดลองพิสูจน์ว่าไลก้าสามารถรอดชีวิตจากการปล่อยยานขึ้นสู่วงโคจรและทนต่อสภาวะไร้น้ำหนัก ซึ่งเป็นการกรุยทางแก่การบินอวกาศมนุษย์และให้ข้อมูลแรก ๆ บางส่วนแก่นักวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในการบินอวกาศอย่างไร

อ้างอิง แก้

  1. "Russia opens monument to Laika, first dog in space เก็บถาวร 2011-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Associated Press, April 11, 2008. Retrieved on August 24, 2010.
  2. Malashenkov, D. C. (2002). "Abstract:Some Unknown Pages of the Living Organisms' First Orbital Flight". IAF abstracts. ADS: 288. Bibcode:2002iaf..confE.288M.
  3. Asif Siddiqi, Sputnik and the Soviet Space Challenge, 2000, p. 174
  4. Beischer, DE; Fregly, AR (1962). "Animals and man in space. A chronology and annotated bibliography through the year 1960". US Naval School of Aviation Medicine. ONR TR ACR-64 (AD0272581). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-11. สืบค้นเมื่อ 2011-06-14.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้