ไพไรต์ (อังกฤษ: pyrite) คือผลึกแร่โลหะชนิดที่มีสีเหลืองอร่าม คำว่าไพไรต์มาจากภาษากรีก ที่มีความหมายว่าไฟ (pyr-)[5] เหตุที่เรียกว่าไฟก็เนื่องมาจากไพไรต์เมื่อนำไปกระทบกับเหล็กแรง ๆ จะทำให้เกิดประกายไฟออกมา ประโยชน์ของไพไรต์ส่วนใหญ่จะนิยมนำไปทำเป็นเครื่องประดับ หรือนำไปเป็นส่วนผสมในการทำกรดกำมะถัน เนื่องจากไพไรต์มีสีเหลืองอร่ามจนดูคล้ายกับทองคำ จึงมักจะทำให้ผู้ที่พบเห็นเข้าใจผิดอยู่เสมอว่ามันคือทองคำ จนได้ฉายาว่า "ทองคนโง่" (Fool's Gold)[6]

ไพไรต์
ผลึกลูกบาศก์ของไพไรต์
การจำแนก
ประเภทแร่ซัลไฟด์
สูตรเคมีFeS2
คุณสมบัติ
มวลโมเลกุล119.98 g/mol
สีสีเหลืองอ่อนสะท้อนแสง; เมื่อหมองมีสีเข้มขึ้นและมีสีเหลือบ
รูปแบบผลึกลูกบาศก์, ผิวหน้าอาจมีรอยริ้วขนาน มักพบเป็นแปดด้านและ pyritohedral, ทรงกลมละเอียด เป็นประกาย
โครงสร้างผลึกไอโซเมตริก
การเกิดผลึกแฝดPenetration and contact twinning
แนวแตกเรียบIndistinct on {001}; partings on {011} and {111}
รอยแตกไม่สม่ำเสมอ บางครั้งแตกแบบฝาหอย
ความยืดหยุ่นเปราะ
ค่าความแข็ง6–6.5
ความวาววาวแบบโลหะ
สีผงละเอียดสีดำเขียว ถึงสีดำน้ำตาล
ความถ่วงจำเพาะ4.95–5.10
ความหนาแน่น4.8–5 g/cm3
การหลอมตัว2.5–3 to a magnetic globule
สภาพละลายได้ไม่ละลายน้ำ
ความโปร่งทึบแสง
คุณสมบัติอื่นพาราแมกเนติก
อ้างอิง: [1][2][3][4]

ประวัติ แก้

สาเหตุที่ไพไรต์มีอีกชื่อคือทองคนโง่ มาจากเซอร์ มาร์ติน โฟรบิเชอร์ นักสำรวจชาวอังกฤษพบหินสีดำที่เป็นประกายบนเกาะ Kodlunarn ในประเทศแคนาดาในปัจจุบันและเชื่อว่าเป็นทองคำ ในค.ศ. 1577 โฟรบิเชอร์ที่ได้รับเงินสนับสนุนกลับมาที่แคนาดาและตั้งเหมืองเพื่อขุดแร่นี้ ปีต่อมาสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษพระราชทานเงินแก่โฟรบิเชอร์เพื่อสนับสนุนการเดินทางไปที่แคนาดาอีกครั้ง โดยในการเดินทางครั้งนี้โฟรบิเชอร์บรรทุกหินมากว่า 1400 ตัน แต่เมื่อนำหินไปสกัดแร่ กลับพบว่าหินเหล่านี้เป็นหินกลุ่มแอมฟิบอไลต์และไพรอกซีไนต์ที่ไม่มีค่า ที่สุดแล้วหินเหล่านี้ถูกนำไปทำเป็นถนน[7]

คุณสมบัติทางฟิสิกส์ แก้

ไพไรต์เป็นแร่ในกลุ่มซัลไฟด์ มีสูตรเคมีคือ FeS2 มีโครงสร้างผลึกแบบลูกบาศก์ มีความหนาแน่น 4.8–5 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร ความถ่วงจำเพาะ 4.95–5.10 และค่าความแข็งตามมาตราโมส 6–6.5

ความเชื่อ แก้

มีความเชื่อในประเทศไทยว่าไพไรต์เป็นวัตถุมงคลที่มีอำนาจในการป้องกันสิ่งชั่วร้าย เรียกว่า ข้าวตอกพระร่วง[8]

อ้างอิง แก้

  1. Hurlbut, Cornelius S.; Klein, Cornelis (1985). Manual of Mineralogy (20th ed.). New York, NY: John Wiley and Sons. pp. 285–286. ISBN 978-0-471-80580-9.
  2. "Pyrite". Webmineral.com. สืบค้นเมื่อ 2011-05-25.
  3. "Pyrite". Mindat.org. สืบค้นเมื่อ 2011-05-25.
  4. Anthony, John W.; Bideaux, Richard A.; Bladh, Kenneth W.; Nichols, Monte C., บ.ก. (1990). "Pyrite" (PDF). Handbook of Mineralogy. Vol. I (Elements, Sulfides, Sulfosalts). Chantilly, VA, US: Mineralogical Society of America. ISBN 978-0962209734.
  5. "pyrite - Definition & Meaning". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ September 8, 2021.
  6. Pappas, Stephanie (June 29, 2021). "Fool's gold not completely worthless. There's real gold inside". Live Science. สืบค้นเมื่อ September 8, 2021.
  7. Hunter, Dana (April 1, 2015). "Famous Fools for Fool's Gold". Scientific American Blog Network. สืบค้นเมื่อ September 8, 2021.
  8. "ของดีหายาก "ข้าวตอกพระร่วง-ข้าวก้นบาตรพระร่วง" หินศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงสุโขทัย" [A rare good item "Khao tok Phra Ruang - Khao khon bat Phra Ruang", a sacred stone of Sukhothai kingdom]. Komchadluek. 2021-02-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-26.

อ่านเพิ่ม แก้

  • American Geological Institute, 2003, Dictionary of Mining, Mineral, and Related Terms, 2nd ed., Springer, New York, ISBN 978-3-540-01271-9.
  • David Rickard, Pyrite: A Natural History of Fool's Gold, Oxford, New York, 2015, ISBN 978-0-19-020367-2.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้