แนวแตกเรียบ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แนวแตกเรียบ (อังกฤษ: cleavage) เป็นลักษณะรอยแตกของแร่ซึ่งจะเป็นไปในแนวระนาบเรียบ เนื่องจากโครงสร้างของอะตอมภายในผลึก รอยแตกขนานไปตามผิวหน้าของผลึกแร่เสมอ แร่ที่ไม่เป็นผลึก ก็จะไม่มีแนวแตกแบบนี้ แนวแตกเรียบอาจจะมีแนวเดียว หรือ 2 แนว 3 แนว ก็ได้ ทำให้แร่แตกแยกในลักษณะต่าง ๆ กันและเรียกชื่อแนวแตกตามลักษณะของแร่ที่แตกออกตามแนวนั่นเอง
- แนวแตกเรียบแนวเดียว แร่จะแตกออกในลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ แบบลอกได้ทั้งแผ่นใหญ่หรือแผ่นเล็กมาก ๆ ได้แก่ แร่ไมกา พวกมัสโคไวท์ ไบโอไทต์
- แนวแตกเรียบ 2 แนว
- แนวของรอยแตกตั้งฉากกัน เช่น ออร์โทเคลส
- แนวของรอยแตกไม่ตั้งฉากกัน เช่น แอมฟิโบล
- แนวแตกเรียบ 3 แนว
- แนวของรอยแตกตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทำให้แร่แตกออกเป็นรูปลูกบาศก์ เช่น กาลีนา
- แนวของรอยแตกไม่ตั้งฉากกัน เช่น แร่จะแตกออกในรูปที่คล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เช่น แคลไซล์
- แนวแตกเรียบ 4 แนว สังเกตได้จากรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 8 หน้า ประกบกันเป็นรูปทรงแปดหน้า เช่น ฟลูออไรต์
- แนวแตกเรียบ 6 แนว เช่น สฟาเลอไรต์ (แร่สังกะสี)
แนวแตกแบบนี้อาจเห็นได้เมื่อแร่แตกแยกหลุดออกเอง หรือจะเห็นได้เมื่อเราบิหรือทุบแร่ บางชนิดก็เห็นชัดเจนมาก บางชนิดก็ไม่ชัดเจนต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ การอธิบายเกี่ยวกับแร่ที่มีแนวแตกแบบนี้เรามักใช้ว่า แนวแตกสมบูรณ์ชัดดี พอใช้ได้ หรือไม่ชัดเจน เป็นต้น
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แนวแตกเรียบ กรมทรัพยากรธรณี เก็บถาวร 2012-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน