ความวาว
ความวาว เป็นคำเรียกของปฏิกิริยาการสะท้อนแสงทุกรูปแบบของวัตถุที่มีการสะท้อนแสงได้ทั้งแบบบานพื้นผิวและภายในของวัตถุ โดยเป็นปฏิกิริยาระหว่างแสงกับผิวของผลึก ทั้งบนพื้นผิวและภายในผลึก ทั้งการหักเหจากผลึกและการสะท้อนภายในผลึกและภายนอกผลึก มีรากศัทพ์มาจากคำว่า lux ในภาษาลาติน ซึ่งมีความหมายว่า ความสว่าง และโดยทั่วไปมีความหมายว่าความสว่างไสว ความวาว
ประเภทความวาว
แก้วาวแบบเพชร
แก้วาวแบบเพชร (Adamantine lustre) จะพบได้มากใน กลุ่มของอัญมณีเช่น เพชร เนืองจากความหนาแน่นของผลึกมีสูงจึงสามารถสะท้อนออกจากผลึกได้มาก มีความโปร่งใสหรือโปร่งแสง มีดัชนีหักเหสูง ประมาณ 1.9 หรือมากกว่าจำนวนนี้ ตัวอย่างแร่ที่มีความวาว
- เพชร
- แร่เซอรูสไซต์ (Cerussite)
- เพทายหรือแร่เซอร์คอน (Zircon) เป็นแร่ที่พบได้น้อย
วาวแบบด้าน
แก้วาวแบบด้าน (Dull lustre) แร่ที่มีความวาวแบบด้าน คือแร่นั้นจะไม่มีความวาวเลย เกิดจากการที่แสงหักเหออกไปในทุกทิศทุกทาง มีลักษณะเหมือนเป็นตัวสะท้อน ตัวอย่างเช่น แร่เคโอลิไนต์ (Kaolinite) โดยแร่จะมีความหยาบและมีความด้าน[1]
วาวแบบน้ำมัน
แก้วาวแบบน้ำมัน (Greasy lustre) ความวาวแบบน้ำมันจะมีลักษณะคล้ายกับไขหรือจาระบี ความวาวแบบน้ำมันส่วนใหญ่ที่พบมากจะมีขนาดเล็กๆ และอยู่รวมกัน ตัวอย่างเช่น แร่โอปอล (Opal) และแร่คอร์เดียไรต์ (Cordierite) โดยแร่แบบนี้จะมีความวาวแบบน้ำมันเมื่อมีการขยับ
วาวแบบโลหะ
แก้วาวแบบโลหะ (Metallic lustre) แร่ที่มีความวาวแบบโลหะ หรือความวาวแบบเงาวาว จะมีความวาวเหมือนโลหะ (และที่เป็นอุดมคติ ผิวจะลักษณะคล้ายกับกระจกสะท้อน) ตัวอย่างเช่น แร่กาลีนา (Galena) หรือแร่ไพไรต์ (Pyrite) และแร่แมกนีไทต์ (Magnetite)
วาวแบบไข่มุก
แก้วาวแบบไข่มุก (Pearly lustre) แร่ที่มีความวาวแบบไข่มุก จะเห็นเป็นชั้นบางๆ มีลักษณะโปร่งใสเล็กน้อย แสงจะสะท้อนจากชั้นที่มีลักษณะของไข่มุก ทำให้แร่สามารถเกิดเป็นรอยแตกอย่างมีระบบได้ (Cleavage) ตัวอย่างเช่น แร่กลีบหินขาวหรือแร่มัสโคไวต์ (Muscovite) และแร่สติลไบต์ (Stilbite)
วาวแบบยางสน
แก้วาวแบบยางสน (Resinous lustre) แร่ที่มีความวาวแบบยางสนจะมีลักษณะคล้ายกับยางไม้ หมากฝรั่ง หรือ (ด้านเรียบ) ของพลาสติก ตัวอย่างเช่น แร่อำพันหรือแร่แอมเบอร์ (Amber)
วาวแบบไยไหม
แก้วาวแบบไยไหม (Silky lustre) แร่ที่มีความวาวแบบไยไหมมีการเรียงตัวของเส้นใยขนาดเล็ก จะให้ความรู้สึกเหมือนเส้นไหม ตัวอย่างเช่น แร่ใยหินหรือแร่แอสเบสตอส (Asbestos) แร่ยูลีไซต์ (Ulexite) และซาติน สปาร์ (Satin Spar) ซึ่งเป็นแร่ยิปซั่ม (Gypsum)
วาวแบบกึ่งโลหะ
แก้วาวแบบกึ่งโลหะ (Submetallic lustre) แร่ที่มีความวาวแบบกึ่งโลหะจะมีลักษณะความวาวแบบโลหะ แต่จะมีความวาวน้อยกว่า ส่วนใหญ่จะพบในแร่ที่เกือบทึบแสงและมีดัชนีหักเหสูง เช่น แร่สฟาเลอไรต์ (Sphalerite) แร่ซินนาบาร์ (Cinnabar) และแร่คิวไพรต์ (Cuprite)
วาวแบบแก้ว
แก้วาวแบบแก้ว (Vitreous lustre) แร่ที่มีความวาวแบบแก้วจะมีลักษณะคล้ายแก้ว เป็นความวาวชนิดหนึ่งที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เกิดจากการหักเหหรือการสะท้อนของแร่ที่มีดัชนีหักเหต่ำ ตัวเอย่างเช่น แร่แคลไซต์ (Calcite) แร่ควอตซ์ (Quartz) แร่โทพาซ (Topaz) แร่เบริล (Beryl) แร่ทัวร์มาลีน (Tourmaline) แร่ฟลูออไรต์ (Fluorite) และแร่อื่นๆมากมาย
วาวแบบขี้ผึ้ง
แก้วาวแบบขี้ผึ้ง (Waxy lustre) เป็นความวาวที่มีลักษณะคล้ายกับขี้ผึ้ง ตัวอย่างเช่น แร่หยกหรือแร่เจด (Jade) และแร่แคลเซโดนี (Chalcedony) [2]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=1045&filename=min1 เก็บถาวร 2012-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ความวาว กรมทรัพยากรธรณี
- ↑ http://www.prc.ac.th/earthscience/html/mintest.html[ลิงก์เสีย]