ไทจิ ซาวาดะ ( 沢田 泰司 Sawada Taiji , 12 กรกฎาคม 1966 – 17 กรกฎาคม 2011 ) หรือ ไทจิ เป็นนักดนตรีชาวญี่ปุ่น มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในฐานะอดีตสมาชิกในตำแหน่งมือเบสของวง เอ็กซ์ หรือ เอ็กซ์เจแปน โดยไทจิถือเป็นสมาชิกในยุคคลาสสิกของวงเอ็กซ์ และมีผลงานที่สร้างชื่อร่วมกับทางวง 3 อัลบั้ม ได้แก่ แวนิชชิง วิชัน, บลู บลัด และ เจลลัสซี

ไทจิ
ไทจิ ซาวาดะ สมัยที่ยังเป็นสมาชิกวง X ปี 1990
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดTaiji Sawada
รู้จักในชื่อRay
เกิด12 กรกฎาคม ค.ศ. 1966(1966-07-12)
ที่เกิดเมืองอิจิกาวะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เสียชีวิต17 กรกฎาคม ค.ศ. 2011(2011-07-17) (45 ปี)
เกาะไซปัน เครือรัฐหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
แนวเพลงเฮฟวีเมทัล, ฮาร์ดร็อก
อาชีพนักดนตรี, นักแต่งเพลง
เครื่องดนตรีเบส, กีตาร์
ช่วงปี1982–2011
อดีตสมาชิกเอกซ์ เจแปน

นอกจากเป็นที่จดจำในฐานะมือเบสแถวหน้าในวงการเพลงของญี่ปุ่นแล้ว ไทจิยังมีความสามารถทางด้านการแต่งเพลง รวมถึงการเล่นกีตาร์อคูสติก โดยหลังจากที่ลาออกจากวงเอ็กซ์ ในเดือน มกราคม ปี ค.ศ.1992 ไทจิ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของวงดนตรีเฮฟวีเมทัล ชื่อดังอย่างวง ลาวด์เนส รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรี เดอร์ตี แทรช โรด หรือ ดีทีอาร์ ซึ่งมีผลงานออกมาในยุค 90 นอกจากนี้ยังได้ร่วมเล่นเบสให้กับวงดนตรีอีกหลายวงของประเทศญี่ปุ่น หรือแม้ทำวงกับน้องสาวของเขา มาซาโยะ ซาวาดะ ในชื่อ โอะโทะคะเสะ

ประวัติ

แก้

ไทจิ ซาวาดะ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1966 ที่เมืองอิจิกาวะ จังหวัดชิบะ เป็นลูกคนที่สองจากจำนวน 3 คน โดยน้องสาวของไทจิ คือ มาซาโยะ ซาวาดะ เป็นนักร้องสังกัดนิปปอน โคลัมเบีย ที่มีผลงานร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์และอนิเมะหลายเรื่อง

ไทจิเริ่มต้นเล่นดนตรีจากการหัดเล่นกีตาร์ของพ่อในขณะอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเขาชื่นชอบและได้รับแรงบันดาลใจทางดนตรีมาจากวงดนตรีของฝั่งตะวันตกอย่างเดอะ บีเทิลส์ และวงควีน[1]ต่อมาในปี 1982 ไทจิ ที่ขณะนั้นอายุเพียง 16 ปี ได้ลาออกจากโรงเรียน เพื่อเล่นดนตรีอาชีพโดยเขาได้ก่อตั้งวงดนตรีของตัวเองขึ้นมาเป็นครั้งแรกในชื่อวง แทรช ( Trash ) [2] โดยไทจิเป็นหัวหน้าวงและรับหน้าที่เป็นมือกีตาร์ และจากฝีมือที่เก่งเกินอายุทำให้วงดนตรีของเขาเริ่มมีชื่อเสียงจากการแสดงสดตามไลฟ์เฮาส์

1984–85: ดีเมนเชีย

แก้

ในปี ค.ศ. 1984 ไทจิ ซาวาดะ ได้เปลี่ยนมาเล่นกีตาร์เบส และเข้าร่วมวง ดีเมนเชีย ( Dementia ) ซึ่งเล่นเพลงแนวสปีดเมทัล [2] โดยเขาใช้ชื่อในการแสดงว่า เรย์ ( Ray )

ไทจิ ซาวาดะ มีผลงานเพลงร่วมกับวง ดีเมนเชีย เป็นแผ่นเสียงซิงเกิล ประกอบด้วยเพลง Brain Breaker และ Executioner ออกวางจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1984 และแผ่นเสียงบันทึกการแสดงสด Dementia Live ! กับค่าย Rock House Explosion ออกวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1985 ผลิตจำนวนจำกัด 1 พันแผ่น ก่อนที่จะขอแยกออกจากวงไปในเวลาต่อมา

เอ็กซ์

แก้

1986–1987

แก้

ในปี ค.ศ. 1985 หลังออกจากวงดีเมนเชีย ไทจิ ได้มีโอกาสเล่นคอนเสิร์ตร่วมกับวงเอ็กซ์ แทนที่อัตสึชิ โทกูโอะ มือเบสคนแรกที่ขอลาออกไป แต่เขาก็ยังไม่สนใจที่จะเข้าร่วมวงอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะขอแยกออกจากวงไปในปีต่อมา[3] หลังจากนั้นไทจิ ได้ไปเข้าร่วมกับวง เดดไวเออร์ ( Dead Wire ) ในช่วงสั้นๆ โดยช่วงที่ไทจิ ออกจากวงเอ็กซ์ ไปนั้น ทางวงได้ให้ ฮิการุ ยูตากะ เข้ามาเล่นเบสแทน หลังจากนั้น ไทจิ ก็ได้กลับมาเล่นให้กับวง เอ็กซ์ อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1986 โดยครั้งนี้เขาตกลงเป็นสมาชิกใหม่ในตำแหน่งมือเบสของวงอย่างเป็นทางการ แทนที่ ฮิการุ ยูตากะ และได้บันทึกเสียงกับเอ็กซ์ เป็นครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1986 โดยเป็นการบันทึกเดโม Kureinai ร่วมกับทางวง

ต่อมาช่วงต้นปี ค.ศ. 1987 ไทจิ ได้ร่วมกับสมาชิกของวงเอ็กซ์ ที่ในขณะนั้นเหลืออยู่เพียง 3 คน (โยชิกิ โทชิ และไทจิ) บันทึกเสียงลงอัลบั้มรวมศิลปิน Skull Thrash Zone Vol.1 โดยได้พาตะ มือกีตาร์ของวง Judy มาช่วยเล่นกีตาร์ให้ ก่อนที่ในเวลาต่อมา พาตะ จะได้เข้ามาเป็นสมาชิกอีกคนหนึ่งของวง ในอัลบั้มดังกล่าวมีเพลงของวง เอ็กซ์ 2 เพลง คือ Stab Me In The Back และ No Connexion ถือเป็นอัลบั้มที่ ไทจิ เปิดตัวกับวงเอ็กซ์ เป็นครั้งแรก

ต่อมาเมื่อเอ็กซ์ได้สมาชิกที่ลงตัวครบทั้ง 5 คน ได้แก่ โยชิกิ โทชิ ไทจิ พาตะ และฮิเดะ พวกเขาได้ออกวิดีโอบันทึกการแสดงสด Exclamation ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1987 โดยเป็นวิดีโอบันทึกการแสดงสดของวงจำนวน 3 เพลง ได้แก่เพลง Exclamation ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงที่เขาและฮิเดะแต่งขึ้น โดยเพลงดังกล่าวมีจุดเด่นที่การโซโล่เบสและโซโล่กีตาร์ของตัวเขาและฮิเดะ ส่วนการแสดงสดอีก 2 เพลงในวิดีโอชุดดังกล่าวคือ Stab Me In The Back และ Kureinai

แวนิชชิง วิชัน

แก้

จากการเริ่มเป็นที่สนใจในวงการเพลง ทำให้ในปี ค.ศ.1988 ไทจิพร้อมด้วยสมาชิกของเอ็กซ์ได้ปรากฏตัวในบทบาทรับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง Tokyo Pop ที่นำแสดงโดย แคร์รี ฮามิลตัน นักแสดงและนักร้องสาวชาวอเมริกัน

ต่อมาเขาได้ออกสตูดิโออัลบั้มชุดแรกร่วมกับเอ็กซ์ ในปี ค.ศ. 1988 ชื่อว่า แวนิชชิง วิชัน (Vanishing Vision) โดยอัลบั้มแรกของไทจิ ซาวาดะ ในฐานะมือเบสของเอ็กซ์ นอกจากเขาจะทำหน้าที่เล่นเบสแล้ว ยังเป็นผู้แต่งเพลง Dear Loser ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงเปิดอัลบั้ม และเป็นผู้แต่งทำนองของเพลง Phantom Of Guilt ซึ่งเป็นเพลงที่เขียนคำร้องขึ้นโดยโทชิ รวมถึงแต่งเพลง Give Me The Pleasure ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเพลงบรรเลงที่เขาแต่งขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจจากการดูข่าวเกี่ยวกับการฆาตกรรม

ในอัลบั้มแรกของวงเอ็กซ์ เขาได้แสดงให้เห็นถึงฝีมือในการเล่นเบสจังหวะยากๆ และการใช้เทคนิคต่างๆในการเล่นเบส เช่นการเล่นเบสด้วยนิ้วสลับกับการตบสายระหว่างเพลงให้เป็นจังหวะเสียงเบสที่โดดเด่นติดหูผู้ฟังในเพลง Sadistic Desire ที่แต่งโดยฮิเดะ หรือการเล่นแบบตบสายตลอดทั้งเพลงในเพลง Give Me The Pleasure ที่เขาเองเป็นผู้แต่งขึ้น

บลูบลัด

แก้

โดยช่วงที่อยู่กับเอ็กซ์ ไทจิ ซาวาดะ ได้แสดงความสามารถและเทคนิคในการเล่นเบสออกมาจนเป็นที่ยอมรับในวงการเพลงของญี่ปุ่น และมีชื่อเสียงโด่งดังถึงขีดสุด

Voiceless Screaming ที่ไทจิ เป็นผู้แต่งดนตรี และยังรับหน้าที่เล่นกีตาร์อคูสติกในเพลงนี้ ร่วมกับพาตะ

ไทจิเป็นมือเบสของวง X ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 - 2535 เขาได้ลาออกจากวง X เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2535 หลังจากออกไปก็ไปอยู่กับวง Loudness ระยะสั้นๆ แล้วเขาก็ตั้งวงใหม่ขึ้นชื่อ D.T.R (Dirty Trash Road) นิตยสารของญี่ปุ่นเคยจัดอันดับว่า ไทจิ เป็นมือเบสอันดับ 1 ของญี่ปุ่น[ต้องการอ้างอิง] แต่นอกจากฝีมือเบสแล้ว เขายังเล่นกีตาร์ไม่แพ้ใครเช่นกัน แม้แต่ฮิเดะ มือกีตาร์ของวง X เองยังเคยกล่าวว่า เทคนิคทางกีตาร์ของไทจิยอดเยี่ยมกว่าของเขาอีก[ต้องการอ้างอิง]

1992–93: ลาวด์เนส

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

ไทจิ เป็นน้องคนที่ 2 ของครอบครัว โดยมีน้องสาวสุดท้องที่เป็นศิลปินเหมือนกันคือ Sister MAYO หรือมาซาโยะ ซาวาดะ

ไทจิ ซาวาดะ เป็นนักดนตรีในวงเอ็กซ์ เจแปน ที่ได้รับการยอมรับทั้งจากเพื่อนร่วมวง และจากวงการเพลงร็อกของเอเชียในเรื่องของฝีมือและทักษะในการเล่นดนตรีเป็นอย่างมาก ถึงขนาดครั้งหนึ่งเขาเคยถูกยกให้เป็นมือเบสอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น โดยเขามักจะแสดงความสามารถในการโซโล่เบสบนเวทีคอนเสิร์ต ด้วยการเล่นแบบจิ้มสาย (Tapping) ด้วยความเร็วสูง ตลอดจนการตบสาย (Slap Bass) โดยนอกจากนี้เขายังเป็นผู้แต่งทำนองเพลงและคิด ไลน์เบส ในหลายๆเพลงของเอ็กซ์ เจแปน

ไทจิ มีภาพลักษณ์ของความเป็นร็อกสตาร์อยู่มาก ทั้งจากการแต่งกาย ทรงผม บุคคลิก และการใช้ชีวิต โดยเขามีความชื่นชอบในการขับรถจักรยานยนต์ และเคยเป็นนายแบบให้กับนิตยสารแฟชั่น รวมถึงแบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับของญี่ปุ่นอย่าง Arizona Freedom

อย่างไรก็ตามจากการใช้ชีวิตของไทจิเอง ทำให้เขามีปัญหาส่วนตัวหลายเรื่อง ทั้งการทะเลาะวิวาท การหย่าร้าง และประสบปัญหาทางการเงิน ตลอดจนมีปัญหาทางด้านสุขภาพ หรือแม้กระทั่งเคยเป็นคนไร้บ้านมาแล้ว โดยไทจิ เป็นโรคหลอดเลือดสมองและมีอาการของโรคลมชัก [4] นอกจากนี้เขายังได้กล่าวไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติส่วนตัว ถึงการที่ครั้งหนึ่งเขากลายเป็นโรคติดเหล้า ขาดสติและมีพฤติกรรมรุนแรง ทำให้เขาก่อเหตุทะเลาะวิวาทกับคนอื่นจนถึงขนาดกรามหัก [5]

ในช่วงปี 2008 ไทจิ มีอาการหัวกระดูกสะโพกตายเนื่องจากขาดเลือด ทำให้มีปัญหาในการเดินจนต้องเข้ารับการผ่าตัดใส่หัวสะโพกเทียม

ถูกจับกุม และ การเสียชีวิต

แก้

วันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ไทจิ ซาวาดะ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ในข้อหาก่อความวุ่นวายขึ้นบนเที่ยวบินชั้นธุรกิจที่ 298 ของสายการบินเดลตาแอร์ไลน์ ที่ออกเดินทางจากญี่ปุ่น ไปยังเกาะไซปัน ในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาของสหรัฐอเมริกา[6][7]

โดยเขาได้ทะเลาะกับ คิตามิ เทรุมิ ผู้จัดการส่วนตัวหญิงของเขาบนเครื่องบิน ซึ่งสาเหตุไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าทะเลาะกันด้วยเรื่องใด พนักงานของสายการบินจึงแยกไทจิให้ไปนั่งบริเวณอื่น จากนั้นไทจิ ก็ได้แสดงความโมโหออกมา และชกเข้าไปที่กระจกเครื่องบิน รวมถึงเตะเข้าไปที่เบาะโดยสารข้างหน้า ทำให้กัปตันบนสายการบินสั่งควบคุมตัวเขาขณะเดินทาง และทันทีที่เครื่องบินลงจอดที่สนามบินนานาชาติไซปัน เขาจึงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเพื่อดำเนินคดี [8]

วันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ไทจิ ซาวาดะ ถูกนำตัวไปขึ้นศาลของสหรัฐอเมริกาเพื่อไต่สวนคดีเป็นครั้งแรก โดยหลังจากขึ้นศาลไทจิ ถูกนำตัวไปควบคุมไว้ที่กรมราชทัณฑ์ ในเขตซูซูเป บนเกาะไซปัน และมีกำหนดขึ้นศาลอีกครั้งในช่วงเช้าของวันที่ 15 กรกฎาคม

ในช่วงบ่ายของวันที่ 14 กรกฎาคม ก่อนขึ้นศาล 1 วัน ไทจิ ได้ใช้ผ้าปูเตียง ผูกคอตนเองกับที่คุมขัง จนหมดสติและถูกนำตัวส่งเข้าห้องไอซียู ของศูนย์สุขภาพคอมมอนเวลท์ เขตการาปัน โดยหลังจากนำส่งแพทย์ไทจิอยู่ในภาวะสมองตาย และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

ต่อมาในวันที่ 17 กรกฎาคม ญาติของเขาได้อนุญาตให้แพทย์ดึงเครื่องช่วยหายใจออก ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในวันดังกล่าว โดยหลุมศพของไทจิ อยู่ในสุสานอิจิกาวะ จังหวัดชิบะ

ผลงานเพลง

แก้
Dementia (ค.ศ.1984–85)
X (ค.ศ.1986–92)
  • Skull Trash Zone Vol.1 ( กุมภาพันธ์

ค.ศ. 1987 , อัลบั้มรวมศิลปิน )

  • Vanishing Vision ( เมษายน ค.ศ. 1988 )
  • Blue Blood ( เมษายน ค.ศ. 1989 )
  • Jealousy ( กรกฎาคม ค.ศ. 1991 )
Loudness (ค.ศ.1992–93)
  • Loudness ( 10 มิถุนายน ค.ศ. 1992 )
  • Once And For All ( บันทึกการแสดงสด ที่ Club Citta Kawasaki เมืองโตเกียว วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1992, วางจำหน่าย วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1994 )
D.T.R
  • Dirty Trash Road ( 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 )
  • Acoustic ( 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 )
  • Drive To Revolution ( วิดีโอเทป, บันทึกการแสดงสด ที่ Shibuya Public Hall วันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1994 , วางจำหน่ายวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994)
  • Daring Tribal Roar ( 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1995)
  • Drive To Revolution ( อัลบั้มพิเศษ, 1 สิงหาคม ค.ศ. 1996 )
  • Wisdom/Lucifer ( แผ่นซิงเกิล 2 เพลง, 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 )
KINGS (Side Project)
  • KINGS ( 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 )
OTOKAZE (音風, ร่วมกับ มาซาโยะ ซาวาดะ)
  • 2004.11.20 OTOKAZE
รับเชิญให้ศิลปินอื่นๆ
  • Baki อัลบั้ม The Innergates : ธันวาคม ค.ศ. 1989 (เล่นเบสเพลง Taste of Flower , A Kiss In The Storm และ Flying)

หนังสือ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://causeyourewonderful.blogspot.com/2014/10/taiji-sawada-july-6-1996-july-17-2011.html?m=1
  2. 2.0 2.1 Sawada, Taiji (2000). Uchuu o Kakeru Tomo e: Densetsu no Bando X no Sei to Shi. Tokuma Shoten. ISBN 978-4-19-861174-3.
  3. "Biography". taiji-tsglaston.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-30. สืบค้นเมื่อ 2010-11-28.
  4. "Ex-X JAPAN / Ex-LOUDNESS Bassist TAIJI SAWADA Hospitalized". bravewords.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  5. http://allthetropes.wikia.com/wiki/Taiji_Sawada
  6. "Unruly plane passenger arrested". mvariety.com. สืบค้นเมื่อ 2011-07-14.
  7. "Former "X" member, TAIJI arrested in Saipan + attempted suicide". tokyohive.com. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-29. สืบค้นเมื่อ 2017-04-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้