โอยันตา อูมาลา
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
โอยันตา โมเซส อูมาลา ตัสโซ (สเปน: Ollanta Moisés Humala Tasso, เกิด 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 –) เป็นนักการเมืองและอดีตทหารชาวเปรู เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเปรูระหว่างปี พ.ศ. 2554 จนถึง พ.ศ. 2559 เดิมเขามีแนวคิดทางการเมืองไปทางสังคมนิยมและชาตินิยมฝ่ายซ้าย ต่อมาเขามีแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่และมีจุดยืนแบบการเมืองสายกลางเมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[1][2]
โอยันตา อูมาลา | |
---|---|
อูมาลาใน พ.ศ. 2559 | |
ประธานาธิบดีเปรู คนที่ 58 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 | |
นายกรัฐมนตรี | |
รองประธานาธิบดี | มารีซัล เอสปิโนซา โอมาร์ เชฮาร์เด (2554-2555) |
ก่อนหน้า | อาลัน การ์ซีอา |
ถัดไป | เปรโต พาโบล คุซชินสกี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ลิมา, เปรู |
เชื้อชาติ | เปรู |
พรรคการเมือง | พรรคชาตินิยมเปรู |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | เปรู วินส์ (2553–2554) พรรคสหภาพแห่งเปรู (2549) |
คู่สมรส | นาดีน เฮอร์เลนเดีย (สมรส 2542) |
บุตร | 3 คน |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนทหารชอร์ลินลอส มหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งเปรู (ปริญญาโท) |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | เปรู |
สังกัด | กองทัพบกเปรู |
ประจำการ | 2524–2548 |
ยศ | พันโท |
ผ่านศึก | ความขัดแย้งภายในเปรู สงครามเซเนปา |
เขาเกิดในครอบครัวที่เป็นนักการเมืองและนักเคลื่อนไหว บิดาของเขาชื่อไอแซก อูมาลา เป็นนักกฎหมายและทนายความ อูมาลาเข้ารับรัฐการเป็นทหารประจำกองทัพเปรูเมื่อ พ.ศ. 2524 และได้รับยศพันโท ในช่วงที่เขาเป็นทหารนั้น เขามีบทบาทอย่างมากในเหตุการณ์ความขัดแย้งภายในเปรู และเคยร่วมรบในสงครามเซเนปาซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างประเทศเอกวาดอร์กับประเทศเปรู ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 เขาพยายามกระทำรัฐประหารรัฐบาลของอัลเบร์โต ฟูฆิโมริ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ[3] ต่อมาเมื่อฟูฆิโมริหมดวาระ เขาจึงได้รับการนิรโทษกรรมและได้เข้ามารับรัฐการทหารอีกครั้ง
ใน พ.ศ. 2548 เขาเข้าสู้เส้นทางการเมืองและได้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมเปรูและลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของเปรู พ.ศ. 2549 แต่ได้แพ้อาลัน การ์ซีอา นโยบายและการหาเสียงของเขาได้เป็นที่สนใจของนานาชาติและสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก และถือเป็นความสำเร็จของการเมืองฝ่ายซ้ายในละตินอเมริกา[4] ซึ่งเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2554 และได้รับชัยชนะการเลือกตั้ง โดยสามารถเอาชนะเกย์โก ฟูฆิโมริ และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงปี พ.ศ. 2559
ชัยชนะในการเลือกตั้งของเขาถูกมองว่ามีการแทรกแซงจากนายทุน และมีความกังวลว่าเขาจะดำเนินนโยบายแบบอูโก ชาเบซซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศเวเนซุเอลาและอาจดำเนินนโยบายแบบซ้ายจัดได้ ดังนั้นอูมาลาจึงเปลี่ยนจุดยืนทางการเมืองเป็นสายกลางเมื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[5] อย่างไรก็ดี ระหว่างเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นมีเรื่องอื้อฉาวและพบว่ามีการทุจริตทางการเมืองโดยเขาและภรรยาคือนาดีน เฮอร์เลเดีย[6][7] ทั้งนี้เขายังถูกวิจารณ์จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากนโยบายการสร้างเหมืองแร่อีกด้วย โดยวิจารณ์ว่าเขาไม่ได้ทำตามสัญญาที่หาเสียงไว้ว่าจะดำเนินนโยบายควบคุมการทำเหมืองแร่ในเปรูรวมถึงบริษัทผู้สัมปทาน[8][9]
หลังพ้นตำแหน่งประธานาธิบดี ใน พ.ศ. 2560 เขาถูกทางการเปรูจับกุมข้อหาทุจริตทางการเมือง[10] ต่อมาอูมาลากลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของเปรู พ.ศ. 2564 แต่เขาได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 1.5 และไม่ได้รับเลือกตั้ง[11][12]
อ้างอิง
แก้- ↑ Cruz, Diego Sánchez dela (2014-07-06). "Ollanta Humala consolida el modelo liberal en Perú". Libre Mercado (ภาษาสเปนแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ Staff, Reuters (2013-10-30). "Peru's Humala reshuffling Cabinet in investor-friendly move". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ Peru.com, Redacción (2012-10-04). "Ollanta Humala recibió perdón del Congreso por levantamiento en Locumba". Peru.com (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "Peru's Humala is Washington's next "Worst Nightmare"". Institute for Policy Studies (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2006-04-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ Staff, Reuters (2011-07-21). "Leftist Humala picks centrists for Peru Cabinet". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ "First lady drags Peru's President to new public approval low". Perú Reports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ "The Prosecutor Investigating Peru's Powerful First Lady Has Been Fired". www.vice.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ Staff, Reuters (2016-07-27). "Anti-mining politician freed from jail in Peru slams government". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ "Peru: Humala Submits to the United States and the Mining Industry". NACLA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ McDonnell, Adriana Leon and Patrick J. "Another former Peruvian president is sent to jail, this time as part of growing corruption scandal". latimes.com.
- ↑ PERÚ, NOTICIAS EL COMERCIO (2021-04-14). "Conteo rápido Ipsos al 100% de Elecciones 2021: Pedro Castillo y Keiko Fujimori disputarían segunda vuelta de Elecciones Generales de Perú del 2021 | Perú Libre | Fuerza Popular | Ganadores | Lima | Callao | Departamentos | Regiones | presidente | congresistas | Resultados Elecciones 2021 | pandemia Covid-19 | Presidente del Perú | Congreso | Parlamento Andino | | ELECCIONES-2021". El Comercio Perú (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
- ↑ CORREO, NOTICIAS (2021-04-12). "Flash electoral | Ipsos resultados boca de urna | Conteo rápido | Elecciones generales de Perú de 2021 | ganadores segunda vuelta | Candidatos presidenciales | PERU". Correo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.