โรดอลโฟ กราซีอานี

โรดอลโฟ กราซีอานี มาร์กีที่ 1 แห่งเนเกลลี (อิตาลี: Rodolfo Graziani; 11 สิงหาคม 1882 – 11 มกราคม 1955) เป็นนายทหารสังกัดกองทัพบกราชอาณาจักรอิตาลี ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการบัญชาการทัพในแอฟริกาตั้งแต่ก่อนและในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กราซีอานีมีแนวความคิดแบบฟาสซิสต์และเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ รวมถึงมีบทบาทสำคัญในกองทัพอิตาลีในสมัยฟาสซิสต์ของเบนิโต มุสโสลินี

โรดอลโฟ กราซีอานี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
แห่งสาธารณรัฐสังคมอิตาลี
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน 1943 – 25 เมษายน 1945
ประธานาธิบดีเบนิโต มุสโสลินี
ก่อนหน้าก่อตั้งตำแหน่ง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
เสนาธิการกองทัพราชอาณาจักรอิตาลี
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤศจิกายน 1939 – 24 มีนาคม 1941
ก่อนหน้าอัลเบร์โต ปารีอานี
ถัดไปมารีโอ โรอัตตา
ผู้สำเร็จราชการลิเบียของอิตาลี
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม 1940 – 25 มีนาคม 1941
ก่อนหน้าอิตาโล บัลโบ
ถัดไปอีตาโล การีบอลดี
ผู้สำเร็จราชการแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี
ดำรงตำแหน่ง
11 มิถุนายน 1936 – 21 ธันวาคม 1937
กษัตริย์พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3
นายกรัฐมนตรีเบนิโต มุสโสลินี
ก่อนหน้าปีเอโตร บาโดลโย
ถัดไปเจ้าชายอเมดิโอ ดยุกแห่งออสตา
ข้าหลวงใหญ่โซมาลีแลนด์ของอิตาลี
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม 1935 – 9 พฤษภาคม 1936
ก่อนหน้ามาอูรีซีโอ ราวา
ถัดไปอังเกโล เด รูเบน
รองข้าหลวงใหญ่ไซเรไนกาของอิตาลี
ดำรงตำแหน่ง
17 มีนาคม 1930 – 31 พฤษภาคม 1934
ก่อนหน้าโดเมนีโก ซีชีลีอานี
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 สิงหาคม ค.ศ. 1882(1882-08-11)
ฟีเลตตีโน ราชอาณาจักรอิตาลี
เสียชีวิต11 มกราคม ค.ศ. 1955(1955-01-11) (72 ปี)
โรม ประเทศอิตาลี
ที่ไว้ศพสุสานอัฟฟีเล ประเทศอิตาลี
พรรคการเมืองพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์
(1924–1943)
พรรครีพับลิกันฟาสซิสต์
(1943–1945)
ขบวนการสังคมอิตาลี
(1946–1955)
คู่สมรสอีเนส ชีโอเนตตี (สมรส 1913–1955)
บุตรบุตรสาว 1 คน
ศิษย์เก่าวิทยาลัยการทหารโมเดนา
วิชาชีพนายทหาร
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ราชอาณาจักรอิตาลี (1903–1943)
 สาธารณรัฐสังคมอิตาลี (1943–1945)
สังกัด กองทัพราชอาณาจักรอิตาลี (1903–1943)
 กองทัพบกสาธารณรัฐแห่งชาติ (1943–1945)
ประจำการ1903–1945
ยศจอมพลแห่งอิตาลี
หน่วยกองทัพที่ 10
กองทัพลีกูเรีย
ผ่านศึก

กราซีอานีมีบทบาทสำคัญในการขยายแสนยานุภาพของจักรวรรดิอาณานิคมอิตาลีในระหว่างทศวรรษ 1920 ถึงทศวรรษ 1930 โดยเริ่มจากในลิเบีย และต่อมาในเอธิโอเปีย เขาถูกมองในเชิงลบสำหรับการใช้มาตรการปราบปรามที่รุนแรง เช่น การดำเนินค่ายกักกันที่ทําให้พลเรือนเสียชีวิตจํานวนมาก หรือมาตรการปราบปรามชนพื้นเมืองในอาณานิคม และเนื่องจากมาตรการที่โหดร้ายที่เขาดำเนินการในลิเบีย กราซีอานีจึงได้รับสมญานามว่า "นักฆ่าแห่งเฟแซน" (Il macellaio del Fezzan)[1] ในเดือนกุมภาพันธ์ 1937 หลังจากความพยายามลอบสังหารเขาในระหว่างงานพิธีที่อาดดิสอาบาบา กราซีอานีจึงได้ดำเนินการชำระแค้นอย่างทารุณหรือเยกาติต 12 (Yekatit 12) กราซีอานีเดินทางกลับสู่ลิเบียไม่นานหลังจากอิตาลีเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง และกลายเป็นผู้บัญชาการกองทัพในแอฟริกาเหนือของอิตาลี แต่ได้ลาออกภายหลังการรุกของบริเตนในช่วงปี 1940–1941 ที่ทำให้กองกำลังของเขาล่าถอย การทัพในครั้งนี้ทำให้เกิดอาการเครียดอื่น ๆ ตามมา ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เขาได้ประสบจากอุบัติเหตุงูกัดระหว่างการรับราชการทหารในลิเบียเพียงไม่กี่ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

หลังจากการล่มสลายของระบอบฟาสซิสต์ในอิตาลีในปี 1943 เขาเป็นนายพลแห่งอิตาลีเพียงคนเดียวที่ยังคงภักดีต่อเบนิโต มุสโสลินี และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี มีหน้าที่บัญชาการกองทัพกองทัพบกสาธารณรัฐแห่งชาติ และกลับไปต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงที่เหลือของสงคราม กราซีอานีไม่เคยได้รับการพิจารณาคดีจากคณะกรรมการอาชญากรรมสงครามแห่งสหประชาชาติ; แม้ว่าชื่อเขาจะถูกรวมอยู่ในรายชื่อชาวอิตาลีที่มีสิทธิ์ถูกดําเนินคดีในข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม แต่ด้วยการคัดค้านจากฝ่ายสัมพันธมิตร และการเพิกเฉยต่อการดำเนินคดีอาชญากรสงครามชาวอิตาลี ทำให้ทางเอธิโอเปียจำต้องมอบความยุติธรรมให้แก่เขา ในปี 1950 ศาลอิตาลีตัดสินให้กราซีอานีจำคุก 19 ปี ในข้อหาการร่วมมือกับนาซี เขาถูกปล่อยตัวหลังจากจำคุกเพียงสี่เดือน ในช่วงท้ายของชีวิต เขาเข้าสู่แวดวงการเมืองโดยการเข้าร่วมกับขบวนการสังคมอิตาลีและกลายเป็นประธานกิตติมาศักดิ์ของพรรคในปี 1953 กราซีอานีเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่กี่ปีเมื่อปี 1955

ประวัติ

แก้

จอมพลโรดอลโฟ กราซีอานี เกิดที่เมืองฟิเลตติโน จังหวัดฟรอซีโนเน แคว้นลาซิโอ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1882 เขาได้เข้ารับราชการทหารเมื่อปี ค.ศ. 1903 ต่อมาได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้เป็นนายทหารชั้นนายพันที่มีอายุน้อยที่สุดของกองทัพราชอาณาจักรอิตาลีในขณะนั้น

บทบาทในลิเบีย

แก้

บทบาทในเอธิโอเปีย

แก้

บทบาทในสงครามโลกครั้งที่ 2

แก้
 
บรรดาบุคคลสำคัญของนาซีเยอรมนีและพรรคฟาสซิสต์อิตาลีที่ร่วมในงานศพของอาร์ตูโร บอคคินี (Arturo Bocchini) อธิบดีกรมตำรวจในรัฐบาลฟาสซิสต์อิตาลี (จากซ้าย) คาร์ล โวลฟฟ์, ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช, จาน กาเลอาซโซ ชิอาโน, ไฮน์ริช ฮิมเลอร์, เอมีลีโอ เด โบโน, โรดอลโฟ กราซีอานี, ฮานส์ จอร์จ ฟอน มัคเคนเซน

ชีวิตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

แก้

เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว กราซีอานีถูกรัฐบาลใหม่จำคุกเป็นระยะเวลาอันสั้นที่ซาน วิตตอเร ก่อนถูกส่งตัวให้อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตร หลังจากนั้นจึงถูกส่งตัวไปอยู่ในเขตคุ้มครองของอังกฤษและสหรัฐเมริกาในทวีปแอฟริกา จนกระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตระหนักว่ากราซีอานีอาจถูกลอบฆ่าหรือถูกรุมสังหาร จึงได้ทำการส่งตัวเขากลับมาจำคุกอยู่ที่เกาะโปรซิดา ในแคว้นนาโปลี ประเทศอิตาลี

ในปี ค.ศ. 1950 ศาลทหารได้ตัดสินโทษให้จำคุกกราซิอานีเป็นเวลา 19 ปี ในฐานความผิดที่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายนาซีเยอรมนี แต่หลังจากถูกจำคุกได้เพียงไม่กี่เดือนก็ได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ เขามิเคยถูกฟ้องร้องในข้อหาอาชญากรสงครามจากการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังหารหมู่ในประเทศเอธิโอเปียสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งอุปราชปกครองที่นั้น ทั้งนี้เป็นเพราะฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตัดสินใจที่จะไม่ฟ้องร้องเขา ซึ่งต่างจากที่ทำกับอาชญากรสงครามฝ่ายเยอรมนีและญี่ปุ่น

กราซีอานีเสียชีวิตที่กรุงโรมเมื่อปี ค.ศ. 1955 รวมอายุได้ 72 ปี

ประวัติการรับราชการทหาร

แก้

อ้างอิง

แก้