สาธารณรัฐสังคมอิตาลี

สาธารณรัฐสังคมอิตาลี (อิตาลี: Repubblica Sociale Italiana, RSI) เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและในประวัติศาสตร์คือ สาธารณรัฐซาโล (อิตาลี: Repubblica di Salò [reˈpubblika di saˈlɔ]) เป็นรัฐหุ่นเชิดของเยอรมันด้วยการรับรองที่จำกัดซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ดำรงอยู่นับตั้งแต่เริ่มต้นด้วยเยอรมันเข้ายึดครองอิตาลีในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 จนกระทั่งการยอมจำนนของกองทัพเยอรมันในอิตาลีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945

สาธารณรัฐสังคมอิตาลี

Repubblica Sociale Italiana
1943–1945
คำขวัญPer l'onore d'Italia
"For the honor of Italy"
ดินแดนของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี (ค.ศ. 1943) แสดงด้วยเขียวเข้มและเขียวอ่อน พื้นที่สีเขียวทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเขตปฏิบัติการทหารของเยอรมนีซึ่งอย่างเป็นทางการเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี ทว่า แท้จริงแล้วอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของเยอรมนี
ดินแดนของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี (ค.ศ. 1943) แสดงด้วยเขียวเข้มและเขียวอ่อน พื้นที่สีเขียวทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเขตปฏิบัติการทหารของเยอรมนีซึ่งอย่างเป็นทางการเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี ทว่า แท้จริงแล้วอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของเยอรมนี
สถานะรัฐบริวารของนาซีเยอรมนี[2][3]
เมืองหลวงโรม (โดยนิตินัย); เมืองอื่น ๆ เช่น ซาโล, เบรชชา, Gargnano, เวโรนา, มิลาน (ที่ตั้งสำนักงานรัฐบาล กระทรวง และ หน่วยงานทหาร)
ภาษาทั่วไปภาษาอิตาลี
ศาสนา
นิกายโรมันคาทอลิก
การปกครองลัทธิฟาสซิสต์ รัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐ
ดูเช 
• 1943-1945
เบนีโต มุสโสลีนี
ผู้มีอำนาจเต็ม 
• 1943-1945
Rudolf Rahn
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง, สงครามกลางเมืองอิตาลี
12 กันยายน ค.ศ. 1943
23 กันยายน 1943
25 เมษายน 1945
สกุลเงินลีราอิตาลี
ก่อนหน้า
ถัดไป
ฟาสซิสต์อิตาลี (ค.ศ. 1922–1943)
ราชอาณาจักรอิตาลี

สาธารณรัฐสังคมอิตาลีเป็นประเทศที่ถือกำเนิดเป็นครั้งที่สองและครั้งสุดท้ายของรัฐฟาสซิสต์อิตาลีและภายใต้การนำของดูเช เบนิโต มุสโสลินี และพรรคฟาสซิสต์รีพับลิกันของเขาได้หันไปเป็นผู้ต่อต้านระบอบราชาธิปไตย ซึ่งได้พยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขและให้ทันสมัยของหลักคำสอนลัทธิฟาสซิสต์ในแนวทางที่เป็นกลางและซับซ้อนมากขึ้น รัฐได้ประกาศว่ากรุงโรมเป็นเมืองหลวงแต่ในทางพฤตินัย ซึ่งตั้งอยู่ที่ซาโล (ดังนั้นจึงเป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) เมืองขนาดเล็กบนทะเลสาบการ์ดา ใกล้กับเบรชชา ที่มุสโสลินีและกระทรวงการต่างประเทศได้ตั้งสำนักงานใหญ่ที่นั้น สาธารณรัฐสังคมอิตาลีมีอำนาจอธิปไตยในนามในทางภาคเหนือและกลางของอิตาลี แต่ต้องพึ่งพาทหารเยอรมันเพื่อรักษาการควบคุมเป็นส่วนใหญ่

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1943 ภายหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้ผลักดันอิตาลีออกจากแอฟริกาเหนือและจากนั้นก็บุกครองเกาะซิซิลี สภาใหญ่ฟาสซิสต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ได้รับสั่งให้ทำการล้มล้างและจับกุมมุสโสลินี รัฐบาลใหม่ได้เริ่มทำการเจรจาสันติภาพอย่างลับๆกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อการสงบศึกที่แคสซิเบียได้ถูกประกาศ เมื่อวันที่ 8 กันยายน เยอรมนีได้เตรียมความพร้อมและเข้าแทรกแซงอย่างรวดเร็ว เยอรมนีได้เข้ายึดครองควบคุมทางตอนเหนือครึ่งหนึ่งของอิตาลี ได้ปลดปล่อยมุสโสลินีออกจากที่คุมขังและพาเขาไปยังพื้นที่ที่เยอรมันยึดครองเพื่อจัดตั้งระบอบประเทศรัฐบริวาร สาธารณรัฐสังคมอิตาลีได้ถูกประกาศขึ้น เมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1943[3][4] แม้ว่าสาธารณรัฐสังคมอิตาลีได้กล่าวอ้างว่าดินแดนส่วนใหญ่ของอิตาลีเป็นสิทธิ์อันชอบธรรม มันได้ควบคุมทางการเมืองในส่วนที่เหลือน้อยอย่างมากของอิตาลี[5] สาธารณรัฐสังคมอิตาลีได้รับรองทางการทูตจากเยอรมนี ญี่ปุ่น และรัฐหุ่นเชิดของพวกเขาเท่านั้น

เมื่อประมาณวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 สาธารณรัฐฟาสซิสต์ของมุสโสลินีได้ล่มสลายลง ในอิตาลี, วันนั้นได้เป็นที่รู้จักกันคือ วันปลดปล่อย (''festa della liberazione'') ซึ่งวันนั้นเป็นการก่อการกำเริบของพลพรรคทั่วไป พร้อมกับความพยายามของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงการรุกอิตาลีครั้งสุดท้ายของพวกเขา ได้จัดการขับไล่เยอรมันออกไปจากอิตาลีเกือบทั้งหมด เมื่อถึงจุดสิ้นสุด สาธารณรัฐสังคมอิตาลีได้ดำรงอยู่นานกว่าเก้าเดือนเศษ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พลพรรคได้จับกุมมุสโสลินี อนุภรรยาของเขา (คลาล่า แปตะชิ) รัฐมนตรีของสาธารณรัฐสังคมอิตาลีและฟาสซิสต์อิตาลีคนอื่นๆอีกหลายคน ในขณะที่พวกเขาได้พยายามหลบหนี เมื่อวันที่ 28 เมษายน พลพรรคได้ประหารชีวิตแก่มุสโสลินีและนักโทษคนอื่นๆจำนวนมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรดอลโฟ กราซีอานี ได้ยอมจำนนในส่วนที่เหลืออยู่ของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี หนึ่งวันก่อนที่กองทัพเยอรมันในอิตาลีจะยอมจำนน-นี้ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี

อ้างอิง แก้

  1. "Italy 1922-1943". nationalanthems.info.
  2. Renzo De Felice, Breve storia del fascismo, Milano, Mondadori (Collana oscar storia), 2002, pp. 120-121
  3. 3.0 3.1 Pauley, Bruce F. (2003), Hitler, Stalin and Mussolini: Totalitarianism in the Twentieth Century Italy (2nd ed.), Wheeling: Harlan Davidson, p. 228, ISBN 0-88295-993-X
  4. 大井孝 (September 2008). 欧州の国際関係 : 1919-1946 : フランス外交の視角から (ภาษาญี่ปุ่น). たちばな出版. p. 943. ISBN 9784813321811.
  5. Dr Susan Zuccotti, Furio Colombo. The Italians and the Holocaust: Persecution, Rescue, and Survival. University of Nebraska Press paperback edition. University of Nebraska Press, 1996. P. 148.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้