โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ)
โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) เป็นโรงเรียนที่ตั้งติดอยู่วัดช่องลมนาเกลือ เมืองพัทยา ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มีนักเรียนศึกษาอยู่ประมาณ 1,100 คน มีผู้บริหาร 1 คน ครู 67 คน นักการภารโรง 8 คน เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลศึกษาถึงมัธยมศึกษา แบบสหศึกษา
โรงเรียนเมืองพัทยา ๒ (เจริญราษฎร์อุทิศ) | |
---|---|
Pattaya City 2 (Charoenrat Utid) School | |
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 5 หมู่ 2 ถนนสุขุมวิท ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 โทรศัพท์ 038 451 2083 โทรสาร 038 451 2083 | |
พิกัด | 12°58′41″N 100°54′49″E / 12.9780821°N 100.9136094°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ม.พ.ย.๒ |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
สถาปนา | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 |
ผู้ก่อตั้ง | หลวงสวรรค์ประสาสน์ |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต12 |
หน่วยงานกำกับ | เมืองพัทยา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย |
ผู้อำนวยการ | นายทนุพงษ์ ศรีเเสนยงค์ |
ระดับชั้น | อ.1 - ม.3 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ |
สี | เหลือง - แดง |
เพลง | มาร์ช โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) |
เว็บไซต์ | www.pattayacity2school.ac.th |
ประวัติ
แก้โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎอุทิศ) นี้เริ่มโดย หลวงสวรรค์ประสาสน์ อดีตนายอำเภอบางละมุง ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 เดิมโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตของวัดช่องลมนาเกลือ โดยมีนายอากรยัง ทิมกระจ่าง ปลูกสร้างตัวโรงเรียนให้เป็นรูปทรงมนิลาหลังคามุงจาก มีขนาดกว้าง 3 วา ยาว 3 วา ต่อโรงเรียนการชำรุดผุพังลงไปตามกาลเวลา
ขุนวัฒน์วิจารณ์ อดีตนายอำเภอบางละมุง ต่อมาได้ร่วมกับ พระคุณเจ้าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ สุขบท) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ และราษฎร์ในตำบลนาเกลือ กับเจ้าอาวาสวัดช่องลมนาเกลือช่วยกันสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และได้ย้ายจากสถานที่เดิมไปที่ใหม่ ซึ่งเป็นที่ดินของทางราชการที่สงวนเอาไว้ติดกับวัดช่องลมนาเกลือ ทางทิศใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน
อาคารเรียนหลังใหม่นี้สร้างขึ้นในปี 2477 ตัวโรงเรียนเป็นตึก 2 ชั้น ก่อสร้างด้วยคอนกรีต ทรงปั้นหยาหลังมุงกระเบื้อง มีขนาดกว้าง 4 วา ยาว 12 วา มีมุขยื่นตรงกลางหน้าห้องมีระบียงกว้าง 1 วา มีห้องเรียนทั้งหมด 6 ห้อง หน้ามุขทั้งขั้นบนและชั้นล่างเป็นห้องของครูใหญ่ และห้องพักครู สร้างเสร็จในปี 2478 ต่อมาทางกระทรวงศึกษาธิการตั้งชื่อว่า "โรงเรียนประชาบาลตำบลนาเกลือ 1 (เจริญราษฎร์บางละมุง)" และใช้เป็นที่เล่าเรียนหนังสือต่อมา ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาทางกระทรวงศึกษาธิการให้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนบ้านนาเกลือ (เจริญราษฎร์อุทิศ)"
1 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ทางราชการได้โอนให้โรงเรียนนี้ไปยังสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2521 ทางราชการได้ยกฐานสุขภิบาลนาเกลือขึ้นเป็น เมืองพัทยา โรงเรียนจึ้นโอนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไปยังสังกัดเมืองพัทยา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 และใช้ชื่อโรงเรียนใหม่นี้ว่า "โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฏร์อุทิศ)" จนถึงปัจจุบัน
ความหมายตราสัญลักษณ์
แก้- แถบสีเหลืองเป็นสีประจำโรงเรียน หมายถึง ความมีน้ำใจรักและสามัคคี
- แถบสีแดงเป็นสีประจำโรงเรียน หมายถึง ความรักในสถาบัน
- รัศมีสีเหลืองเข้ม หมายถึง ศาสนาเพราะมีวัดเป็นส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน
- รูปคลื่น หมายถึง ทะเล เนื่องจากพื้นที่โรงเรียนติดกับชายหาดนาเกลือ
- รูปลายเส้นอาคาร 1 หมายถึง อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ)
- รูปนักรบโบราณขี่ม้าอยู่บนชายหาดทรายมองไปเห็นเกาะอยู่ในทะเล ล้อมรอบด้วยชื่อโรงเรียน หน่วยงานต้นสังกัดและจังหวัดชลบุรี ส่วนบนสุดเป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน ถัดลงเป็นสีประจำโรงเรียนสีเหลือง-แดง ส่วนกลางเป็นรูปรัศมีสีเหลืองเข้มแสดงถึงวัดมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน ส่วนล่างสุดเป็นรูปคลื่นทะเลแสดงถึงโรงเรียนตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่มีพื้นที่อยู่ใกล้กับทะเล
- หน่วยงานต้นสังกัด เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
- สีประจำโรงเรียน สีเหลือง-แดง
- สีเหลือง หมายถึง ความรักความมีน้ำใจและความสามัคคี
- สีแดง หมายถึง ความรักในสถาบัน
- ดอกไม้ประจำโรงเรียน ดอกการเวก
- ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นการเวก
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ)[ลิงก์เสีย]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ)
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
12°58′41″N 100°54′49″E / 12.9780821°N 100.9136094°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้