โรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา
โรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา (ย่อ: ฉ.ฉ.ว.) หรือในชื่อเดิม โรงเรียนเฉลิมวิทยา บางเมือง[1] เป็นอดีตโรงเรียนเอกชน เคยเปิดสอนในระดับเตรียมอนุบาล–มัธยมศึกษาตอนต้น ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2499[2] ทางโรงเรียนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ รับดูแลเด็กพิเศษเข้าเรียนได้ แบ่งเป็นระดับ 2 แบบคือ เด็กพิเศษเป็นน้อยสามารถอยู่ห้องเรียนกับเด็กปกติได้ แต่จะมีเด็กนักเรียนเข้ามาห้องเรียนเขาเรียกชื่อเฉพาะผู้เป็นเด็กพิเศษ เข้าห้องสำหรับนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษ จะใช้เวลาสอนห้องนี้อยู่ประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง เรียนเสร็จสามารถกลับมาเข้าห้องเรียนตามปกติได้ เด็กพิเศษเป็นมากต้องอยู่ห้องสำหรับนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษเท่านั้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ตั้งอยู่ในซอยอักษรลักษณ์ ถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
โรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ฉ.ฉ.ว. |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
สถาปนา | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 - พ.ศ. 2532 โรงเรียนเฉลิมวิทยา บางเมือง (33 ปี) พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2565 โรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา (32 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | บุญรอด เอี่ยมโอภาส |
รหัส | 11010002 |
ผู้อำนวยการ | วาทินี สุธนรักษ์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | เตรียมอนุบาล–มัธยมศึกษาตอนต้น |
สี | สีชมพู-สีฟ้า |
เพลง | มาร์ชเฉลิมไฉไลวิทยา |
เว็บไซต์ | www.chalermchailai.ac.th |
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 โรงเรียนประกาศปิดกิจการ เนื่องจากขาดทุน และมีปัญหาสืบเนื่องจากโรคโควิด-19 ที่กระทบต่อโรงเรียน[3][4][5] รวมระยะเวลาที่เปิดทำการเรียนการสอนทั้งสิ้น 65 ปี[6] นับเป็นโรงเรียนเอกชนที่ปิดกิจการแห่งที่ 2 ต่อจากโรงเรียนวรรณวิทย์ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา[7]
ประวัติ
แก้ก่อนปี พ.ศ. 2499 นางบุญรอด เอี่ยมโอภาส(ภรรยา)ของนายเฉลิม เอี่ยมโอภาสผู้ก่อตั้งโรงเรียนเฉลิมวิทยา ตั้งอยู่ที่ในเขตธรณีสงฆ์ วัดกลางวรวิหาร พื้นที่ค่อนข้างจำกัดไม่สามารถขยายพื้นที่รองรับความต้องการนั้ได้ ดังนั้นเมื่อนายเฉลิม เอี่ยมโอภาส(สามี)ถึงแก่กรรมปี พ.ศ. 2485 นางบุญรอด เอี่ยมโอภาส ได้สืบทอดดำเนินการกิจการของโรงเรียนเฉลิมวิทยา ในปีพ.ศ. 2499 นางบุญรอดจึงได้เปิดโรงเรียนใหม่แห่งที่ 2 เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นที่ซอยสุขุมวิท 31 (ซอยอักษรลักษณ์) ตำบลบางเมือง (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลปากน้ำ) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ คนทั่วไปในเขตปากน้ำซอยนี้ว่า "ซอยสุเหร่า" ด้วยเป็นที่ตั้งของมัสยิดอัลเอี๊ยะห์ซาน ให้ชื่อโรงเรียนแห่งใหม่นี้ว่า โรงเรียนเฉลิมวิทยา บางเมือง
อาคารโรงเรียน
แก้โรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา มีอาคารเรียนทั้งหมด 4 อาคารได้แก่ อาคารเฉลิม อาคารบุญรอด อาคารศรีจรวย และ อาคารไฉไล
อาคารเฉลิม
แก้ชั้น 1 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จะมีห้องสุขาผู้ชายผู้หญิงแยกส่วนกัน ส่วนชั้น 2 เป็นอาคารไม้จะมี 2 ห้องสำหรับนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษ
อาคารบุญรอด
แก้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ห้องเรียน ห้องสุขา สำหรับเด็กนักเรียนอนุบาล 1-3
อาคารศรีจรวย
แก้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 ชั้น เดิมทีเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น รื้อถอนออกและสร้างอาคารใหม่ เพื่อแก้ปัญหาความแออัดของนักเรียนและเพิ่มห้องเรียน ภายในอาคารประกอบด้วยห้องเรียน ห้องครัว ห้องเก็บสินค้า ห้องสุขา ห้องเอกสาร ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า ห้องโรเนียว ห้องธุรการ-การเงิน ห้องผู้อำนวยการ โรงอาหาร ห้องพยาบาลหญิง ห้องสมุด ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ห้องเอี่ยมโอภาส ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องพักครู ห้องภาษาจีน ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ ห้องวิชาการระดับพื้นฐาน ห้องนาฏศิลป์ และห้องพระ ชั้น 5 มีห้องโถงขนาดใหญ่เห็นหลังคาได้ แต่ไม่ถูกใช้งานเพื่อป้องกันการแอบขึ้นชั้น 5 ของเด็กนักเรียน ทำกรงเหล็กขนาดใหญ่ล็อคกุญแจไว้ทางขึ้นบันไดและเขียนป้ายก่อนจะขึ้นชั้น 5 ว่า"ห้ามนักเรียนขึ้นชั้น 5 โดยลำพัง" สำหรับเด็กนักเรียนประถมศึกษา 1 ถึงมัธยมศึกษา 3
อาคารไฉไล
แก้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น เดิมทีเป็นสำหรับเด็กนักเรียนมัธยมศึกษา 1-3 ประถมศึกษา 4-6 ย้ายห้องเรียนการชั่วคราวเพื่อรอการต่อสร้างอาคารใหม่เสร็จ ห้องพระพุทธศาสสนา ห้องพลศึกษา ห้องดนตรีไทย ห้องการศึกษาพิเศษ ห้องพยาบาลชาย เวทีแสดง
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ๖ ทศวรรษ เพชรน้ำงามแห่งวงการศึกษา, หน้า 30
- ↑ "ประวัติโรงเรียนโรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-08. สืบค้นเมื่อ 2023-04-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "โรงเรียนดังปากน้ำ 'เฉลิมไฉไลวิทยา' เตรียมปิดกิจการอีกราย หลังเจอพิษโควิด(คลิป)".
- ↑ "โรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา" แจ้งปิดตัวถาวรจากพิษโควิด-เศรษฐกิจ".
- ↑ "โรงเรียนดังปากน้ำ แจ้งปิดกิจการ สู้พิษโควิดไม่ไหว เหลือเด็กแค่ 50 คน".
- ↑ "สู้พิษโควิดไม่ไหว! โรงเรียนดังปากน้ำแจ้งปิดกิจการ หลังเปิดสอนมากว่า 65 ปี".
- ↑ "โรงเรียนเอกชนทยอยตาย ผู้ปกครองค้างค่าเทอมหมื่นล้าน ครูตกงาน".
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์