โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์

โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ (อักษรย่อ: ต.ป.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 3-4)

โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
Takhliprachasan School
โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์png
โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
ที่ตั้ง
110 ถนนพหลโยธิน ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 60140
ข้อมูล
ชื่ออื่นต.ป.
T.P.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญรู้หน้าที่ สามัคคี มีวินัย
สถาปนา22 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
(61 ปี 333 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
รหัส1007600701[1]
ผู้อำนวยการดร.สมบูรณ์ นนท์สกุล (2565-ปัจจุบัน)
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนนักเรียน2,585[2]
สี███ เทา
███ แดง
เพลงถิ่นเราเทา-แดง
ต้นไม้อินทนิลน้ำ
เว็บไซต์http://www.takhli.ac.th/
โทรศัพท์ 0-5626-2369
โทรสาร 0-5626-1158
อาคารเรียนเก่าของโรงเรียนเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งแล้ว

ประวัติโรงเรียน แก้

การก่อตั้ง แก้

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2505 นายทองคำ ทรัพย์บุญรอด กำนันตำบลตาคลี และนายเตียง พัวพรพงษ์ คหบดี แสดงความจำนงต่อทางราชการ ที่จะอุทิศที่ดินเพื่อจะสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ โดยนายทองคำ ทรัพย์บุญรอดอุทิศที่ดิน 10 ไร่ นายเตียง พัวพรพงษ์ อุทิศที่ดิน 5 ไร่ ทางราชการ จึงขออนุญาตตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นประจำอำเภอขึ้น เมื่อปีการศึกษา 2505 ต่อมาได้มีผู้บริจาค สมทบอีกสองราย คือนางเฮียง ชมพู อุทิศที่ดิน 3 ไร่ และนายมานิตย์ พัวพรพงษ์ อุทิศที่ดิน 3 ไร่รวมเป็นที่ดิน 21 ไร่ [4]

ในตอนเปิดเรียนใหม่ ๆ นั้น เนื่องจากอาคารเรียนยังไม่มี จึงต้องอาศัยศาลาวัดสว่างวงษ์เป็นที่เรียนชั่วคราว ต่อมาทางราชการอำเภอซึ่งมีนายจำนง ยังเทียน นายอำเภอตาคลีและนายนาค สังข์ลำใย ศึกษาธิการอำเภอ ได้ร่วมมือกับพ่อค้าประชาชน ในนามมูลนิธิการกุศลและพัฒนาตาคลี จัดหาเงินเพื่อสร้างอาคารเรียน ซึ่งได้เงินหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือประมาณ 170,000 บาทเศษ และได้ใช้เงินจำนวนนี้ปรับปรุงบริเวณโรงเรียน ทำถนนรั้วหน้าโรงเรียน และที่เหลือสมทบกับเงินงบประมาณปีพ.ศ. 2508 จัดสร้างอาคารเรียนหลังแรกประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ วัน 6 ฯ 7 ปีมะโรง ฉศก จุลศักราช 1326 ตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 และโรงเรียนได้ย้ายมาอยู่สถานที่ปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา โดยมีนายธีระชัย ทองวิชิต เป็นครูใหญ่คนแรก ที่ร่วมบุกเบิกก่อตั้ง และนางก่องแก้ว เติบศิริ เป็นครูผู้สอน มีจำนวน 2 คน ที่สอนอยู่ที่ศาลาวัดสว่างวงษ์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนชั่วคราว มีจำนวนนักเรียน 36 คน เปิดเป็นแบบสหศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3[4]

การปรับปรุง แก้

 
ป้ายชื่อโรงเรียนบริเวณทางเข้าด้านหน้าฝั่งทิศตะวันตก
  • พ.ศ. 2509 สร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้อีก 1 หลัง
  • พ.ศ. 2510 โรงเรียนเข้าโครงการปรับปรุงมัธยมชนบท (ค.ม.ช.) รุ่น 14 โดยได้รับความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์จากองค์การยูนิเซฟ และทางกรมวิสามัญ (สมัยนั้น) ได้ช่วยเหลือด้านอาคารสถานที่และอัตรากำลังครู ต่อมาโรงเรียนได้เข้าอยู่ในโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมแบบ 2 (ค.ม.ส.) รุ่น 2 ด้วย
  • พ.ศ. 2511 ได้รับงบประมาณซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นอีก 20 ไร่ ทางด้านเหนือหลังโรงเรียน
  • พ.ศ. 2512 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีก 1 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 6 ห้องเรียน และบ้านพักครูอีกหนึ่งหลัง
  • พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก. จำนวนหลัง และได้รับบริจาคที่ดินจากนายศักดิ์ชัย ขจรชมภู จำนวน 3 ไร่
  • พ.ศ. 2520 ได้รับเงินอนุมัติเปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก. จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2522 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 213 ก. จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารฝึกงานแบบ 102/27 (แบบมาตรฐาน) จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2531 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 316 ล. จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2532 ได้รับงบประมาณสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ. 33
  • พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณสร้างหอประชุมขนาดใหญ่แบบ 100/27 จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณสร้งอาคารเรียนแบบ 316. ล. จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานแบบ 204 (2 ชั้น 4 ห้อง) จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 424 ล. (4 ชั้น 24 ห้อง) จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณสร้างหอถังสูง 12 เมตร แบบ 12/18 จำนวน 1 หอ
  • พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 54 ห้องเรียน (ม.ต้น 12-10-11) (ม.ปลาย 8-7-6)
  • พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 56 ห้องเรียน (ม.ต้น 12-12-10) (ม.ปลาย 8-7-7)
  • พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 56 ห้องเรียน (ม.ต้น 12-12-12) (ม.ปลาย 7-7-6)
  • พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 59 ห้องเรียน (ม.ต้น 12-12-12) (ม.ปลาย 8-8-7)
  • พ.ศ. 2544 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 60 ห้องเรียน (ม.ต้น 12-12-12) (ม.ปลาย 8-8-8)
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 62 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-12-12) (ม.ปลาย 9-8-8)
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 64 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-13-12) (ม.ปลาย 9-9-8)
  • พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 67 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-13-13) (ม.ปลาย 10-9-9)
  • พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 68 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-13-13) (ม.ปลาย 10-10-9)
  • พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 69 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-13-13) (ม.ปลาย 10-10-10)
  • พ.ศ. 2560 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 69 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-13-13) (ม.ปลาย 10-10-10)

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้