โรคใหลตาย
โรคใหลตาย (อังกฤษ: sudden unexpected death syndrome (ย่อ: SUDS) หรือ sudden unexpected nocturnal death syndrome (ย่อ: SUNDS)), มักสะกดผิดว่า โรคไหลตาย (ดู ศัพทมูล), เป็น ความตายที่เกิดแก่บุคคล ไม่ว่าวัยรุ่น (adolescent) หรือ ผู้ใหญ่ (adult) อย่างปัจจุบันทันด่วนขณะนอนหลับ และไม่อาจอธิบายสาเหตุแห่งความตายนั้นได้
ศัพทมูล
แก้ใน ปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นปีที่โรคใหลตายปรากฏ มีปัญหาว่า "ใหลตาย" หรือ "ไหลตาย" สะกดอย่างไรจึงจะถูกต้อง ราชบัณฑิตยสถานจึงประชุม และมีความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นควรสะกดว่า "ไหล" (สระ ไ ไม้มลาย) เพราะ "ไหล" เป็นภาษาถิ่นอีสาน ปรากฏในพจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน-ภาคกลาง ฉบับปณิธาน ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสฺมหาเถระ) มีความหมายว่า "นอนหลับไม่ได้สติ" ประกอบกับเป็นชื่อโรคซึ่งเป็นวิสามานยนาม และมิใช่หนึ่งในคำยี่สิบคำที่ต้องเขียนด้วยไม้ม้วน ขณะที่อีกฝ่ายเห็นควรสะกด "ใหล" (สระ ใ ไม้ม้วน) โดยพิเคราะห์ว่า "ใหล" มาจาก "หลับใหล" ซึ่งมีความหมายว่า "นอนหลับไม่ได้สติ" เหมือนกัน ในการประชุมครั้งนั้น ราชบัณฑิตยสถานมิได้ลงมติข้างไหน[1]
ปีเดียวกันนั้นเอง คณะกรรมการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นพิจารณาอีกครั้ง โดยตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น พจนานุกรมอีสาน-กลาง ฉบับมหาวิทยาลัยขอนแก่น-สหวิทยาลัยอีสาน, สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ ของ ปรีชา พิณทอง ฯลฯ ปรากฏว่า ไม่มีที่ใดในภาษาอีสานสะกด "หลับใหล" ว่า "หลับไหล" มีแต่พจนานุกรมของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสฺมหาเถระ) ข้างต้นฉบับเดียวเท่านั้นที่อ้างว่าเทียบมาจากพจนานุกรมภาษาลาว ราชบัณฑิตยสถานจึงได้สืบค้นพจนานุกรมภาษาลาว พบว่า ในภาษาลาวก็สะกด "หลับใหล" ด้วยสระ ใ ไม้ม้วน เหมือนในภาษาไทย โดยให้ความหมายว่า "ละเมอ" หรือ "เอิ้นหรือฮ้องในเวลานอนหลับหรือในเวลาตื่นตกใจจนหลงสติ" มิได้สะกดอย่างสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสฺมหาเถระ) แต่ประการใด[1] ที่สุด ราชบัณฑิตยสถานจึงมีมติว่า ชื่อโรคนี้ให้เขียน "ใหลตาย" โดยวินิจฉัยว่า "ใหล" มาจาก "หลับใหล"[1]
บันทึกการพบ
แก้โรคใหลตายนั้นมีบันทึกไว้เป็นครั้งแรกว่า เกิดในบรรดาชาวม้งที่ลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2520[2][3] และบันทึกอีกครั้งในประเทศสิงคโปร์ เมื่อผลการสำรวจย้อนหลัง (retrospective survey) ปรากฏว่า ชายไทยที่สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง หลับแล้วเสียชีวิตอย่างฉับพลันโดยไร้สาเหตุ ในระหว่าง พ.ศ. 2525 ถึง 2533 จำนวน 230 คน[4] ในประเทศฟิลิปปินส์ปรากฏว่า ในปีหนึ่ง ๆ โรคใหลตายคร่าชีวิตชาวฟิลิปปินส์ไปร้อยละ 43 ต่อ 10,000 คน โดยผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่เป็นชายวัยรุ่น[5]
สาเหตุ
แก้โรคใหลตาย เดิมเชื่อว่ามีสาเหตุมาจาก วิญญาณเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ ในประเทศไทยเชื่อว่า เกิดจากการกินขนมซึ่งทำจากข้าว ส่วนชาวฟิลิปปินส์เชื่อว่า การรับประทานคาร์โบไฮเดรตเป็นปริมาณมากก่อนนอนนั้นจะทำให้ใหลตาย หรือที่เรียกในภาษาตากาล็อกว่า "bangungot" (ฝันร้าย)
ในทางวิทยาศาสตร์ มีผลการค้นคว้าพบว่า ผู้ใหลตายล้วนมีโรคทางกายเกี่ยวกับหัวใจ หรือปัญหาอื่นทางโครงสร้างหัวใจ หรือมีปัญหาทางการหายใจ อันเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่เรียกสติกลับมาควบคุมการหายใจไม่ได้อีกครั้งและนำไปสู่ความตาย
การรักษา
แก้วิธีเดียวที่จะป้องกันโรคใหลตาย คือ ปลูกฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (cardiovertor defibrillator implantation) ส่วนการรับประทานยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ (antiarrhythmic) นั้น ไม่มีผลช่วยชีวิตแต่อย่างใด[6]
ดูเพิ่ม
แก้- กลุ่มอาการบรูกาดา (Brugada syndrome)
- การหยุดหายใจในเวลานอน (sleep apnoea)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "สู่ข้อยุติ : โรคใหลตาย". (2533, 17 พฤษภาคม).จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน, (ปีที่ 2). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2553).
- ↑ Centers for Disease Control (CDC) (1981). "Sudden, unexpected, nocturnal deaths among Southeast Asian refugees". MMWR. Morbidity and Mortality Weekly Report. 30 (47): 581–589. PMID 6796814.
- ↑ Parrish RG, Tucker M, Ing R, Encarnacion C, Eberhardt M (1987). "Sudden unexplained death syndrome in Southeast Asian refugees: a review of CDC surveillance". MMWR Surveillance Summaries. 36 (1): 43SS–53SS. PMID 3110586.
- ↑ Goh KT, Chao TC, Chew CH (1990). "Sudden nocturnal deaths among Thai construction workers in Singapore". Lancet. 335 (8698): 1154. doi:10.1016/0140-6736(90)91153-2. PMID 1971883.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Gervacio-Domingo, G.; F. Punzalan; M. Amarillo; A. Dans. "Sudden unexplained death during sleep occurred commonly in the general population in the Philippines: a sub study of the National Nutrition and Health Survey ". Journal of Clinical Epidemiology. 60 (6): 561–571. สืบค้นเมื่อ 2008-12-09.
- ↑ Nademanee K, Veerakul G, Mower M; และคณะ (2003). "Defibrillator Versus beta-Blockers for Unexplained Death in Thailand (DEBUT) : a randomized clinical trial". Circulation. 107 (17): 2221–6. doi:10.1161/01.CIR.0000066319.56234.C8.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Tan, Michael (29 August 2000). "Bangungot". Philippine Daily Inquirer.
{{cite news}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - Tan, Michael (1 April 2002). "Revisiting 'bangungot'". Philippine Daily Inquirer.
{{cite news}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - Tan, Michael (18 April 2002). "'Bangungot', the sequel". Philippine Daily Inquirer.
{{cite news}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - Agence France Presse (8 April 2002). "Sleeping death syndrome terrorises young men". The Borneo Post.
{{cite news}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - Center for Disease Control (23 September 1988). "Sudden Unexplained Death Syndrome Among Southeast Asian Refugees". MMWR.
{{cite news}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์)