โรคแอดดิสัน (อังกฤษ: Addison's disease) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ เนื่องจากต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนสเตอรอยด์ไม่เพียงพอ[1] อาการทั่วไปที่พบได้แก่ ปวดท้อง, อ่อนแรง, น้ำหนักลด รวมถึงสีผิวคล้ำขึ้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือภาวะวิกฤติต่อมหมวกไต ร่วมกับอาเจียน, ปวดหลังส่วนล่าง, ช็อกและโคม่า[1]

โรคแอดดิสัน
ชื่ออื่นAddison disease, chronic adrenal insufficiency, hypocortisolism, hypoadrenalism, primary adrenal insufficiency[1]
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการปวดท้อง, อ่อนแรง, น้ำหนักลด, ผิวคล้ำขึ้น[1]
ภาวะแทรกซ้อนภาวะวิกฤติต่อมหมวกไต[1]
การตั้งต้นเพศหญิงวัยกลางคน[1]
สาเหตุต่อมหมวกไตมีปัญหา[1]
วิธีวินิจฉัยการตรวจเลือด, การตรวจปัสสาวะ, การฉายภาพทางการแพทย์[1]
การรักษาคอร์ติโคสเตอรอยด์ เช่น คอร์ติซอลและฟลูโดคอร์ติโซน[1][2]
ความชุก0.9–1.4 ต่อ 10,000 คน (ประเทศพัฒนาแล้ว)[1][3]

โรคแอดดิสันเป็นหนึ่งในโรคต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ แบบปฐมภูมิ คือต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลและอัลโดสเตอโรนไม่เพียงพอ และแบบทุติยภูมิ คือต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปิกไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการผลิตคอร์ติซอลในต่อมหมวกไต[4] ความผิดปกตินี้ส่วนใหญ่เกิดจากโรคภูมิต้านตนเองในประเทศพัฒนาแล้ว และวัณโรคในประเทศกำลังพัฒนา[5] การตรวจโรคทำได้ด้วยการการตรวจเลือด, การตรวจปัสสาวะและการฉายภาพทางการแพทย์[1] การรักษาโรคแอดดิสันมักเป็นการให้ฮอร์โมนทดแทน คือให้ไฮโดรคอร์ติโซนและฟลูโดคอร์ติโซนทางปาก[1][2] หากอาการแย่ลง จะมีการแนะนำให้ฉีดคอร์ติโคสเตอรอยด์ ร่วมกับการให้น้ำตาลเดกซ์โตรสทางหลอดเลือดดำ หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดภาวะวิกฤติต่อมหมวกไตและทำให้เสียชีวิตได้

โรคแอดดิสันมีความชุกประมาณ 0.9 ถึง 1.4 ต่อประชากร 10,000 คนในประเทศพัฒนาแล้ว[1][3] มักพบในเพศหญิงวัยกลางคน[1] นอกจากจะพบในมนุษย์แล้ว โรคนี้ยังสามารถพบในสุนัข โดย 70% พบในสุนัขเพศเมีย[6][7] โรคแอดดิสันตั้งชื่อตามทอมัส แอดดิสัน แพทย์ชาวอังกฤษที่บรรยายถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1855[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 "Adrenal Insufficiency and Addison's Disease". NIDDK. May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2016. สืบค้นเมื่อ 13 March 2016.
  2. 2.0 2.1 Napier, C; Pearce, SH (June 2014). "Current and emerging therapies for Addison's disease". Current Opinion in Endocrinology, Diabetes and Obesity. 21 (3): 147–53. doi:10.1097/med.0000000000000067. PMID 24755997.
  3. 3.0 3.1 Brandão Neto, RA; de Carvalho, JF (2014). "Diagnosis and classification of Addison's disease (autoimmune adrenalitis)". Autoimmunity Reviews. 13 (4–5): 408–11. doi:10.1016/j.autrev.2014.01.025. PMID 24424183.
  4. "Adrenal Insufficiency (Addison's disease)". Johns Hopkins Medicine. สืบค้นเมื่อ April 16, 2019.
  5. Adam, Andy (2014). Grainger & Allison's Diagnostic Radiology (6 ed.). Elsevier Health Sciences. p. 1031. ISBN 9780702061288. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14.
  6. Stafford, Debbie (September 1999). "The Great Mimic: Canine Addison's Disease" (PDF). Veterinary Technician. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 28, 2016. สืบค้นเมื่อ 5 May 2011.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) (PDF)
  7. Klein, Susan C.; Peterson, Mark E. (2010). "Canine hypoadrenocorticism: part I". The Canadian Veterinary Journal. 51 (1): 63–9. PMC 2797351. PMID 20357943.
  8. Rose, Noel R.; Mackay, Ian R. (2014). The autoimmune diseases (5 ed.). San Diego, CA: Elsevier Science. p. 605. ISBN 9780123849304. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้