โยอาคิม กรัสซี
โยอาคิม กรัสซี (พ.ศ. 2380-19 สิงหาคม พ.ศ. 2447) หรือชื่อทับศัพท์แบบอื่น โจอาคิม แกรซี, โจอาคิม กราซี สถาปนิกชาวอิตาเลียนเชื้อสาย ออสเตรีย-ฝรั่งเศส ทำงานให้กับรัฐบาลสยามในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นสถาปนิกชาวยุโรปคนแรกที่ได้รับการว่าจ้างโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โยอาคิม กรัสซี | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2380 กาโปดิสเตรีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี |
เสียชีวิต | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2447 (67 ปี) โคเพอร์ ประเทศสโลวีเนีย |
คู่สมรส | หลุยส์ นีโฮ อเมเรีย สโต๊คเกอร์ |
บุตร | 5 คน |
ผลงานสำคัญ | ศุลกสถาน |
ประวัติ
แก้โยอาคิม กรัสซีเกิดที่เมืองกาโปดิสเตรียของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันคือเมืองโคเพอร์ ประเทศสโลวีเนีย) เคยทำงานที่เมืองเซี่ยงไฮ้ระยะหนึ่งให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส จากนั้นเดินทางสู่สยามโดยเริ่มทำงานกับห้างค้าไม้ของนายเอดวิน บอนเนอวิลล์ (Edwin Bonneville) ซึ่งห้างนี้ตั้งอยู่ย่านบางคอแหลม ต่อมาโยอาคิมเห็นว่าห้างค้าไม้ไม่รุ่งเรืองนักจึงคิดจะกลับยุโรป แต่ช่วงดังกล่าวมีคนว่าจ้างโยอาคิมให้ออกแบบก่อสร้างคองคอร์เดียคลับ (Concordia Club) เป็นสโมสรสำหรับชาวตะวันตกที่พำนักอยู่ในบางกอก จากนั้นใช้ชีวิตต่อในสยามประกอบอาชีพเป็นสถาปนิก เปิดบริษัทรับเหมาทำตึกเรือนต่าง ๆ และยังรับจ้างต่อเรือ รวมถึงมีกิจการวิ่งเรือกลไฟ โยอาคิม กรัสซี สมรสครั้งแรกกับ หลุยส์ นีโฮ มีบุตรด้วยกัน 3 คน สมรสครั้งสองกับ อเมเรีย สโต๊คเกอร์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน[1]
เขาตั้งบริษัทเอกชนต่างด้าวขึ้นเพื่อรับงานรับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะในนามของ Grassi Brothers and Co. ในบางกอก เมื่อ พ.ศ. 2418[2]
พ.ศ. 2436 นายโยอาคิมเปลี่ยนสัญชาติเป็นฝรั่งเศสเพื่ออาศัยช่องทางในการทำธุรกิจที่สยาม ลงทุนโครงการสร้างทางรถไฟกับมาเลเซีย ต่อมาอีก 10 ปี อันเนื่องจากสยามขัดแย้งกับฝรั่งเศส ทำให้โยอาคิมต้องเดินทางออกจากสยาม รวมเวลาทำงานในสยาม 23 ปี[3]
ผลงาน
แก้- คองคอร์เดียคลับ ก่อน พ.ศ. 2416
- อาคารบางหลังในพระราชวังบางปะอิน โดยเฉพาะพระที่นั่งวโรภาษพิมานและประตูเทวราชครรไล พ.ศ. 2415–2419
- วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร พ.ศ. 2416–2418
- บ้านของพระยาราชานุพันธ์ (สุดใจและทุ้ย บุนนาค) ก่อน พ.ศ. 2418
- บ้านของเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ก่อน พ.ศ. 2418
- เรือนรับรองราชทูตโปรตุเกส พ.ศ. 2418
- วังบูรพาภิรมย์ พ.ศ. 2418–2423
- วังพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พ.ศ. 2418–2425
- วังพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ พ.ศ. 2419–2420
- วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร พ.ศ. 2420 อย่างน้อย
- วังสะพานถ่าน ราว พ.ศ. 2422
- ศาลสถิตย์ยุติธรรม พ.ศ. 2423–2425
- วังท่าพระ พ.ศ. 2423–2426
- อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่สวนสราญรมย์ พ.ศ. 2423
- โรงเรียนสุนันทาลัย พ.ศ. 2423
- โรงพิมพ์ที่สะพานช้างโรงสี พ.ศ. 2424–2425
- บ้านเจ้าหมื่นไววรนาถ พ.ศ. 2424–2425
- วังใหม่ประทุมวัน พ.ศ. 2424–2427
- โรงทหารหน้า พ.ศ. 2425–2427
- โรงทหารม้า พ.ศ. 2426 อย่างน้อย
- หอระฆังวัดคอนเซ็ปชัญ พ.ศ. 2426
- โบสถ์นักบุญยอเซฟ พ.ศ. 2426–2434
- ศุลกสถาน พ.ศ. 2427–2430
- ป้อมพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. 2427–2436
- สุสานนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ พ.ศ. 2428
- อาคารเก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ พ.ศ. 2430–2433
- ตึกวิกตอเรียและตึกเสาวภาคที่ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2431
- ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ พ.ศ. 2431–2433
- คุกมหันตโทษ พ.ศ. 2431–2434
อ้างอิง
แก้- ↑ The Siamese Composer Eugène Cinda Grassi Bangkok 1881- Paris 1941 by Philippe de Lustrac. Like
- ↑ ไกรฤกษ์ นานา. "ความรุ่งเรืองสถาปัตยกรรมฝรั่งในบางกอก สวนทางกับชีวิตลุ่มๆ ดอนๆ ของช่างฝรั่งผู้สร้าง". ศิลปวัฒนธรรม.
- ↑ พิริยา พิทยาวัฒนชัย. "สถาปัตยกรรมของโยอาคิม กราซีในสยาม" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.