โนเซะ

เมืองในอำเภอโทโยโนะ จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น

โนเซะ (ญี่ปุ่น: 能勢町โรมาจิNose-chō; เสียงอ่านภาษาญี่ปุ่น: [nose]) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในอำเภอโทโยโนะ จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น

โนเซะ

能勢町
"โนมะ เคยากิ" ในโนเซะ
"โนมะ เคยากิ" ในโนเซะ
ธงของโนเซะ
ธง
ที่ตั้งของโนเซะในจังหวัดโอซากะ (เน้นสีเหลือง)
ที่ตั้งของโนเซะในจังหวัดโอซากะ (เน้นสีเหลือง)
โนเซะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โนเซะ
โนเซะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 34°58′N 135°25′E / 34.967°N 135.417°E / 34.967; 135.417
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันไซ
จังหวัดโอซากะ
อำเภอโทโยโนะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด98.68 ตร.กม. (38.10 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 ตุลาคม 2016)
 • ทั้งหมด9,971 คน
 • ความหนาแน่น100 คน/ตร.กม. (260 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (JST)
ที่อยู่ศาลาว่าการเมือง28 Shukuno, Nose-chō, Toyono-gun, Osaka-fu
563-0392
เว็บไซต์www.town.nose.osaka.jp

ณ เดือนตุลาคม 2016 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 9,971 คน มีความหนาแน่นของประชากร 100 คนต่อตารางกิโลเมตร (262 คนต่อตารางไมล์) และมีพื้นที่ทั้งหมด 98.68 ตารางกิโลเมตร (38.1 ตารางไมล์)

โนเซะเป็นที่รู้จักจาก "โนมะ เคยากิ" ซึ่งเป็นต้นเคยากิอายุ 1,000 ปี สูง 25 เมตร (82 ฟุต) เส้นรอบวง 11.95 เมตร (39.2 ฟุต)[1]

ประวัติศาสตร์

แก้

ในพื้นที่ของโนเซะมีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุคโจมง (ประมาณ 10,000 ปีก่อนคริสตกาล – ประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล) ชื่อในสมัยก่อนของโนเซะคือ หมู่บ้านคูซากะ ถูกกล่าวถึงในนิฮงโชกิ ซึ่งแต่งเสร็จใน ค.ศ. 720[2]

ใน ค.ศ. 1837 ได้เกิดการก่อการกำเริบครั้งใหญ่โดยชาวนาในโนเซะ ในช่วงภาวะความอดอยากเท็มโป (ค.ศ. 1833–1839) ซึ่งเกิดขึ้นไม่กี่เดือนหลังจากการจลาจลของโอชิโอะ เฮฮาจิโร[3]

ภูมิศาสตร์

แก้

โนเซะถูกล้อมรอบด้วยภูเขาทุกทิศทาง ได้แก่ เขามิยามะ (791 ม.)[4] และเขาเค็มปิ (784 ม.) นอกจากนี้ยังมีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำยามาเบะ แม่น้ำฮิโตกูราโอโรจิ แม่น้ำโนมะ และแม่น้ำทาจิริ ซึ่งอยู่ในแอ่งแม่น้ำอินางาวะ และยังมีแม่น้ำคัตสึระที่ไหลผ่านเมืองด้วย

การขนส่ง

แก้

รถไฟ

แก้

เมืองโนเซะไม่มีสถานีรถไฟ สถานีที่ใกล้ที่สุดคือ สถานียามาชิตะ ในนครคาวานิชิ จังหวัดเฮียวโงะ

ถนน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Osaka Toyono County: Noma Keyaki (in Japanese; google translation)
  2. "Sightseeing Spots | Nose Town Tourism & Local Products". www.town-of-nose.jp. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.[ลิงก์เสีย]
  3. J. Newmark, Yamadaya Daisuke’s 1837 Nose Movement, Early Modern Japan: An Interdisciplinary Journal v. 22 (2014), p. 8-28
  4. "Nose Town Tourism & Local Products". www.town-of-nose.jp. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้