แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ภาพยนตร์ชุด)

แฮร์รี่ พอตเตอร์ (อังกฤษ: Harry Potter) เป็นภาพยนตร์ชุด สร้างจากนวนิยายชื่อเดียวกันโดย เจ. เค. โรว์ลิง ภาพยนตร์ชุดจัดจำหน่ายโดย วอร์เนอร์บราเธอร์ส ประกอบด้วยภาพยนตร์แนวแฟนตาซีทั้งหมดแปดเรื่อง ตั้งแต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (2001) จนถึง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 (2011)[2][3] ภาพยนตร์ชุดแยกที่มีเรื่องราวก่อนหน้าภาพยนตร์ชุดนี้ ประกอบด้วยภาพยนตร์ห้าเรื่อง โดยเริ่มต้นจากภาพยนตร์ สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (2016) เป็นจุดเริ่มต้นของสื่อแฟรนไชส์ร่วม โลกเวทมนตร์[4]

แฮร์รี่ พอตเตอร์
กำกับ
บทภาพยนตร์สตีฟ โคลฟส์ (14, 68)
ไมเคิล โกลเดนเบิร์ก (5)
สร้างจากแฮร์รี่ พอตเตอร์
โดย เจ. เค. โรว์ลิง
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพ
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายวอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเชอส์
วันฉายค.ศ. 2001–2011
ความยาว1,179 นาที[1]
ประเทศสหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้างทั้งหมด (8 เรื่อง)
1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงินทั้งหมด (8 เรื่อง)
7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาพยนตร์ชุดอำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน แสดงนำโดย แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ต กรินต์และเอ็มมา วอตสัน เป็นสามตัวละครเอก: แฮร์รี่ พอตเตอร์, รอน วีสลีย์และเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ ภาพยนตร์ชุดมีผู้กำกับทั้งหมดสี่คน ได้แก่ คริส โคลัมบัส, อัลฟอนโซ กัวรอน, ไมค์ นิวเวลล์และเดวิด เยตส์[5] ไมเคิล โกลเดนเบิร์ก เขียนบทภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (2007) ขณะที่ภาพยนตร์ที่เหลือทั้งหมด เขียนบทภาพยนตร์โดย สตีฟ โคลฟส์ งานสร้างใช้เวลามากกว่าสิบปี โดยมีเนื้อเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ที่ต้องเอาชนะลอร์ดโวลเดอมอร์ ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของเขา[6]

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต เป็นนวนิยายเล่มที่เจ็ดและเล่มสุดท้ายของนวนิยายชุด ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์สองภาค[7] โดย ภาค 1 ฉายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 และ ภาค 2 ฉายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011[8][9]

เครื่องรางยมทูต ภาค 1, ศิลาอาถรรพ์ และ เครื่องรางยมทูต ภาค 2 อยู่ในอันดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดห้าสิบอันดับแรก โดยทำเงินอยู่ในอันดับที่ 48, 47 และ 13 ศิลาอาถรรพ์ และ เครื่องรางยมทูต ภาค 2 ทำเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่สาม โดยทำเงิน 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก โดยไม่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ

ภูมิหลัง แก้

 
เดวิด เฮย์แมน ได้รับลิขสิทธิ์ดัดแปลงหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เป็นภาพยนตร์เป็นภาพยนตร์ในปี 1999

ในช่วงปลายปี 1997 เดวิด เฮย์แมน ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ได้รับหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกของนวนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ เขาเลือกเก็บหนังสือเล่มดังกล่าวไว้บนชั้นและไม่ได้รู้สนใจที่จะหยิบมาอ่าน จนกระทั่งเลขานุการของเฮย์แมนได้หยิบหนังสือเล่มดังกล่าวมาอ่านและแนะนำให้เฮย์แมนได้ลองอ่านดูบ้าง จากนั้น เฮย์แมนซึ่งแต่เดิมเกลียด "ชื่อเรื่องอันแสนเชย" ของหนังสือเล่มนี้ก็ได้ลองหยิบมาอ่านด้วยตัวเอง แล้วก็พบว่าเขารู้สึกประทับใจในงานเขียนของโรว์ลิงเป็นอย่างยิ่ง เฮย์แมนจึงได้เริ่มดำเนินการนำนวนิยายชุดนี้มดัดแปลงเป็นภาพยนตร์นับแต่นั้น

ทัศนคติที่น่าสนใจของเฮย์แมนทำให้โรว์ลิงตัดสินใจขายลิขสิทธิ์ในการดัดแปลงหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกเป็นภาพยนตร์แก่ทางวอร์เนอร์ บราเธอร์สเป็นเงินจำนวน 1 ล้านปอนด์ (2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยเธอต้องการให้ผู้สร้างนั้นซื่อตรงต่อบทประพันธ์ด้วยการคัดเลือกนักแสดงหลักให้เป็นชาวอังกฤษเพื่อให้สอดคล้องลักษณะตัวละครที่เธอได้บรรยายไว้ในหนังสือ และเธอก็ไม่ต้องการให้ทางผู้สร้างผลิตภาพยนตร์ภาคต่อที่ไม่อิงกับบทประพันธ์ของเธอ

แรกเริ่มนั้นทางสตูดิโอได้ตั้งใจจะให้สตีเวน สปีลเบิร์กมากำกับภาพยนตร์ แต่สปีลเบิร์กก็ได้ปฏิเสธไปเนื่องจากเขานั้นไม่ต้องการกำกับภาพยนตร์ที่ทางค่ายคาดหวังผลกำไรเป็นอย่างสูงเช่นนี้ ท้ายที่สุด ทางวอร์เนอร์ก็ได้เลือกให้คริส โคลัมบัสมารับหน้าที่กำกับภาพยนตร์ในภาคแรก และเริ่มทำการคัดเลือกนักแสดงอย่างเข้มข้นจนได้ แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ท กรินท์ และเอ็มม่า วัตสัน ซึ่งรับบทเป็น แฮร์รี่ พอตเตอร์, รอน วีสลีย์ และเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ ตามลำดับ

งานสร้าง แก้

การถ่ายทำของภาพยนตร์ชุดเริ่มต้นที่ลีฟส์เดนสตูดิโอส์, ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์, อังกฤษ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2000 และสิ้นสุดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 โดยมีขั้นตอนหลังการถ่ายทำในภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายจนถึงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2011[6] ลีฟส์เดนสตูดิโอส์ เคยเป็นสถานที่ถ่ายทำหลักของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ และเปิดให้สาธารณชนเข้าชมเป็นสตูดิโอทัวร์ในปี ค.ศ. 2012 (เปลี่ยนชื่อเป็น วอร์เนอร์บราเธอร์สตูดิโอส์, ลีฟส์เดน)[10]

ปี ภาพยนตร์ ผู้กำกับ ผู้เขียนบท ผู้อำนวยการสร้าง ผู้ประพันธ์เพลง นวนิยายโดย เจ. เค. โรว์ลิง
2001 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
ศิลาอาถรรพ์
คริส โคลัมบัส สตีฟ โคลฟส์ เดวิด เฮย์แมน จอห์น วิลเลียมส์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
ศิลาอาถรรพ์
(1997)
2002 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
ห้องแห่งความลับ
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
ห้องแห่งความลับ
(1998)
2004 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
นักโทษแห่งอัซคาบัน
อัลฟอนโซ กัวรอน เดวิด เฮย์แมน, คริส โคลัมบัสและมาร์ก แรดคลิฟฟ์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
นักโทษแห่งอัซคาบัน
(1999)
2005 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
ถ้วยอัคนี
ไมค์ นิวเวลล์ เดวิด เฮย์แมน แพทริก ดอยล์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
กับถ้วยอัคนี
(2000)
2007 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
ภาคีนกฟีนิกซ์
เดวิด เยตส์ ไมเคิล โกลเดนเบิร์ก เดวิด เฮย์แมนและเดวิด แบร์รอน นิโคลัส ฮูเปอร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
ภาคีนกฟีนิกซ์
(2003)
2009 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
เจ้าชายเลือดผสม
สตีฟ โคลฟส์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
เจ้าชายเลือดผสม
(2005)
2010 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
เครื่องรางยมทูต ภาค 1
เดวิด เฮย์แมน, เดวิด แบร์รอนและเจ. เค. โรว์ลิง อเลกซองเดร ดีสพลาต์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
เครื่องรางยมทูต
(2007)
2011 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ
เครื่องรางยมทูต ภาค 2

นักแสดง แก้

กระแสตอบรับ แก้

คำวิจารณ์ แก้

ภาพยนตร์ทุกภาคนั้นล้วนประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของรายได้และคำวิจารณ์ ทำให้ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของวงการฮอลลีวูดร่วมกับภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์, สตาร์วอร์ส, อินเดียนา โจนส์ และไพเรทส์ออฟเดอะแคริบเบียน โดยกระแสตอบรับของผู้ชมที่มีต่อภาพยนตร์ชุดนี้ก็เป็นไปในทางเดียวกันว่า ตัวภาพยนตร์แต่ละภาคมีเนื้อหาที่มืดหม่นและเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น[11][12][13] อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของแฟนหนังสือที่มีต่อภาพยนตร์ชุดนี้กลับแตกต่างกันออกไป ผู้อ่านกลุ่มหนึ่งชื่นชอบการดัดแปลงที่ยึดมั่นและซื่อตรงต่อบทประพันธ์ของภาพยนตร์สองภาคแรกของชุด ในขณะที่ผู้ชมอีกกลุ่มหนึ่งกลับชื่นชอบการเล่าเรื่องด้วยตัวละครที่มีเอกลักษณ์ของภาพยนตร์ภาคหลัง ๆ มากกว่า

นอกจากนี้ แฟนคลับบางส่วนยังรู้สึกว่าการที่ภาพยนตร์เปลี่ยนผู้กำกับบ่อยนั้นทำให้เกิดความไม่ปะติดปะต่อเกิดขึ้น เช่นเดียวกับการตีความบทศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์ของไมเคิล แกมบอนที่มารับบทต่อจากริชาร์ด แฮร์ริสที่เสียชีวิตไป อย่างไรก็ตาม ทางเจ. เค. โรว์ลิงนั้นก็ได้ให้ความเห็นเชิงสนับสนุนแก่ภาพยนตร์ทุกภาค[14][15][16] และกล่าวว่าภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 คือภาพยนตร์ภาคที่เธอชอบมากที่สุด[17]

คำวิจารณ์ของภาพยนตร์แต่ละภาคนั้นมีความแตกต่างกันออกไป โดยหากนับเฉพาะคะแนนวิจารณ์จากเว็บไซต์วิจารณ์ภาพยนตร์หลักจะสามารถแบ่งได้ตามตารางด้านล่างนี้

ภาพยนตร์ Rotten Tomatoes Metacritic CinemaScore
ศิลาอาถรรพ์ 81% (คะแนนเฉลี่ย 7.06/10) (196 คำวิจารณ์)[18] 64 (36 คำวิจารณ์)[19] A[20]
ห้องแห่งความลับ 83% (คะแนนเฉลี่ย 7.21/10) (236 คำวิจารณ์)[21] 63 (35 คำวิจารณ์)[22] A+[20]
นักโทษแห่งอัซคาบัน 90% (คะแนนเฉลี่ย 7.85/10) (258 คำวิจารณ์)[23] 82 (40 คำวิจารณ์)[24] A[20]
ถ้วยอัคนี 88% (คะแนนเฉลี่ย 7.45/10) (254 คำวิจารณ์)[25] 81 (38 คำวิจารณ์)[26] A[20]
ภาคีนกฟีนิกซ์ 78% (คะแนนเฉลี่ย 6.9/10) (255 คำวิจารณ์)[27] 71 (37 คำวิจารณ์)[28] A−[20]
เจ้าชายเลือดผสม 83% (คะแนนเฉลี่ย 7.12/10) (276 คำวิจารณ์)[29] 78 (36 คำวิจารณ์)[30] A−[20]
เครื่องรางยมทูต ภาค 1 77% (คะแนนเฉลี่ย 7.09/10) (283 คำวิจารณ์)[31] 65 (42 คำวิจารณ์)[32] A[20]
เครื่องรางยมทูต ภาค 2 96% (คะแนนเฉลี่ย 8.34/10) (329 คำวิจารณ์)[33] 87 (41 คำวิจารณ์)[34] A[20]

รายได้ แก้

ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ประสบความสำเร็จในรายได้เป็นอย่างมาก โดยสามารถทำรายได้รวมทั้ง 8 ภาคไปได้กว่า 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเคยเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้สูงที่สุดตลอดกาลอีกด้วย (ปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากภาพยนตร์ชุด จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล และ สตาร์ วอร์ส)[35] โดยภาพยนตร์ภาคที่ทำรายได้สูงที่สุดนั้นก็ได้แก่ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ที่กำกับภาพยนตร์โดย เดวิด เยตส์ ซึ่งทำรายได้ไปมากกว่า 1,342 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน ของ อัลฟอนโซ กัวรอน นั้นถือเป็นภาพยนตร์ภาคที่ทำรายได้น้อยที่สุดในชุด โดยสามารถทำรายได้ไปทั้งหมด 796 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[36][37][38][39] หากนับเฉพาะรายได้ที่ภาพยนตร์ชุดนี้สามารถทำได้จากการฉายในระบบ IMAX ภาพยนตร์ 6 ภาคหลังนั้นก็สามารถทำรายได้ทั่วโลกไปได้มากกว่า 216 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[40] โดยภาพยนตร์แต่ละภาคสามารถทำเงินได้ตามตารางที่ระบุไว้ด้านล่างนี้

ภาพยนตร์ วันฉาย ทำเงิน ทุน อ้างอิง
สหราชอาณาจักร สหรัฐและแคนาดา ภูมิภาคอื่น ทั่วโลก
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 (2001-11-16) £66,096,060 $317,871,467 $657,179,821 $975,051,288 $125 ล้าน [41]
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 (2002-11-15) £54,780,731 $262,233,983 $616,991,152 $879,225,135 $100 ล้าน [42]
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน 4 มิถุนายน ค.ศ. 2004 (2004-06-04) £45,615,949 $249,759,843 $547,147,480 $796,907,323 $130 ล้าน [43]
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 (2005-11-18) £48,328,854 $290,201,752 $606,898,042 $897,099,794 $150 ล้าน [44]
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (2007-07-11) £49,136,969 $292,137,260 $647,881,191 $940,018,451 $150 ล้าน [45]
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 (2009-07-15) £50,713,404 $302,089,278 $632,457,290 $934,546,568 $250 ล้าน [46]
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 (2010-11-19) £52,364,075 $296,131,568 $664,300,000 $960,431,568 $125 ล้าน [47]
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 (2011-07-15) £73,094,187 $381,193,157 $960,500,000 $1,342,693,157 $125 ล้าน [48]

รายการอ้างอิง แก้

  1. Kois, Dan (13 July 2011). "The Real Wizard Behind Harry Potter". Slate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2013. สืบค้นเมื่อ 20 December 2013.
  2. "Fantasy – Live Action". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2011. สืบค้นเมื่อ 1 June 2011.
  3. "Harry Potter". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2020. สืบค้นเมื่อ 1 June 2011.
  4. "Fantastic Beasts release shows the magic in brand reinvention". Campaignlive.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2017. สืบค้นเมื่อ 19 October 2017.
  5. Dargis, Manohla; Scott, A. O. (15 July 2007). "Harry Potter and the Four Directors". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2020. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011.
  6. 6.0 6.1 "Harry Potter at Leavesden". WB Studio Tour. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2012.
  7. "Warner Bros. Plans Two-Part Film Adaptation of "Harry Potter and the Deathly Hallows" to Be Directed by David Yates". Business Wire. 13 March 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 September 2012. ...expand the screen adaptation of Harry Potter and the Deathly Hallows and release the film in two parts.
  8. Boucher, Geoff; Eller, Claudia (7 November 2010). "The end nears for 'Harry Potter' on film". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2010. The fantasy epic begins its Hollywood fade-out Nov. 19 with the release of " Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 1" and finishes next summer with the eighth film, "Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2."
  9. Schuker, Lauren A. E. (22 November 2010). "'Potter' Charms Aging Audience". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2015. สืบค้นเมื่อ 3 January 2010. The seventh instalment in the eight-film franchise, "Harry Potter and the Deathly Hallows: Part I" took in a franchise record of $125.1 million at domestic theaters this weekend according to Warner Bros., the Time Warner Inc.-owned movie studio behind the films.
  10. "Warner Bros. Studio Tour London - The Making of Harry Potter". www.wbstudiotour.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2012. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
  11. "Harry Potter: Darker, Richer and All Grown Up". Time Magazine. 15 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-10. สืบค้นเมื่อ 9 September 2012.
  12. "Review: "Harry Potter" goes out with magical, and dark, bang". Reuters. 6 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-02. สืบค้นเมื่อ 9 September 2012.
  13. "Isn't It About Time You Gave The Chris Columbus Harry Potter Films Another Chance?". SFX UK. 3 December 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2013. สืบค้นเมื่อ 9 September 2012.
  14. "Potter Power!". Time For Kids. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2007. สืบค้นเมื่อ 31 May 2007.
  15. Puig, Claudia (27 May 2004). "New Potter movie sneaks in spoilers for upcoming books". USA Today. สืบค้นเมื่อ 31 May 2007.
  16. "JK "loves" Goblet Of Fire movie". CBBC. 7 November 2005. สืบค้นเมื่อ 31 May 2007.
  17. Rowling, J. K. "How did you feel about the POA filmmakers leaving the Marauder's Map's background out of the story? (A Mugglenet/Lexicon question)". J. K. Rowling Official Site. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2011. สืบค้นเมื่อ 8 October 2007.
  18. "Harry Potter and the Sorcerer's Stone (2001)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  19. "Harry Potter and the Sorcerer's Stone (2001)". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 20.5 20.6 20.7 "Cinemascore". CinemaScore. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  21. "Harry Potter and the Chamber of Secrets (2002)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
  22. "Harry Potter and the Chamber of Secrets (2002)". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-11. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  23. "Harry Potter and the Prisoner of Azkaban (2004)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
  24. "Harry Potter and the Prisoner of Azkaban (2004)". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  25. "Harry Potter and the Goblet of Fire (2005)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
  26. "Harry Potter and the Goblet of Fire (2005)". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  27. "Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
  28. "Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007)". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  29. "Harry Potter and the Half-Blood Prince (2009)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  30. "Harry Potter and the Half-Blood Prince (2009)". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  31. "Harry Potter and the Deathly Hallows - Part 1 (2010)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
  32. "Harry Potter and the Deathly Hallows: Part I (2010)". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  33. "Harry Potter and the Deathly Hallows - Part 2 (2011)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
  34. "Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 2 (2011)". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  35. "Harry Potter becomes highest-grossing film franchise". The Guardian. UK. 11 November 2007. สืบค้นเมื่อ 17 November 2007.
  36. "Harry-Potter-Deathly-Hallows-–-Part-2" ""Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2" Crosses $1 Billion Threshold" (Press release). Warner Bros. Pictures. 31 July 2011. สืบค้นเมื่อ 31 July 2011.
  37. "All Time Worldwide Box Office Grosses". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 29 July 2007.
  38. "Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 1 Conjures International Box Office Magic, Becoming Top Earner of Entire Film Series" (Press release). Warner Bros. Pictures. 9 March 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  39. "Box Office Mojo". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  40. Etan Vlessing (October 3, 2016). "'Harry Potter' Movies Returning to Imax Theaters for One Week". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ October 3, 2016.
  41. "Harry Potter and the Sorcerer's Stone (2001)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2009. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  42. "Harry Potter and the Chamber of Secrets (2002)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2009. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  43. "Harry Potter and the Prisoner of Azkaban (2004)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2009. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  44. "Harry Potter and the Goblet of Fire (2005)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2009. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  45. "Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2009. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  46. "Harry Potter and the Half-Blood Prince (2009)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2009. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  47. "Harry Potter and the Deathly Hallows Part 1 (2010)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2017. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  48. "Harry Potter and the Deathly Hallows Part 2 (2011)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2017. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้