แอ็นสท์ คาร์ล อับเบอ (เยอรมัน: Ernst Karl Abbe; 23 มกราคม 1840 – 14 มกราคม 1905) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ทั้งยังเป็นผู้ประกอบการและนักปฏิรูปสังคมด้วย

แอ็นสท์ คาร์ล อับเบอ
Ernst Karl Abbe
เกิด23 มกราคม ค.ศ. 1840(1840-01-23)
ซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค ไอเซอนัค
เสียชีวิต14 มกราคม ค.ศ. 1905(1905-01-14) (64 ปี)
เยนา
สัญชาติธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน
มหาวิทยาลัยเยนา
มีชื่อเสียงจากเลขอับเบอ
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยเยนา
คาร์ลไซส์ อาเก
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกวิลเฮ็ล์ม เอดูอาร์ท เวเบอร์
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอกไฮน์ริช ฟรีดริช เวเบอร์
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆก็อทโลพ เฟรเกอ

เขาได้ร่วมกับอ็อทโท ช็อท และคาร์ล ไซส์ พัฒนาอุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์จำนวนมาก เขายังเป็นหุ้นส่วนในบริษัทคาร์ลไซส์ อาเก ซึ่งเป็นผู้ผลิตระบบทางแสงขั้นสูงของเยอรมนี เช่น กล้องจุลทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์ ท้องฟ้าจำลอง

ชีวประวัติ แก้

อับเบอเกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม 1840 ในเมืองไอเซอนัค ในรัฐซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค[1] พ่อของเขาชื่อ เกออร์ค อาดัม อับเบอ (Georg Adam Abbe) เป็นหัวหน้าคนงานในโรงงานปั่นด้าย และแม่ของเขาชื่อ เอลีซาเบ็ท คริสทีนา บาร์ชเฟ็ลท์ (Elisabeth Christina Barchfeldt) ไม่ใช่ครอบครัวที่ร่ำรวย[2] เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมโดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทของพ่อ และจบการศึกษาในปี 1857 ด้วยผลการเรียนยอดเยี่ยมจากโรงเรียนในไอเซอนัค[3]

พ่อของอับเบอตัดสินใจให้เขาไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแม้ว่าจะประสบปัญหาทางการเงินก็ตาม[1] อับเบอได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเยนาตั้งแต่ปี 1857 ถึง 1859 และมหาวิทยาลัยเกิททิงเงินตั้งแต่ปี 1859 ถึง 1861 ในขณะที่เรียนมหาวิทยาลัย เขาทำงานเป็นครูสอนพิเศษเพื่อหาเงิน นอกจากนี้บริษัทของพ่อเขายังคงสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเรียนของเขา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 1861 เขาได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน[3] ในระหว่างการศึกษาของเขา เขาได้รับอิทธิพลจากแบร์นฮาร์ท รีมัน และวิลเฮ็ล์ม เอดูอาร์ท เวเบอร์ แต่เวเบอร์ตกงานเนื่องจากเหตุการณ์ศาสตราจารย์เกิททิงเงิน[4]

หลังจากนั้นอับเบอจึงได้มาทำงานที่หอดูดาวเกิททิงเงินและในฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์เป็นเวลาสั้น[4] เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1863 เขามีคุณสมบัติเป็นวิทยากรที่มหาวิทยาลัยเยนา และในปี 1870 ได้เป็นรองศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ทดลอง กลศาสตร์ และคณิตศาสตร์[1][5] ในปี 1879 เขาได้เป็นศาสตราจารย์เต็มตัว[2] ในปี 1878 เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยหอดูดาวเยนา[5] ในปี 1889 เขาได้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ไบเอิร์น และเขายังเป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์ซัคเซิน

ในปี 1891 เขาเกษียณจากการสอนที่มหาวิทยาลัยเยนา และเสียชีวิตในเยนาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 1905[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Blasius 1953
  2. 2.0 2.1 Debus et al. 1968
  3. 3.0 3.1 Günther 1970
  4. 4.0 4.1 Günther 1970
  5. 5.0 5.1 Hoiberg 2010