อานแห่งเบรอตาญ

(เปลี่ยนทางจาก แอนน์แห่งบริตานี)

อานแห่งเบรอตาญ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Anne de Bretagne; เบรอตาญ: Anna Vreizh; 25 มกราคม ค.ศ. 1477 - 9 มกราคม ค.ศ. 1514[1]) ทรงเป็นดัชเชสผู้ปกครองแห่งเบรอตาญ และพระอัครมเหสีในพระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเยอรมนีจนการเสกสมรสเป็นโมฆะ เมื่อค.ศ. 1492 ต่อมาทรงเป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าชาร์ลที่ 8 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ทรงเป็นสตรีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ที่ได้ดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ถึง 2 ครั้ง อีกทั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งนาโปลีและดัชเชสแห่งมิลาน

อานแห่งเบรอตาญ
ดัชเชสแห่งเบรอตาญ
ครองราชย์9 กันยายน ค.ศ. 1488 –
9 มกราคม ค.ศ. 1514
พืธีขึ้น10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1489
ก่อนหน้าฟร็องซัวที่ 2
ถัดไปโกลด
สมเด็จพระราชินีแห่งเยอรมนี
ระหว่าง19 ธันวาคม ค.ศ. 1490 –
15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1492
สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
ครั้งที่ 16 ธันวาคม ค.ศ 1491 –
7 เมษายน ค.ศ. 1498
ราชาภิเษก8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1492
ครั้งที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1499 –
9 มกราคม ค.ศ. 1514
ราชาภิเษก18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504
สมเด็จพระราชินีแห่งนาโปลี
ระหว่าง2 สิงหาคม ค.ศ. 1501 –
31 มกราคม ค.ศ. 1504
พระราชสมภพ25 มกราคม ค.ศ. 1477
น็องต์ ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
สวรรคต9 มกราคม ค.ศ. 1514
บลัว ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
คู่อภิเษกพระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเยอรมนี (สมรส 1490; โมฆะ 1492)
พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศส
(สมรส 1491; เสียชีวิต 1498)

พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส
(สมรส 1499)
พระราชบุตรชาร์ล ออร์ลังโด โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
โกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
เรอนีแห่งฝรั่งเศส
ราชวงศ์วาลัว
พระราชบิดาฟร็องซัวที่ 2 ดยุกแห่งเบรอตาญ
พระราชมารดามาร์เกอริตแห่งฟัวซ์ ดัชเชสแห่งเบรอตาญ

อานประสูติเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1477 ที่น็องต์ในฝรั่งเศสเป็นพระธิดาของฟร็องซัวที่ 2 ดยุกแห่งเบรอตาญ และมาร์เกอริตแห่งฟัวซ์ ดัชเชสแห่งเบรอตาญ (Margaret of Foix) เมื่อพระบิดาเสียชีวิตอานก็เป็นดัชเชสแห่งเบรอตาญอย่างเต็มตัว และเป็นเคานเทสแห่งน็องต์, มงท์ฟอร์ต และริชมงท์ และไวท์เคานเทสแห่งลีมอชส์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นสตรีผู้มีอำนาจและฐานะมั่งคั่งที่สุดในยุโรป

ชีวิตเบื้องต้น

แก้

อานทรงเป็นธิดาคนเดียวของดยุกฟรองซัวส์แห่งเบรอตาญและมาร์กาเร็ตที่รอดมาจโต เมื่อยังทรงพระเยาว์พระองค์ทรงได้รับเลี้ยงดูเพื่อเตรียมตัวเป็นทายาทของดัชชีแห่งเบรอตาญ ทรงได้รับการศึกษาอย่างดีภายใต้พระอาจารย์ ฟร็องซัว เดอ ดินอง (Françoise de Dinan), เลดีแห่งลาวาลและชาโตบริอองท์ (Lady of Laval and Chateaubriant) และกวีฌอง เมชิโนท์ (Jean Meschinot)

เมื่อมาถึงสงครามสืบครองเบรอตาญ (Breton War of Succession) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 เบรอตาญก็ใช้กฎบัตรซาลลิคแปลงที่อนุญาตให้สตรีสืบอำนาจของอาณาจักรได้ถ้าผู้มีสิทธิฝ่ายชายสิ้นชีวิตกันไปหมด เมื่ออานเสด็จพระราชสมภพพระราชบิดาก็เป็นเพียงทายาทชายคนเดียวของเบรอตาญที่เหลืออยู่ของตระกูลเดรอซ์ (House of Dreux) สงครามสืบอาณาจักรยุติลงด้วยการตกลงว่าในเมื่อไม่มีทายาทชาย ทายาทของ ฌานแห่งป็องตีแยฟร์ ก็เป็นผู้สืบเชื้อสายต่อไป แต่ร้อยปีหลังจากนั้นข้อตกลงนี้ก็ถูกลืมกันไป ฉะนั้นเมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1486 เมื่อพระราชบิดาของอานพยายามให้อานเป็นที่ยอมรับว่าเป็นทายาท แต่การแต่งงานของอานกลายเป็นปัญหาทางการเมือง ดยุกฟร็องซัวผู้ไม่ต้องการให้เบรอตาญกลายไปเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสก็พยายามหาคู่ที่สามารถต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสได้

ดินแดนเบรอตาญกลายเป็นที่ต้องการของหลายฝ่ายที่ทำให้อานมีผู้ประสงค์จะแต่งงานด้วยมากมาย อานได้รับการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการไว้กับเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1483 แต่เจ้าชายหายตัวไปอย่างไม่มีร่องรอยไม่นานหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคตและสันนิษฐานกันว่าสิ้นพระชนม์ ผู้อื่นที่ต้องการจะเสกสมรสกับอานก็ได้แก่พระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเยอรมนี, อาลาแอ็งแห่งอัลแบร์ (Alain d'Albret), ฌองแห่งชาล็อง (Jean de Châlons) (เจ้าชายแห่งออเรนจ์) และแม้แต่หลุยส์ ดยุกแห่งออร์เลอ็องผู้ขณะนั้นมีภรรยาแล้ว

ในปี ค.ศ. 1488 กองทัพของดยุกฟร็องซัวได้รับความพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสในยุทธการแซงต์โอแบงดูคอร์มิเยร์ (Battle of Saint-Aubin-du-Cormier) ซึ่งเป็นการยุติสงคราม “Guerre folle” ในสนธิสัญญาเซเบล (Treaty of Sablé) ของการยุติสงครามดยุกฟร็องซัวถูกบังคับให้ตกลงว่าการเสกสมรสของธิดาต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ดยุกฟรองซัวส์เสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1488 หลังจากตกจากหลังม้า อานจึงกลายเป็นดัชเชส เบรอตาญเข้าสู่วิกฤติกาลใหม่ที่นำไปสู่สงครามฝรั่งเศส-เบรอตาญ

ดัชเชสแห่งเบรอตาญ

แก้
 
เม่นแห่งเบรอตาญหน้าประตูวังบลัว (Château de Blois)

สิ่งแรกที่สำคัญที่จำเป็นต้องทำสำหรับอานคือการหาสามีที่ถ้าดีก็ควรจะเป็นผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อฝรั่งเศสและมีอำนาจพอที่จะรักษาความเป็นอิสระของเบรอตาญได้ด้วย พระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 1 ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุด การเสกสมรสโดยฉันทะของพระองค์กับพระเจ้ามัคซีมีลีอานเกิดขึ้นที่แรนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1490 ซึ่งทรงได้รับพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระราชินีแห่งเยอรมนี” แต่เป็นการเสกสมรสที่นำมาซึ่งปัญหาร้ายแรง ฝรั่งเศสนอกจากจะถือว่าเป็นการท้าทายโดยตรงและก็ยังเป็นการละเมิดสนธิสัญญาเซเบลที่พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมิได้รับการทูลปรึกษาและมิได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตในการจัดการเสกสมรส นอกจากนั้นก็ยังทำให้เบรอตาญตกไปเป็นของฝ่ายศัตรูของฝรั่งเศสอีกดัวย การเสกสมรสเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะด้วย เพราะในขณะนั้นราชวงศ์ฮาพส์บวร์คมัวยุ่งอยู่กับปัญหาในฮังการีจนไม่อาจหันมาสนใจกับเบรอตาญได้ และฝ่ายกัสติยาก็มัวแต่ยุ่งอยู่กับการต่อสู้ในกรานาดา แม้ว่าทั้งกัสติยาและอังกฤษจะส่งกองทหารมาหนุนกองทัพของเบรอตาญบ้าง แต่ก็ไม่มีฝ่ายใดที่ต้องการจะต่อสูในสงครามอย่างออกหน้าออกตากับฝรั่งเศส ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1491 นายพลหลุยส์ที่ 2 แห่งเทรมวลล์ และพระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศสก็นำทัพมาล้อมเมืองแรน

เมื่อพระเจ้ามัคซีมีลีอานมิได้ส่งกำลังมาช่วยแรนก็เสียเมือง อานจึงต้องมาหมั้นกับพระเจ้าชาร์ลที่ 8 ทันที่ที่แรนและเดินทางพร้อมกับกองทหารอารักขาของพระองค์ไปยังวังลองเชส์ (Château de Langeais) เพื่อไปทำการเสกสมรส ทางออสเตรียก็ได้แต่ประท้วงว่าเป็นการแต่งงานที่ไม่ถูกต้องเพราะเจ้าสาวมิได้เต็มใจ และเจ้าสาวแต่งงานโดยถูกต้องตามกฎหมายกับพระเจ้ามัคซีมีลีอานแล้ว และพระเจ้าชาร์ลเองก็ทรงหมั้นกับมาร์กาเรเทอแห่งออสเตรียพระธิดาของพระเจ้ามัคซีมีลีอานเองแล้ว แต่อานก็ต้องเสกสมรสกับพระเจ้าชาร์ลที่ 8 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1491

ต่อมาการแต่งงานก็ได้รับการอนุมัติว่าถูกต้องโดยสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 8 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1492 สัญญาการเสกสมรสระบุว่าฝ่ายใดที่เสียชีวิตก่อนผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะได้รับดินแดนเบรอตาญ แต่ระบุต่อไปว่าถ้าพระเจ้าชาร์ลเสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท อานต้องแต่งงานกับผู้ครองราชย์ต่อจากพระองค์ซึ่งเป็นโอกาสที่สองที่ฝรั่งเศสสามารถผนวกดินแดนเบรอตาญได้อย่างถาวร

สมเด็จพระราชินีวิธวาและเสกสมรสใหม่

แก้
 
ราชสำนักของพระราชินีอาน เป็นภาพของสตรีร้องไห้เมื่อสามีต้องเดินทางไปสงครามในอิตาลี--หนังสือ "Epistres Envoyées au Roi" (คริสต์ศตวรรษที่ 16)

เมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 8 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1498 อานมีพระชนมายุได้ 21 พรรษาและยังไม่มีพระโอรสธิดา ตามการระบุในสัญญาพระองค์ต้องทรงเสกสมรสกับพระมหากษัตริย์องค์ใหม่พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แต่ขณะนั้นพระองค์มีพระอัครมเหสีแล้ว--ฌานน์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส พระราชธิดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 และพระขนิษฐาของพระเจ้าชาร์ลที่ 8 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1498 อานแห่งเบรอตาญก็ทรงตกลงเสกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ถ้าพระองค์ทรงสามารถหาทางประกาศให้การแต่งงานกับฌานน์เป็นโมฆะได้ภายในหนึ่งปี ถ้าอานทรงพนันว่าพระเจ้าหลุยส์ไม่ทรงสามารถทำได้พระองค์ก็ทรงแพ้ การแต่งงานครั้งแรกของพระเจ้าหลุยส์ได้รับการประกาศให้เป็นโมฆะโดยพระสันตะปาปาก่อนจะสิ้นปีนั้น

ในระหว่างนั้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1498 อานเดินทางกลับไปปกครองเบรอตาญ ทรงมอบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีคืนให้กับฟิลิปป์ เดอ มงท์ทอบัง (Philippe de Montauban) และทรงระบุให้เจ้าชายแห่งออเรนจ์เป็นให้มียศทางทหารเป็นพลโทแห่งเบรอตาญ และทรงสั่งให้ตีเหรียญกษาปณ์ที่ประทับตราพระนามของพระองค์เอง และเสด็จประพาสบริเวณต่างๆ ในอาณาจักร พระราชกรณียกิจต่างๆ ทำให้ทรงเป็นที่นิยมกันในบรรดาไพร่ฟ้าประชาชนในเบรอตาญ

อานเสกสมรสครั้งที่สามเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1499 ทรงฉลองพระองค์ขาวซึ่งเป็นการแนะนำประเพณีการแต่งตัวด้วยชุดขาวต่อมาของผู้เป็นเจ้าสาว ข้อตกลงในการเสกสมรสครั้งนี้แตกต่างจากครั้งที่สองเป็นอย่างมาก ครั้งนี้พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุขึ้น เป็นพระราชินีวิธวา และทรงมีความต้องการที่ให้ได้รับการยอมรับว่าทรงเป็นดัชเชสที่มีอาณาจักรปกครองเป็นของพระองค์เอง แม้ว่าพระราชสวามีพระองค์ใหม่จะทรงมีอำนาจปกครองเบรอตาญ แต่ทรงยอมรับตำแหน่งดยุกพระสวามี (duke consort) และทรงยอมรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของพระชายาในฐานะ “ดัชเชสแห่งเบรอตาญ” และทรงออกคำสั่งต่างในนามของอาน

ในฐานะดัชเชสอานทรงเป็นผู้พยายามรักษาความเป็นอิสระของอาณาจักรเบรอตาญอย่างเหนียวแน่น อานทรงจัดการสมรสของพระธิดาโคลดกับชาร์ลแห่งลักเซ็มเบิร์ก ในปี 1501 เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์อันมั่นคงระหว่างฝรั่งเศส-สเปน และการพยายามให้ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะในสงครามกับอิตาลี พระเจ้าหลุยส์มีพระราชประสงค์จะหย่าร้างกับอานเมื่อทรงเห็นว่าอานไม่มีท่าทีที่จะมีรัชทายาทให้พระองค์ พระองค์จึงทรงจัดการหมั้นหมายโคลดกับรัชทายาทของราชบัลลังก์ฝรั่งเศส แต่อานไม่ทรงยอมตกลงเพราะทรงต้องการรักษาความเป็นอิสระของเบรอตาญจากฝรั่งเศสและยังคงยืนยันที่จะจัดงานแต่งงานของโคลดกับชาร์ลแห่งลักเซ็มเบิร์ก แต่โคลดก็แต่งงานกับฟรองซัวส์ปีหนึ่งหลังจากอานสิ้นพระชนม์

สวรรคต

แก้
 
ผอบพระหทัยของอานแห่งเบรอตาญ

อานเสด็จสวรรคตกลางฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1513-ค.ศ. 1514 เมื่อวันที่ 9 มกราคม ด้วยพระโรคนิ่วที่พระราชวังบลัว พระบรมศพถูกบรรจุที่มหาวิหารแซงต์เดอนีส์ พระราชพิธีศพของพระองค์เป็นพิธีที่ยาวนานเป็นพิเศษถึง 40 วันและมีอิทธิพลต่อพระราชพิธีศพต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรควีเอ็มของอานเขียนโดยโยฮันเนส พริโอริส (Johannes Prioris) คีตกวีคนสำคัญ[2]. ตามพระราชเสาวนีย์ในพระราชพินัยกรรมอานบ่งว่าให้ใส่พระหทัยของพระองค์ในผอบทองเคลือบ (enamel gold) ที่ตั้งลอยและนำไปไว้ที่น็องต์ (Nantes) ในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1514 ภาพในห้องเก็บของนักบวชคาร์เมไลท์ในที่บรรจุศพที่สร้างสำหรับพระบิดามารดาของพระองค์ ต่อมาผอบทองนี้ก็ถูกย้ายไปไว้ที่มหาวิหารแซงต์ปิแยร์ พระหทัยของอานอยู่ในผอบรูปไข่เปิดเป็นสองด้านที่ทำด้วยแผ่นทองที่ประดับด้วยลวดลายและมีบานพับตกแต่ง ด้านบนเป็นมงกุฎลิลลีและดอกจิก และมีคำจารึกว่า “En ce petit vaisseau De fin or pur et munde Repose ung plus grand cueur Que oncque dame eut au munde Anne fut le nom delle En France deux fois royne Duchesse des Bretons Royale et Souveraine.” ผอบสร้างโดยช่างทองที่ไม่ทราบนามของราชสำนักที่บลัวที่อาจจะวาดโดยฌอง แปเรอาล (Jean Perréal) ในปี ค.ศ. 1792 National Convention ก็สั่งให้นำผอบของพระองค์ออกจากที่บรรจุ, เอาสิ่งของที่บรรจุอยู่ภายในทิ้ง และนำผอบไปรักษาไว้เป็นส่วนหนึ่งของสมบัติมีค่าของวัดและส่งไปยังน็องต์เพื่อนำไปหลอม แต่แทนที่จะถูกส่งไปผอบก็ถูนำไปเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติและถูกนำกลับไปน็องต์ในปี ค.ศ. 1819 ไปเก็บในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ และในที่สุดก็ได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โดเบร (Dobrée Museum) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1896

นอกจากนั้นพินัยกรรมของอานยังระบุให้เรอนีพระราชธิดาองค์รองเป็นทายาทแห่งอาณาจักรเบรอตาญต่อจากพระองค์ แต่พระสวามีไม่ทรงทำตามและระบุให้โกลดพระธิดาองค์โตให้เป็นดัชเชสแห่งเบรอตาญแทนที่ และจับโกลดแต่งงานกับฟร็องซัว

สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม

แก้
 
พระราชินีอานโดยประติมากรฌอง โบแชร์ (Jean Boucher) ค.ศ. 1915

เมื่อพระราชินีอานยังทรงพระชนม์อยู่ทางราชสำนักของพระเจ้าชาร์ลที่ 8 ก็สร้างภาพพจน์ของพระองค์ว่าเป็นพระราชินีที่ทรงมีคุณธรรมอันดีเลิศผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์ของการสมานความสัมพันธ์อันราบรื่นระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสและดัชชีแห่งเบรอตาญ แต่นักประวัติศาสตร์อีกสองสามร้อยปีต่อมามีความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชินีอานที่แตกต่างออกไปจากที่ทราบกัน และบรรยายพระลักษณะทางร่างกายและจิตใจที่ไม่สนับสนุนหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ในปี ค.ศ. 1991 ในโอกาสครบรอบห้าร้อยปีของการเสกสมรสระหว่างพระราชินีอานและพระเจ้าชาร์ลที่ 8 ก็มีการฉลองกันที่ลองเจส์ แต่ในแรนที่เป็นเมืองที่ถูกล้อมและต้องเสียเมืองและพระราชินีอานให้แก่ฝรั่งเศสก็แทบจะไม่มีผู้ใดกล่าวถึงโอกาสนั้น

พระราชินีอานแห่งเบรอตาญทรงเป็นผู้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเบรอตาญที่สุดคนหนึ่งจะเป็นรองก็แต่เพียงนักบุญอิโวแห่งแคร์มาร์แต็ง (Ivo of Kermartin) เท่านั้น ที่จะเห็นได้จากการตั้งชื่อสถานที่ค้าขาย, โรงแรม และถนนตามพระนามของพระองค์ในเบรอตาญ

อ้างอิง

แก้
  1. Genealogics - Leo van de Pas, Anne Duchesse de Bretagne[1]
  2. For a historical and musicological perspective on Prioris's Requiem, read Schreurs, Eugeen (2007). "Requiem voor Anna van Bretagne, koningin van Frankrijk". La polyphonie Française. Festival van Vlaanderen 2007. pp. 185–187. {{cite conference}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help) Recording: Johannes Prioris, Missa pro Defunctis, Capilla Flamenca, 2003 (Eufoda 1349).

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อานแห่งเบรอตาญ