แอดการ์ เดอกา
แอดการ์ เดอกา (ฝรั่งเศส: Edgar Degas, 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 - 27 กันยายน พ.ศ. 2460) จิตรกร ประติมากร ช่างภาพพิมพ์ และช่างวาด สมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 เดอกาเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนก่อตั้งศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์แต่เดอกามาหันหลังให้และชอบให้เรียกตนเองว่าศิลปินสัจนิยม (Realist) มากกว่า นอกจากนั้นเดอกายังเป็นช่างเขียนแบบ (Draughtsman) ที่มีฝีมือดี ภาพที่เดอกาชอบวาดคือภาพนักเต้นบัลเลต์ ซึ่งเป็นมากกว่าครึ่งของงานเขียนทั้งหมดที่เดอกาทำ การวาดทำให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของเดอกาในการวาดความเคลื่อนไหว เช่นเดียวกับภาพที่วาดเกี่ยวกับสนามม้าและผู้หญิงเปลือย ภาพเหมือนของเดอกาถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่อยู่ในบรรดาภาพเขียนมีลักษณะดีที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะ
เมี่อเริ่มอาชีพเดอกาต้องการจะเป็นจิตรกรประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาที่เขียนภาพจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์คลาสสิก ประวัติศาสตร์คริสต์ศาสนา ตำนานเทพเจ้า และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เพิ่งเกิดขึ้น เดอกาก็ได้เตรียมตัวโดยการศึกษามาทางนี้โดยเฉพาะ เมื่ออายุได้ราวสามสิบปีกว่า ๆ เดอกาก็เปลี่ยนใจแต่ก็ได้นำความรู้ทางจิตรกรรมประวัติศาสตร์มาผสมกับการวาดภาพร่วมสมัย ฉะนั้นเดอกาจึงถือว่าเป็นจิตรกรคลาสสิกที่วาดภาพสมัยใหม่
เบื้องต้น
แก้อีแลร์-แฌร์แม็ง-แอดการ์ เดอกา (Hilaire-Germain-Edgar Degas) เกิดที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นลูกชายคนโตในบรรดาพี่น้องห้าคนของเซแล็สติน มูซ็อง เดอ กาและโอกุสแต็ง เดอ กา นายธนาคาร ครอบครัวเดอกามีฐานะร่ำรวยพอประมาณ เมื่อเดอกาอายุได้ 11 ขวบ (เดอกาเปลื่ยนการสะกดนามสกุลตามที่ครอบครัวทำโดยเปลื่ยนการสะกด “เดอ กา” (De Gas) มาเป็น “เดอกา” (Degas) ตั้งแต่ยังหนุ่มเพื่อเป็นการเลื่ยงการเสรแสร้งที่แสดงว่ามาจากครอบครัวที่มีเชื้อสาย)[1] เดอกาเริ่มการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมหลุยส์-เลอ-กร็อง จนจบปริญญาตรี (baccalauréat) ทางวรรณคดีเมื่อ ค.ศ. 1853
เดอกาเริ่มวาดภาพอย่างจริงจังตั้งแต่อายุไม่มาก พออายุได้ 18 ปีเดอกาก็จัดห้องหนึ่งในบ้านให้เป็นห้องวาดภาพและเริ่มงานคัดลอกภาพในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ที่ปารีส พ่อของเดอกาอยากให้ลูกชายเรียนทางกฎหมาย เดอกาจึงสมัครเข้าคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปารีสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1853 แต่ก็มิได้ใส่ใจในการศึกษาเท่าใดนัก ในปี ค.ศ. 1855 เดอกาพบฌอง เอากุสต์ โดมินิค อิงเกรส์ ผู้ที่เดอกานับถือมากแนะนำเดอกาว่า “วาดเส้น, วาดเข้าไป” (draw lines, young man, many lines) ในเดือนเมษายนของปีเดียวกันเดอกาได้รับเข้าสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งปารีส (École des Beaux-Arts) เรียนการวาดเส้นกับลุยส์ ลาโมธโดยวาดตามอิทธิพลของอิงเกรส์[2] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1856 เดอกาเดินทางไปอิตาลีและไปอยู่ที่นั่นสามปี เมื่ออยู่ที่อิตาลีเดอกาก็ลอกภาพของมีเกลันเจโล ราฟาเอล และ ทิเชียน และของศิลปินเรอเนซองส์คนอื่น ๆ และมักจะเลือกส่วนศีรษะจากฉากแท่นบูชาต่าง ๆ และวาดหรือเขียนแบบภาพเหมือน[3] ระหว่างช่วงเวลานี้เดอกาศึกษาและกลายเป็นจิตรกรผู้ชำนาญในทางเท็คนิคของการเขียนภาพแบบศิลปะสถาบันและศิลปะคลาสสิก[4]
อาชีพทางศิลปะ
แก้หลังจากกลับจากอิตาลีในปี ค.ศ. 1859 เดอกาก็ศึกษาต่อโดยการลอกภาพจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และยังคงรักการลอกภาพจนกระทั่งอายุกลางคน[5] เมื่อต้นคริสต์ทศศตวรรษ 1860 ขณะที่ไปเยื่ยมพอล วาลพิงชองเพื่อนที่รู้จักกันมาแต่เด็กที่นอร์ม็องดี เดอกาก็เริ่มวาดรูปม้าเป็นครั้งแรก เดอกาแสดงภาพเขียนที่นิทรรศการศิลปะที่ปารีส (Salon de Paris) เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1865 เมื่อคณะกรรมการยอมรับภาพ “ฉากสงครามในยุคกลาง” (Scene of War in the Middle Ages) ซึ่งเป็นที่ได้รับความสนใจบ้างเพียงเล็กน้อย[6] แม้ว่าเดอกาจะแสดงภาพเขียนทุกปีในอีกห้าปีต่อมาที่นิทรรศการแต่ก็ไม่ได้ส่งภาพเขียนแบบประวัติศาสตร์อีกหลังจากภาพแรก ภาพ “การแข่งม้าวิ่งข้ามสิ่งกีดขวาง—จ็อกกีตกม้า” (Steeplechase—The Fallen Jockey) ที่แสดงเมื่อปี ค.ศ. 1866 แสดงให้เห็นว่าเดอกาเริ่มหันจากการเขียนภาพประวัติศาสตร์มาเขียนภาพร่วมสมัย ความเปลื่ยนแปลงนี้มีอิทธิพลส่วนใหญ่มาจากตัวอย่างของเอดวด มาเนท์ผู้ที่เดอกาพบเมื่อปี ค.ศ. 1864 ขณะที่ลอกภาพอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ การสะกดแบบที่เอ็ดการ์สะกดเป็นการสะกดแบบดั้งเดิมของสกุลเดอกา ก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็น “เดอ กา” จีน ซัทเธอร์แลนด์ บอกส์ อธิบายว่า “เดอ กา” เป็นการสะกดเพื่อแสดงว่ามาจากครอบครัวมีสกุล โดยพ่อของเดอกาเป็นผู้เปลี่ยนเมื่อย้ายมาปารีสเพื่อมาก่อตั้งสาขาธนาคารของครอบครัวที่มาจากเนเปิลส์ที่ฝรั่งเศส เรเนพี่ชายของเดอกายังคงใช้การสะกดแบบเจ้านาย แต่เดอกาเปลื่ยนการสะกดตั้งแต่ราวอายุได้ 30 ปี. โบแมนน์ และอื่น ๆ, ค.ศ. 1994 หน้า 98
- ↑ แคนาเดย์, ค.ศ. 1969, หน้า 930-931
- ↑ โบแมนน์ และอื่น ๆ, ค.ศ. 1994 หน้า 154
- ↑ รอสคิลล์, ค.ศ. 1983, หน้า 33
- ↑ โบแมนน์ และอื่น ๆ, ค.ศ. 1994 หน้า 151
- ↑ ทอมสัน, ค.ศ. 1988, หน้า 48
- ↑ กอร์ดอนและฟอร์จ, ค.ศ. 1988, หน้า 23
ข้อมูลเพิ่มเติม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เดอกา ที่ WebMuseum
- เดอกา ที่ MuseumSyndicate เก็บถาวร 2008-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สมุดภาพ
แก้-
“การแข่งม้าที่ลงช็อง” (Horseracing in Longchamps) ค.ศ. 1873-ค.ศ. 1875, พิพิธภัณฑ์ศิลปะ, บอสตัน, สหรัฐอเมริกา
-
“ภาพเหมือนของแมรี คาซาทนั่งถือไพ่” (Portrait of Miss Cassatt, Seated, Holding Cards) ค.ศ. 1876-ค.ศ. 1878
-
“นักร้องใส่ถุงมือ” (The Singer with the Glove) ค.ศ. 1878, พิพิธภัณฑ์ฟอก, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐอเมริกา
-
“ร้านขายหมวก” (The Millinery Shop) ค.ศ. 1885, สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก, สหรัฐอเมริกา
-
“นักเต้นบัลเลต์กับช่อดอกไม้” (Dancer with a Bouquet of Flowers (Star of the Ballet), ค.ศ. 1878
-
“ซ้อมใหญ่” (Stage Rehearsal) ค.ศ. 1878-ค.ศ. 1879, พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
-
“นักเต้นบัลเลต์ที่ราว” (Dancers at The Bar) ค.ศ. 1888, พิพิธภัณฑ์ฟิลลิปส, วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา
-
“ผู้หญิงอาบน้ำ” (Woman in the Bath) ค.ศ. 1886, พิพิธภัณฑ์ฮิลสเตด, ฟาร์มมิงตัน, รัฐคอนเนทิคัต, สหรัฐอเมริกา
-
“หลังอาบน้ำ, ผู้หญิงเช็ดต้นคอ” (After the Bath, Woman Drying her Nape ค.ศ. 1898, พิพิธภัณฑ์ออร์แซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส