แม่น้ำบางนรา เป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดนราธิวาส[1] มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำโก-ลกซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียในอำเภอตากใบ ไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ บางช่วงเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอตากใบกับอำเภอสุไหงปาดีและอำเภอเจาะไอร้อง และระหว่างอำเภอเจาะไอร้องกับอำเภอเมืองนราธิวาส จากนั้นไหลผ่านพื้นที่อำเภอเมืองนราธิวาสไปลงอ่าวไทย มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร[2] แม่น้ำยังรับน้ำที่ระบายออกจากพรุโต๊ะแดงซึ่งเป็นพรุขนาดใหญ่มีพื้นที่ราว 100,000 ไร่ ตอนกลางของแม่น้ำรับน้ำเปรี้ยวซึ่งมีความเป็นกรดสูงจากพรุดังกล่าว[3]

แม่น้ำบางนรา
แม่น้ำบางนราบริเวณเขื่อนกักน้ำไทย–ญี่ปุ่น (เขื่อนบางนรา) ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดนราธิวาส
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำแม่น้ำโก-ลก
 • ตำแหน่งตำบลเกาะสะท้อนและตำบลเจ๊ะเห
อำเภอตากใบ
 • พิกัด6°13′46.6″N 102°04′56.6″E / 6.229611°N 102.082389°E / 6.229611; 102.082389
ปากน้ำอ่าวไทย
 • ตำแหน่ง
ตำบลบางนาคและตำบลกะลุวอเหนือ
อำเภอเมืองนราธิวาส
 • พิกัด
6°26′47.5″N 101°49′53.8″E / 6.446528°N 101.831611°E / 6.446528; 101.831611
ความยาว55 กิโลเมตร (34 ไมล์)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายคลองปูยู, คลองบางเตย, คลองสุไหงปาดี, คลองจวบ, คลองสะพานช้าง, คลองบางเค็ม, คลองยะกัง (คลองสนาตง), คลองโคกเคียน
 • ขวาคลองจาเราะ, คลองบางสน, คลองตอหลัง, คลองน้ำแบ่ง, คลองปูเจาะยามู, คลองสะปียอร์

บริเวณปากแม่น้ำบางนราในตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส มีสถานที่ท่องเที่ยวคือเขื่อนท่าพระยาสาย เป็นบริเวณของสันเขื่อนที่มีความยาว 600 เมตร สร้างขึ้นหลังจากบริเวณท่าพระยาสายถูกน้ำกัดเซาะจนตลิ่งพังเสียหาย เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 และก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวนราธิวาสและยังเป็นจุดชมการแข่งขันเรือกอและและเรือยาวประจำปี[4]

อ้างอิง

แก้
  1. "องค์ความรู้เรื่อง "โครงการบางนรา"". สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 140.
  3. "สภาวะนิเวศวิทยาการประมงบริเวณแม่น้ำบางนรา จังหวัดนราธิวาส ก่อนการสร้างเขื่อน". มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. p. 137.
  4. "ท่าพระยาสาย". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-19. สืบค้นเมื่อ 2022-08-19.