แพ็ก-แมน (อังกฤษ: Pac-Man; ญี่ปุ่น: パックマンโรมาจิPakkuman) เป็นเกมอาร์เคด ที่ได้รับการพัฒนาโดยนัมโค และมีลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกาโดย มิดเวย์ ออกวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1980[1][2] ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เมื่อครั้งออกวางจำหน่ายครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน แพ็ก-แมน ถือเป็นวิดีโอที่จัดได้ว่าคลาสสิก ถือเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสมัยนิยมในทศวรรษ 1980 ตั้งแต่ออกขาย ก็ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม[4] ที่มียอดขายสินค้ารวมถึงเป็นต้นแบบให้กับหลาย ๆ สิ่ง อย่างรายการแอนิเมชันทางโทรทัศน์และดนตรี

แพ็ก-แมน
Pac-Man
Pac-man.png
ภาพแพ็ก-แมน ในรูปแบบเกมอาร์เคดดั้งเดิม
ผู้พัฒนาNamco
ผู้จัดจำหน่ายNamco
Midway
ออกแบบTōru Iwatani — Game Designer
Shigeo Funaki (舟木茂雄) — Programmer
Toshio Kai (甲斐敏夫) — Sound & Music
เครื่องเล่นArcade
วางจำหน่ายJPN May 22, 1980[1][2]
NA 1980[3]
แนวMaze
รูปแบบUp to two players, alternating turns
ชนิดของตู้เกมStandard upright, mini-upright and cocktail
ระบบอาร์เคดNamco Pac-Man
ซีพียูแม่แบบ:Z80
เสียง1× Namco WSG (3-channel mono) @ 3.072 MHz
แสดงผลVertically oriented, 224 × 288, 16 palette colors
"pacman" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับนักมวยสากลอาชีพชาวฟิลิปปินส์ ดูที่ แมนนี่ ปาเกียว

เมื่อแพ็ก-แมน ออกขาย วิดีโอเกมอาร์เคดส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือส่วนใหญ่จะเป็นเกมยิงอวกาศ อย่างเช่น Space Invaders, Defender หรือ Asteroids และบางส่วนจะเป็นเกมกีฬามาพัฒนามาจากเกม Pong แพ็ก-แมนจึงถือว่าประสบความสำเร็จในการคิดรูปแบบเกมแนวใหม่ ที่ดึงดูดทั้งเพศชายและเพศหญิง[5] แพ็ก-แมน มักจะได้รับเครดิตว่าเป็นสัญลักษณ์ของประวัติศาสตร์วิดีโอเกม และถือเป็นเกมอาร์เคดที่มีชื่อเสียงที่สุดตลอดกาล[6] ตัวละครในเกมยังปรากฏในเกมอื่นอย่างถูกลิขสิทธิ์อีกมากกว่า 30 เกม[7] จากข้อมูลของ Davie-Brown Index แพ็ก-แมนถือเป็นแบรนด์ที่มีคนรู้จักมากที่สุดในบรรดาตัวละครเกมของชาวอเมริกัน มีคนรู้จักมากถึง 94 %[8]

pong== อ้างอิง ==

  1. 1.0 1.1 Namco Bandai Games Inc. (2005-06-02). "Bandai Namco press release for 25th Anniversary Edition" (ภาษาญี่ปุ่น). bandainamcogames.co.jp/. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-30. สืบค้นเมื่อ 2007-10-10. 2005年5月22日で生誕25周年を迎えた『パックマン』。 ("Pac-Man celebrates his 25th anniversary on May 22, 2005", seen in image caption)
  2. 2.0 2.1 Tony Long (2007-10-10 (questionable)). "Oct. 10, 1979: Pac-Man Brings Gaming Into Pleistocene Era". Wired.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-10. [Bandai Namco] puts the date at May 22, 1980 and is planning an official 25th anniversary celebration next year. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. Year 1980 shown on North American Pac-Man title screen.
  4. Green, Chris (June 17, 2002). "Pac-Man". Salon.com. สืบค้นเมื่อ February 12 2006. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dateformat= ถูกละเว้น (help)
  5. Goldberg, Marty (2002-01-31). ""Pac-Man: The Phenomenon: Part 1"". Classicgaming.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.
  6. Parish, Jeremy (2004). ""The Essential 50: Part 10 - Pac Man"". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-06. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.
  7. "The Legacy of Pac-Man". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1998-01-21. สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.
  8. "Davie Brown Entertainment :: Davie Brown Celebrity Index: Mario, Pac-Man Most Appealing Video Game Characters Among Consumers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-27. สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.