แผ่นอาระเบีย (อังกฤษ: Arabian Plate) เป็นแผ่นธรณีแปรสัณฐานขนาดเล็กที่อยู่ในซีกโลกเหนือด้านตะวันออก

แผ่นอาระเบีย
แผ่นอาระเบีย
ประเภทแผ่นรอง
พื้นที่โดยประมาณ5,000,000 กม2[1]
การเคลื่อนตัว1ทิศเหนือ
อัตราเร็ว115–20 มม./ปี
ลักษณะภูมิศาสตร์คาบสมุทรอาหรับ, ทะเลแดง, อ่าวเอเดน, อ่าวเปอร์เซีย, มหาสมุทรอินเดีย
1โดยเทียบกับแผ่นแอฟริกา

แผ่นอาระเบียเป็นหนึ่งในสามแผ่นเปลือกโลก (แผ่นแอฟริกา แผ่นอาระเบีย และแผ่นอินเดีย) ที่มีการเคลื่อนที่ไปทางเหนือและชนกับแผ่นยูเรเชียในประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาในปัจจุบัน ลักษณะนี้เป็นผลให้เกิดการรวมกันของชิ้นแผ่น และเกิดเทือกเขาที่ทอดตัวตามแนวตั้งแต่ทิศตะวันตก คือ เทือกเขาพิรินี ตั้งแต่ยุโรปใต้ไปจนถึงประเทศอิหร่าน เกิดเป็นภูเขาอัลโบร์ซและภูเขาซาโกรส ไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2]

ขอบเขต แก้

 
แผ่นยูเรเซีย, แผ่นอานาโตเลีย และแผ่นอาระเบีย (บริเวณสีม่วง)

แผ่นอาระเบียประกอบด้วยคาบสมุทรอาหรับเป็นส่วนมาก ตัวแผ่นขยายไปด้านตะวันตกจนถึงคาบสมุทรไซนายและทะเลแดง และขยายไปทางเหนือจนถึงลิแวนต์ โดยมีขอบเขตดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

แผ่นอาระเบียเคยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นแอฟริกาในระหว่างส่วนมากของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก (มหายุคพาลีโอโซอิกถึงมหายุคซีโนโซอิก) จนถึงในสมัยโอลิโกซีนของมหายุคซีโนโซอิก การแตกในทะเลแดงเริ่มขึ้นในสมัยอีโอซีน แต่การแยกของแอฟริกาและอาหรับนั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 25 ล้านปีที่แล้วในสมัยโอลิโกซีน และตั้งแต่นั้นมา แผ่นอาระเบียก็ได้เคลื่อนตัวไปทางแผ่นยูเรเซียอย่างช้า ๆ[4] ขณะที่ช่องเปิดในรอยแตกทะเลแดงนั้นนำไปสู่การเกิดขึ้นของกิจกรรมภูเขาไฟอย่างกว้างขวาง มีภูเขาไฟขนาดใหญ่ในพื้นที่ เรียกว่า โอล์เดอร์ฮาร์รัต (Older Harrats) เช่น ภูเขาไฟฮาร์รัตไคฮ์ยบาร์ และภูเขาไฟฮาร์รัตราฮัต ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ของแผ่นอาระเบียด้านตะวันตก กิจกรรมภูเขาไฟบางแห่งยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณโดยรอบเมืองอัลมะดีนะฮ์[5] และมีการปะทุของภูเขาไฟอย่างสม่ำเสมอภายในทะเลแดง[6]

การชนระหว่างแผ่นอาระเบียและแผ่นยูเรเซียกำลังผลักดันภูเขาซาโกรสในประเทศอิหร่านขึ้น และเนื่องจากการชนกันของแผ่นทั้งสอง ทำให้เมืองหลายเมืองกำลังตกอยู่ในอันตราย เช่น เมืองในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศตุรกี (ซึ่งอยู่บนแผ่นอาระเบีย) โดยอันตรายนั้นประกอบไปด้วยแผ่นดินไหว สึนามิ และภูเขาไฟ

ประเทศ แก้

ประเทศที่ตั้งอยู่บนแผ่นอาระเบีย ประกอบด้วย บางส่วนของประเทศอิรัก, ลิแวนต์ (ภาคตะวันออกของประเทศเลบานอน ประเทศซีเรีย และประเทศจอร์แดน) ทั้งหมดของคาบสมุทรอาหรับ (ประเทศซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศโอมาน ประเทศกาตาร์ ประเทศบาห์เรน ประเทศคูเวต ประเทศเยเมน) และประเทศจิบูตีของจะงอยแอฟริกา

อ้างอิง แก้

  1. "Sizes of Tectonic or Lithospheric Plates". Geology.about.com. 2014-03-05. สืบค้นเมื่อ 2016-01-23.
  2. Image Science and Analysis Laboratory, NASA-Johnson Space Center. "Tectonics of the Arabian Plate". The Gateway to Astronaut Photography of Earth. NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2007. สืบค้นเมื่อ 21 July 2007.
  3. arabia2 (2014-09-15). "Plate Boundaries of the Arabian Plate – GEOS 309: Tectonics". Geos309.community.uaf.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-01-23.
  4. "Arabian Plate - African/Arabian Tectonic Plates". Africa-arabia-plate.weebly.com. สืบค้นเมื่อ 2016-01-23.
  5. "Volcanoes of Saudi Arabia". 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2016-03-24.
  6. Wenbin Xu; และคณะ (2015-05-26). "Birth of two volcanic islands in the southern Red Sea". Nature Communications 6, Article number: 7104.