แบทแมน

ซูเปอร์ฮีโรสมมติ
(เปลี่ยนทางจาก แบ็ทแมน)

แบทแมน (อังกฤษ: Batman)[a] เป็นซูเปอร์ฮีโรปรากฏตัวในหนังสือการ์ตูนอเมริกันตีพิมพ์โดยดีซีคอมิกส์ ตัวละครสร้างโดยศิลปิน บ็อบ เคนและนักเขียน บิล ฟิงเกอร์ และปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน ดีเทกทิฟคอมิกส์ ฉบับที่ 27 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1939 ในความต่อเนื่องของจักรวาลดีซี แบทแมนเป็นนามแฝงของ บรูซ เวย์น เศรษฐีเพลย์บอยอเมริกัน, ผู้ใจบุญและนักอุตสาหกรรมซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองก็อตแธม เรื่องราวต้นกำเนิดของแบทแมนแสดงให้เห็นว่าเขาสาบานจะล้างแค้นกับเหล่าอาชญากร หลังจากได้เห็นการฆาตกรรมพ่อแม่ของเขา โทมัสและมาร์ธา ซึ่งเป็นความอาฆาตที่เต็มไปด้วยอุดมคติแห่งความยุติธรรม เขาฝึกฝนตนเองทั้งทางร่างกายและสติปัญญา, สร้างสัญลักษณ์ค้างคาวและสังเกตการณ์ถนนในเมืองก็อตแธมในตอนกลางคืน เคน, ฟิงเกอร์และผู้สร้างคนอื่น สร้างตัวละครสนับสนุนที่ช่วยเหลือแบทแมน ได้แก่ คู่หูของ โรบินและแบทเกิร์ล; พันธมิตรของเขา อัลเฟรด เพนนีเวิร์ธ, เจมส์ กอร์ดอนและแคตวูแมน และ วายร้าย เช่น เพนกวิน, เดอะริดเลอร์, ทู-เฟซ และศัตรูคู่อาฆาตของเขา เดอะ โจ๊กเกอร์

แบทแมน
ภาพในหนังสือการ์ตูนแบทแมนฉบับที่ 608 (ตุลาคม 2002) วาดโดยจิม ลีและลงหมึกโดยสก็อตต์ วิลเลียมส์
ข้อมูลการจัดพิมพ์
ผู้จัดพิมพ์ดีซีคอมิกส์
ปรากฏตัวครั้งแรกดิเทคทิฟคอมิกส์ #27
(30 มีนาคม ค.ศ. 1939)[1]
สร้างสรรค์โดย
ข้อมูลในเรื่อง
ชื่อจริงบรูซ เวย์น
นามแฝง
  • อัศวินรัตติกาล
  • มือปราบใต้ผ้าคลุม
  • ยอดนักสืบของโลก
  • อัศวินกอแธม
  • แมตช์ มาโลน
ถิ่นกำเนิดกอแทมซิตี
สังกัดทีม
พลพรรค
ความสามารถ
  • สติปัญญาระดับอัจฉริยะ
  • นักสืบผู้เชี่ยวชาญ
  • เชี่ยวชาญในศิลปะการต่อสู้และการต่อสู้แบบแบบประชิดตัว
  • ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูง
  • รวย

เคนให้กำเนิดแบทแมนในต้นปี ค.ศ. 1939 โดยใช้ประโยชน์จากความนิยมของซูเปอร์แมนของดีซี แม้ว่าเคนมักจะอ้างว่าเป็นผู้สร้างเพียงผู้เดียว แต่ฟิงเกอร์ได้พัฒนาแนวคิดของตัวละครอย่างมากจากซูเปอร์ฮีโรทั่วไปให้กลายเป็นสิ่งที่เหมือนค้างคาวมากกว่า ตัวละครได้รับตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูนแยกชื่อว่า แบทแมน ในปี ค.ศ. 1940 แต่เดิมแบทแมนเปิดตัวในฐานะศาลเตี้ยที่โหดเหี้ยมซึ่งมักฆ่าหรือทำให้อาชญากรพิการ แต่ได้พัฒนาเป็นตัวละครที่มีจรรยาบรรณที่เข้มงวดและความยุติธรรม แบทแมนไม่มีพลังพิเศษ ไม่เหมือนกับฮีโรส่วนใหญ่ เขาใช้อาศัยสติปัญญา, ทักษะการต่อสู้และความมั่งคั่งของเขาแทน ในทศวรรษ 1960 ละครโทรทัศน์ แบทแมน ใช้สุนทรียศาสตร์แบบ แคมป์ ซึ่งยังคงเกี่ยวข้องกับตัวละครตัวนี้หลายปีหลังละครจบ ผู้สร้างหลายคนเริ่มสร้างผลงานที่ให้ตัวละครกลับสู่รากเหง้าที่มืดมนของเขาในทศวรรษ 1970 และ 1980 โดยมีจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1986 ด้วยหนังสือการ์ตูนมินิซีรีส์ เดอะดาร์กไนต์รีเทิร์นส โดย แฟรงก์ มิลเลอร์

ดีซีได้นำเสนอแบทแมนในหนังสือการ์ตูนหลายเล่ม รวมถึงการ์ตูนที่ตีพิมพ์ภายใต้สำนักพิมพ์ เช่น เวอร์ติโกและแบล็กเลเบล การ์ตูนแบทแมนที่ดำเนินเรื่องยาวนานที่สุด ดิเทคทิฟคอมิกส์ เป็นหนังสือการ์ตูนที่ตีพิมพ์มาอย่างยาวนานที่สุดในสหรัฐ แบทแมนมักปรากฏตัวร่วมกับฮีโรดีซีคนอื่น ๆ เช่น ซูเปอร์แมนและวันเดอร์วูแมน, ในฐานะสมาชิกขององค์กร เช่น จัสติซลีก และ เอาต์ไซเดอร์ส นอกจาก บรูซ เวย์น แล้ว ยังมีตัวละคนอื่น ๆ ได้สวมบทบาทเป็นแบทแมนในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฌอง-ปอล แวลลีย์ / แอซรีล ในเนื้อเรื่อง "ไนต์ฟอลล์" ในปี ค.ศ. 1993–1994; ดิก เกรย์สัน, โรบินคนแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 ถึง 2011; และ เจซ ฟอกซ์, ลูกชายของลูเซียส พันธมิตรของเวย์น ในปี ค.ศ. 2021[4] ดีซียังได้ตีพิมพ์การ์ตูนที่มีแบทแมนรูปแบบอื่น รวมถึงตัวละครที่เห็นใน เดอะดาร์กไนต์รีเทิร์นส และเรื่องอื่น ๆ ที่ตามมา, แบทแมนจากเหตุการณ์ แฟลชพอยต์ และอีกหลายตัวจากเนื้อเรื่องใน เอลซ์เวิร์ลส์

แบทแมนเป็นหนึ่งในตัวละครที่โดดเด่นที่สุดในวัฒนธรรมประชานิยม โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในฮีโรในหนังสือการ์ตูนและตัวละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างมา เขาเป็นหนึ่งในซูเปอร์ฮีโรที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์มากที่สุด และหน้าตาของเขาถูกนำเสนอในสื่อและสินค้าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ที่วางจำหน่ายทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสายของเล่น เช่น เลโก้ แบทแมน และวิดีโอเกมชุด เช่น แบทแมน: อาร์แคม แบทแมนได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์คนแสดงและแอนิเมชัน เช่น ละครโทรทัศน์ แบทแมน แสดงโดย แอดัม เวสต์ และในภาพยนตร์ แสดงโดย ไมเคิล คีตัน ใน แบทแมน (1989), แบทแมน รีเทิร์นส ตอน ศึกมนุษย์เพนกวินกับนางแมวป่า (1992) และ เดอะ แฟลช (2023), คริสเตียน เบล ใน อัศวินรัตติกาล ไตรภาค (2005–2012), เบน แอฟเฟล็ก ใน จักรวาลขยายดีซี (2016–2023) และ โรเบิร์ต แพตตินสัน ใน เดอะ แบทแมน (2022) นอกจากนี้ แบทแมนให้เสียงโดย เช่น เควิน คอนรอย, เจสัน โอมารา, วิลล์ เออร์เนตต์และคีอานู รีฟส์

ประวัติการตีพิมพ์

แก้

การสร้าง

แก้

ความสำเร็จของซูเปอร์แมน ใน แอกชันคอมิกส์ ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1939 ทำให้เหล่าบรรณาธิการที่ เนชันแนลคอมิกส์พับบลิกเคชันส์ (ดีซีคอมิกส์ ในอนาคต) ต้องการตัวละครซูเปอร์ฮีโรเพิ่มเติม บ็อบ เคน ตอบสนองด้วยการสร้างตัวละคร "เดอะ แบท-แมน"[5] บิล ฟิงเกอร์ ผู้ร่วมงานจำได้ว่า "เคนมีแนวคิดสำหรับตัวละครเรียกว่า 'แบทแมน,' และเขาอยากให้ผมดูภาพวาด ผมไปหาเคนและเขาวาดตัวละครที่ดูเหมือนซูเปอร์แมนมากพร้อมกับใส่ชุดที่ ... รัดรูปสีแดง, ผมเชื่อ, กับรองเท้าบูท ... ไม่มีถุงมือ, ไม่มีถุงมือเหล็ก ... กับใส่หน้ากากดอมิโนอันเล็ก, โหนอยู่บนเชือก เขามีปีกแข็งสองข้างยื่นออกมา, ดูเหมือนปีกค้างคาว และใต้ภาพมีสัญลักษณ์ขนาดใหญ่ ... แบทแมน"[6] ปีกค้างคาวที่ดูเหมือนผ้าคลุมได้รับการแนะนำจาก บ็อบ เคน โดยเขาเมื่อตอนเป็นเด็ก ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพร่างของเครื่องบินกระพือปีกของ เลโอนาร์โด ดา วินชี[7]

ฟิงเกอร์แนะนำว่าให้ตัวละครใส่ผ้าคลุมศีรษะแทนที่จะเป็นหน้ากากดอมิโนธรรมดา, ผ้าคลุมแทนที่จะเป็นปีกและให้ใส่ถุงมือ เขายังแนะนำให้ถอดส่วนสีแดงออกจากชุดเดิม[8][9][10][11] ฟิงเกอร์กล่าวว่าเขาคิดค้นชื่อ บรูซ เวย์น เป็นชื่อที่แท้จริงของตัวละคร "ชื่อของ บรูซ เวย์น นั้นนำมาจาก รอเบิร์ต บรูซ ผู้รักชาติชาวสกอตแลนด์ เวย์น, เป็นเพลย์บอย, เป็นชายพวกผู้ดี ผมค้นหาชื่อที่บ่งบอกถึงลัทธิล่าอาณานิคม ผมลองใช้ชื่อ แอดัมส์, แฮนคอก ... จากนั้นผมก็นึกถึง "แมด แอนโทนี เวย์น"[12] ต่อมาเขากล่าวว่าการแนะนำของเขาได้รับอิทธิพลมาจาก เดอะแพนทอม ของลี ฟอล์ก ตัวละครการ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์ซึ่งเคนก็คุ้นเคยเช่นกัน[13]

เคนและฟิงเกอร์ดึงเอาวัฒนธรรมยอดนิยมร่วมสมัยในช่วงทศวรรษ 1930 เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างรูปลักษณ์, บุคลิก, วิธีการและอาวุธของแบท-แมน โดยนำรายละเอียดมาจาก นิยายโพล์ป, การ์ตูนช่อง, พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์และรายละเอียดอัตชีวประวัติที่อ้างอิงถึงตัวเคนเอง[14] แบทแมนเป็นตัวละครฮีโรที่มีฐานะเป็นคนชนชั้นสูงและมีตัวตนสองด้าน ซึ่งเคยมีตัวละครลักษณะนี้มาก่อนใน เดอะสการ์เล็ตพิมเพอร์เนล (สร้างโดย บาโรนีสส์ เอมมูชกา โอกซี, 1903) และ โซร์โร (สร้างโดย จอห์นสตัน แมกคัลลี, 1919) แบทแมนทำวีรกรรมของเขาอย่างลับ ๆ หลีกเลี่ยงความสงสัยด้วยการทำงานห่างจากที่สาธารณะ และทำเครื่องหมายงานของเขาด้วยสัญลักษณ์ลายเซ็น เหมือนกับตัวละครที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ เคนบอกว่าภาพยนตร์เรื่อง เดอะมาร์กออฟโซร์โร (1920) และ เดอะแบทวิสเปอร์ส (1930) มีอิทธิพลในการสร้างสัญลักษณ์ของตัวละคร ฟิงเกอร์ทำให้ตัวละครกลายเป็นนักสืบผู้เก่งกาจ โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากตัวละครฮีโรในนิยายโพล์ป เช่น ด็อกซาเวจ, เดอะชาโดว์, ดิก เทรซีและเชอร์ล็อก โฮมส์[15][16]

บ็อบ เคนให้รายละเอียดการมีส่วนร่วมของบิล ฟิงเกอร์ในการสร้างแบทแมน ในอัตชีวประวัติของเขาในปี 1989:

วันหนึ่งผมโทรหาบิลและพูดว่า 'ผมมีตัวละครใหม่เรียกว่าเดอะแบท-แมน และผมได้วาดภาพร่างเบื้องต้นแบบหยาบ ๆ ผมอยากให้คุณดู' เขามาหาและผมก็แสดงภาพวาดให้เขาดู ในตอนนั้น ผมมีเพียงแค่หน้ากากดอมิโนเล็ก ๆ เหมือนที่โรบินสวมในเวลาต่อมา บนใบหน้าของแบทแมน บิลพูดว่า 'ทำไมไม่ทำให้เขาดูเหมือนค้างคาวมากขึ้นและสวมผ้าคลุมหัวให้กับเขาและเอาลูกตาออกและกรีดตาเพื่อให้เขาดูลึกลับมากขึ้น?' ตอนนั้น เดอะแบท-แมนสวมชุดยูเนียนสีแดง, ปีก, ลำตัวและหน้ากากเป็นสีดำ ผมคิดว่าสีแดงกับสีดำจะเข้ากันได้ดี บิลกล่าวว่าชุดนั้นสว่างเกินไป 'เปลี่ยนสีให้เป็นสีเทาเข้มเพื่อให้ดูเป็นลางไม่ดีมากขึ้น' ผ้าคลุมดูเหมือนปีกค้างคาวแข็งสองข้างติดอยู่กับแขนของเขา ขณะที่บิลกับผมกำลังพูดคุยกัน เราคิดได้ว่าปีกเหล่านี้จะยุ่งยากเมื่อแบท-แมนกำลังต่อสู้และได้เปลี่ยนมันเป็นผ้าคลุม, ทำให้ปลายแหลมเหมือนปีกค้างคาวเมื่อเขากำลังต่อสู้หรือกำลังโหนเชือกลงมา นอกจากนี้ เขายังไม่ได้สวมถุงมือและเราจึงเพิ่มมันเข้าไป เพื่อที่เขาจะได้ไม่ทิ้งรอยนิ้วมือ[13]

ยุคทอง

แก้

การใส่ชื่อผู้สร้างในเวลาต่อมา

แก้

บ็อบ เคนเซ็นสัญญาไม่แสดงความเป็นเจ้าของในตัวละครเพื่อแลกกับ การมีชื่อของเขาอยู่ในการ์ตูนแบทแมนทั้งหมด ท่ามกลางค่าตอบแทนอื่น ๆ แต่เดิมนั้นไม่ได้เขียนว่า "แบทแมน สร้างโดย บ็อบ เคน" โดยเขียนเพียงแค่ชื่อของเขาบนหน้าชื่อเรื่องของแต่ละเรื่อง ชื่อของเขาหายไปจากหนังสือการ์ตูนในช่วงกลางทศวรรษ 1960 ถูกแทนที่โดยชื่อของนักเขียนและศิลปินของแต่ละเรื่อง ในช่วงกลางทศวรรษ 1970 เมื่อ เจอร์รี ซีเกลและโจ ชูสเตอร์ เริ่มได้รับการใส่ชื่อ "สร้างโดย" ในชื่อเรื่องของซูเปอร์แมน พร้อมกับ วิลเลียม มอลตัน มาร์สตัน ได้รับการใส่ชื่อสำหรับการสร้าง วันเดอร์วูแมน เรื่องราวของแบทแมนจึงเริ่มมีการใส่ "สร้างโดย บ็อบ เคน" เพิ่มเติมร่วมชื่อคนอื่น ๆ

บิล ฟิงเกอร์ ไม่ได้รับการใส่ชื่อเช่นกัน ขณะที่เขาได้รับการใส่ชื่อในงานของดีซีอื่น ๆ ตั้งแต่ทศวรรษ 1940 เขาเริ่มได้รับการใส่ชื่ออย่างจำกัด สำหรับงานเขียนแบทแมนของเขา ในทศวรรษ 1960 ตัวอย่าง ในหน้าจดหมายของ แบทแมน ฉบับที่ 169 (กุมภาพันธ์ 1965) บรรณาธิการ จูเลียส ชวาร์ตซ์ ใส่ชื่อเขาในฐานะเป็นผู้สร้าง เดอะริดเลอร์ หนึ่งในตัวร้ายประจำของแบทแมน อย่างไรก็ตาม สัญญาของฟิงเกอร์ทำให้เหลือแค่ค่าจ้างของการเขียนในแต่ละหน้ากับไม่มีชื่อของเขา เคนเขียนว่า "บิลรู้สึกท้อแท้ที่ขาดความสำเร็จครั้งใหญ่ในอาชีพการงานของเขา เขารู้สึกว่าเขาไม่ได้ใช้ศักยภาพในการสร้างสรรค์อย่างเต็มที่และความสำเร็จนั้นก็ผ่านเขาไป"[12] ช่วงเวลาที่ฟิงเกอร์เสียชีวิตในปี 1974 ดีซียังไม่ได้ใส่ชื่อของฟิงเกอร์ว่าเป็นผู้สร้างร่วมของแบทแมนอย่างเป็นทางการ

เจอร์รี รอบินสัน ผู้ทำงานร่วมกับฟิงเกอร์และเคนในการ์ตูนช่วงในเวลานั้น ได้วิพากษ์วิจารณ์เคนที่ไม่สามารถแบ่งปันชื่อของเขาได้ เขานึกถึงฟิงเกอร์ที่ไม่พอใจตำแหน่งของเขา โดยกล่าวในบทสัมภาษณ์เมื่อปี 2005 กับ เดอะคอมิกส์เจอนอล:

บ็อบทำให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัยมากขึ้น, เพราะในขณะที่เขาทำงานเยี่ยงทาสกับแบทแมน, เขาไม่ได้มีส่วนร่วมในความสำเร็จใด ๆ หรือเงินที่บ็อบเริ่มได้รับ, นั่นคือเหตุผลว่าทำไม ... [เขา] กำลังจะออกจาก [งานของเคน] ... [เคน] ควรใส่ชื่อบิลว่าเป็นผู้สร้างร่วม, ผมรู้ เพราะผมเคยอยู่ที่นั่นมาก่อน ... นั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ผมจะไม่มีวันให้อภัยบ็อบ, คือการไม่ใส่ใจบิลหรือรับรู้บทบาทสำคัญของเขาในการสร้างแบทแมน เหมือนกันกับซีเกลและชูสเตอร์, มันควรจะเหมือนกัน, การใส่ชื่อเป็นผู้สร้างร่วมในการ์ตูนช่อง, นักเขียน, และศิลปิน[17]

แม้ว่าเคนจะปฏิเสธข้อเรียกร้องของฟิงเกอร์ในตอนแรกที่สร้างตัวละครขึ้นมา เขาได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงแฟน ๆ ในปี 1965 ว่า "สำหรับผมแล้วดูเหมือนว่า บิล ฟิงเกอร์ ไม่ได้แสดงความรู้สึกว่าเขาและไม่ใช่ตัวเองที่สร้างแบทแมน เช่นเดียวกับโรบินและตัวร้ายนำทั้งหมดและตัวละครตัวอื่น ๆ คำพูดของเขาหลอกลวงและไม่เป็นความจริงอย่างสิ้นเชิง" เคนเองก็แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการขาดการใส่ชื่อของฟิงเกอร์ "ปัญหาในการเป็นนักเขียนหรือศิลปิน 'ผี' คือคุณต้องอยู่อย่างไม่เปิดเผยตัวโดยไม่มี 'เครดิต' อย่างไรก็ตาม หากใครต้องการ 'เครดิต' คนนั้นก็ต้องเลิกเป็น 'ผี' หรือผู้ตามและกลายเป็นผู้นำหรือผู้ริเริ่ม"[18]

ในปี 1989 เคนทบทวนสถานการณ์ของฟิงเกอร์ โดยนึกถึงในบทสัมภาษณ์:

ในสมัยนั้นมันเป็นเหมือน, ศิลปินคนหนึ่งและเขามีชื่อของเขาอยู่ใน [การ์ตูนช่อง] — นโยบายของดีซีในหนังสือการ์ตูนคือ ถ้าคุณไม่สามารถเขียนมันได้ ให้หานักเขียนคนอื่น ๆ แต่ชื่อของพวกเขาจะไม่ปรากฏบนหนังสือการ์ตูนที่เขียนเสร็จแล้ว ดังนั้นบิลไม่เคยขอผมให้เขียน [ชื่อใต้เรื่อง] เลย และผมก็ไม่เคยอาสา — ผมเดาว่าเพราะอีโกของผมในตอนนั้น และฉันก็รู้สึกแย่จริง ๆ เมื่อเขา [ฟิงเกอร์] เสียชีวิต[19]

ในเดือนกันยายน 2015 ดีซีเอ็นเทอร์เทนเมนต์ เปิดเผยว่าฟิงเกอร์จะได้รับการใส่ชื่อของเขา ในฐานะเป็นผู้สร้างแบทแมนใน แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรฉายปี 2016 และปีที่สองของละครโทรทัศน์ ก็อตแธม หลังจากมีการตกลงกันระหว่างตระกูลฟิงเกอร์กับดีซี[2] ฟิงเกอร์จะได้รับการใส่ชื่อของเขา ในฐานะเป็นผู้สร้างแบทแมนครั้งแรกในการ์ตูน แบทแมนแอนด์โรบินอีเทอร์นอล ฉบับที่ 3 และ แบทแมน: อาร์แคมไนต์เจเนซิส ฉบับที่ 3 ในเดือนตุลาคม 2015 โดยเขียนว่า "แบทแมน สร้างโดย บ็อบ เคนร่วมกับบิล ฟิงเกอร์"[3]

ช่วงปีแรก

แก้

เรื่องราวของแบทแมนเรื่องแรกมีชื่อว่า "เดอะเคสออฟเดอะเคมิคอลซินดีเคต" ตีพิมพ์ลงใน ดีเทกทิฟคอมิกส์ ฉบับที่ 27 (พฤษภาคม 1939) ฟิงเกอร์กล่าวว่า "เดิมทีแบทแมนถูกเขียนขึ้นในลักษณะของโพล์ป"[20] และจากอิทธิพลนี้เห็นได้ชัดว่า แบทแมนแสดงความสำนึกผิดเพียงเล็กน้อยเมื่อฆ่าหรือทำให้อาชญากรพิการ แบทแมนได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นตัวละครยอดนิยม ด้วยการมีหนังสือการ์ตูนเดี่ยวเป็นของตัวเองในปี 1940 ขณะที่ยังคงตีพิมพ์ใน ดีเทกทิฟคอมิกส์ ช่วงเวลานั้น ดีเทกทิฟคอมิกส์ เป็นสำนักพิมพ์ที่มียอดขายสูงสุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในอุตสาหกรรม แบทแมนและฮีโรตัวอื่น ๆ ของบริษัท เช่น ซูเปอร์แมน เป็นเสาหลักของความสำเร็จของบริษัท[21] ตัวละครทั้งสองปรากฏตัวคู่กันใน เวิร์ลส์ไฟเนสต์คอมิกส์ ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่า เวิร์ลส์เบสต์คอมิกส์ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1940 มีผู้สร้างรวมไปถึง เจอร์รี รอบินสันและดิก สแปรง ยังทำงานกับการ์ตูนช่องในช่วงเวลานั้น

ตั้งแต่การ์ตูนช่องแบทแมนในช่วงแรกเรื่อยมา ตัวละครได้มีการเพิ่มองค์ประกอบและภาพวาดที่มีการพัฒนามากขึ้น เคนระบุว่าในหกเล่มแรกเขาวาดกรามของตัวละครได้เด่นชัดมากขึ้นและวาดหูของเครื่องแบบยาวขึ้น "ประมาณหนึ่งปีต่อมาเขาเกือบจะเป็นคนเต็มตัว, แบทแมนที่เป็นผู้ใหญ่ของผม" เคนกล่าว[22] เข็มขัดสารพัดประโยชน์เฉพาะตัวของแบทแมน ปรากฏครั้งแรกใน ดีเทกทิฟคอมิกส์ ฉบับที่ 29 (กรกฎาคม 1939), ตามมาด้วย แบทาแรง อาวุธคล้ายกับบูมเมอแรง และยานพาหนะธีมค้างคาวคันแรก แบทเพลน ใน ฉบับที่ 31 (กันยายน 1939) ต้นกำเนิดของตัวละครได้รับการเปิดเผยครั้งแรกใน ฉบับที่ 23 (พฤศจิกายน 1939) เขียนโดยฟิงเกอร์ ตีแผ่เรื่องราวในสองหน้าที่สร้างบุคลิกที่ครุ่นคิดของแบทแมน ตัวละครที่ขับเคลื่อนโดยการเสียชีวิตของพ่อแม่ของเขา โดยแสดงให้เห็นถึง บรูซ เวย์น ในวัยเด็กที่เห็นการฆาตกรรมพ่อแม่ของเขา ด้วยน้ำมือของโจรจี้ชิงทรัพย์ หลายวันต่อมา ที่หลุมศพของพวกเขา บรูซสาบานว่า "ด้วยวิญญาณของพ่อแม่ [ผมจะ] ล้างแค้นให้ความตายของพวกคุณ โดยใช้ชีวิตที่เหลือต่อสู้กับอาชญากรทุกคน"[23][24][25]

แบทแมนที่ได้รับอิทธิพลจากโพล์ปเริ่มลดลงใน ดีเทกทิฟคอมิกส์ ฉบับที่ 38 (เมษายน 1940) ด้วยการแนะนำตัว โรบิน คู่หูรุ่นน้องของแบทแมน[26] โรบินนั้นมาจากคำแนะนำของฟิงเกอร์ เพราะแบทแมนต้องการ "วอตสัน" ซึ่งเป็นคนที่แบทแมนสามารถคุยด้วยได้[27] ยอดขายเพิ่มขึ้นเกือบเป็นสองเท่า แม้ว่าเคนจะชอบให้แบทแมนลุยเดี่ยวมากกว่าและมันก็จุดประกายให้เกิด "คู่หูเด็ก" อย่างแพร่หลาย[28] ในฉบับแรกของการ์ตูนเดี่ยวเรื่องแยกชุด แบทแมน ไม่เพียงแต่จะเป็นการเปิดตัว โจ๊กเกอร์และแคตวูแมน คู่ปรับตลอดกาลของแบทแมน ยังมีเรื่องราวก่อนที่โรบินจะปรากฏตัว เป็นเรื่องราวที่แบทแมนยิงยักษ์ขนาดใหญ่บางตัวเสียชีวิต ซึ่งแต่เดิมนั้นจะตีพิมพ์ใน ดีเทกทิฟคอมิกส์ ฉบับที่ 38[29][30] เรื่องราวดังกล่าวทำให้บรรณาธิการ วิตนีย์ เอลส์เวิร์ธ ออกคำสั่งว่าตัวละครไม่สามารถฆ่าหรือใช้ปืนได้อีกต่อไป[31]

ในปี 1942 นักเขียนและศิลปินผู้อยู่เบื้องหลังของการ์ตูนแบทแมน เริ่มสร้างองค์ประกอบพื้นฐานส่วนใหญ่ของตำนานแบทแมน[32] ในหลายปีต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดีซีคอมิกส์ "ใช้แนวทางบรรณาธิการหลังสงครามที่ลดการให้ความสำคัญกับคำวิจารณ์ทางสังคมมากขึ้นเพื่อสนับสนุนจินตนาการที่เบาสมองของเด็กและเยาวชน" ผลกระทบของแนวทางนี้เห็นได้ชัดในการ์ตูนเรื่อง แบทแมน ในช่วงหลังสงคราม ที่ได้ลบภาพ "โลกที่มืดมนและน่ากลัว" ของการ์ตูนช่องในช่วงต้นทศวรรษ 1940 แทนที่ด้วย แบทแมนเป็นพลเมืองที่น่านับถือและเป็นเหมือนบิดาที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ "สดใสและมีสีสัน"[33]

ยุคเงินและสัมฤทธิ์

แก้

ทศวรรษ 1950 และช่วงต้นทศวรรษ 1960

แก้

แบทแมนเป็นหนึ่งในตัวละครซูเปอร์ฮีโรไม่กี่ตัวที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความสนใจของหนังสือการ์ตูนแนวนี้เริ่มลดลงในช่วงทศวรรษ 1950 ในตอน "เดอะไมตีเอสต์ทีมอินเดอะเวิร์ล" ในหนังสือการ์ตูน ซูเปอร์แมน ฉบับที่ 76 (มิถุนายน 1952) แบทแมนร่วมมือกับซูเปอร์แมนเป็นครั้งแรก ทั้งคู่ต่างค้นพบตัวตนที่แท้จริงของแต่ละฝ่าย[34] หลังเรื่องราวดังกล่าวประสบความสำเร็จ หนังสือการ์ตูน เวิร์ลไฟเนสต์คอมิกส์ ได้มีการปรับปรุงใหม่ โดยให้มีเนื้อเรื่องที่ทั้งสองคนทำงานร่วมกัน แทนที่จะทำงานแยกกันเหมือนที่เคยตีพิมพ์ก่อนหน้านี้[35] การรวมทีมของตัวละครคือ "ความสำเร็จทางการเงินในยุคนั้นที่มีไม่มากนัก"[36] เนื้อเรื่องชุดนี้ดำเนินไปจนกระทั่งหนังสือการ์ตูนดังกล่าวยกเลิกตีพิมพ์ในปี 1986

การ์ตูนแบทแมนเป็นหนึ่งในหนังสือการ์ตูนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เมื่ออุตสาหกรรมหนังสือการ์ตูนอยู่ภายใต้การควบคุม จากการตีพิมพ์หนังสือ เซดักชันออฟเดอะอินโนเซนต์ ของ เฟรดริก เวิร์ทเดม นักจิตวิทยา ในปี 1954 วิทยานิพนธ์ของเวิร์ทเดมระบุว่าเด็ก ๆ เลียนแบบการก่ออาชญากรรมมาจากในหนังสือการ์ตูน และผลงานเหล่านี้ทำให้ศีลธรรมของเยาวชนเสียหาย เวิร์ทเดมวิจารณ์ว่าการ์ตูนแบทแมนสนับสนุนการรักร่วมเพศอย่างโจ่งแจ้งและแบทแมนกับโรบินถูกแสดงให้เห็นว่าเป็นคู่รักกัน[37] การวิจารณ์ของเวิร์ทเดม ทำให้เกิดการประท้วงจากสาธารณชนในทศวรรษ 1950 จนในที่สุดก็นำไปสู่การก่อตั้ง คอมิกส์โคดอะตอริตี (ซึ่งในปัจจุบันไม่มีอุตสาหกรรมหนังสือการ์ตูนไหนใช้งานแล้ว) แนวโน้มที่จะเป็น "แบทแมนที่สดใสกว่า" ในช่วงหลังสงครามก็เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังจากการเปิดตัวคอมิกส์โคด[38] นักวิชาการได้เสนอว่ามีการนำตัวละครของ แบทวูเมน (ในปี 1956) และ แบท-เกิร์ล (ก่อนบาร์บารา กอร์ดอน) (ในปี 1961) เป็นการหักล้างข้อกล่าวหาที่ว่าแบทแมนและโรบินเป็นเกย์และเรื่องราวก็เริ่มสดใสมากขึ้นและเบาสมอง[39]

ในปลายทศวรรษ 1950 เรื่องราวของแบทแมนค่อย ๆ กลายเป็นแนวนิยายวิทยาศาสตร์มากขึ้น ซึ่งเป็นความพยายามที่จะเลียนแบบความสำเร็จของตัวละครดีซีตัวอื่น ๆ ที่อยู่ในแนวนี้[40] มีการเปิดตัวตัวละครใหม่ ๆ เช่น แบทวูเมน, แบท-เกิร์ล ต้นฉบับ, เอซเดอะแบท-ฮาวด์ และ แบท-ไมต์ การผจญภัยของแบทแมนมักเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่แปลกประหลาดหรือเอเลี่ยนอวกาศที่แปลกประหลาด ในปี 1960 แบทแมนเปิดตัวด้วยการเป็นสมาชิก จัสติซลีกออฟอเมริกา ในหนังสือการ์ตูน เดอะเบรฟแอนด์เดอร์โบลด์ ฉบับที่ 28 (กุมภาพันธ์ 1960) และได้ปรากฏตัวในหนังสือการ์ตูนจัสติซลีกหลายเล่ม ซึ่งเริ่มต้นตีพิมพ์ในปีเดียวกัน

ลักษณะตัวละคร

แก้

บรูซ เวย์น

แก้

ตัวตนที่แท้จริงของแบทแมนคือ บรูซ เวย์น นักอุตสาหกรรมเศรษฐีชาวอเมริกัน เมื่อตอนเขาเป็นเด็ก เขาได้เห็นภาพการฆาตกรรมของพ่อแม่ของเขา ดร. โทมัส เวย์นและมาร์ธา เวย์น ทำให้เขาสร้างตัวตนแบทแมนขึ้นมาและต่อสู้กับอาชญากรเพื่อแสวงหาความยุติธรรม บรูซ เวย์นอาศัยอยู่ที่ คฤหาสน์เวย์น บ้านส่วนตัวของเขานอกเมืองกอแทมซิตี เวย์นหลีกเลี่ยงการถูกสงสัยด้วยการใช้ชีวิตเป็นเพลย์บอยธรรมดาที่ใช้ชีวิตอย่างเฉื่อยชา จากสมบัติของครอบครัวและผลกำไรของ เวย์นเอ็นเทอร์ไพรส์ ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่เขาได้รับการสืบทอดมา[41][42] เขาสนับสนุนการกุศลผ่านมูลนิธิเวย์นที่ไม่แสวงหาผลกำไรของเขา เขายังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในฐานะบุคคลสังคมชนชั้นสูงที่มีชื่อเสียง[43] ในสาธารณะ เขามักปรากฏตัวในบริษัทของผู้หญิงที่มีสถานะสูง ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการซุบซิบในแท็บลอยด์ แม้ว่า บรูซ เวย์น จะมีชีวิตที่โรแมนติก แต่กิจกรรมศาลเตี้ยของเขาในฐานะแบทแมน ก็กินเวลาส่วนใหญ่ของเขามากที่สุด[44]

เรื่องราวในยุคสมัยใหม่หลายเรื่อง ได้แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของ บรูซ เวย์น เป็นเพลย์บอยหรูหราและฟุ่มเฟือย ที่เป็นฉากหน้า[45] นี่คือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับซูเปอร์แมนในเส้นเรื่องหลัง ไครซิส ที่ตัวตน คลาร์ก เค้นต์ คือตัวตนที่แท้จริง ขณะที่ตัวตน ซูเปอร์แมน คือฉากหน้า[46][47] ใน แบทแมนอันแมสก์ทึด สารคดีโทรทัศน์เกี่ยวกับจิตวิทยาของตัวละคร นักพฤติกรรมศาสตร์ เบนจามิน คาร์นีย์ ระบุว่า บุคลิกของแบทแมนถูกขับเคลื่อนโดยความเป็นมนุษย์โดยกำเนิดของ บรูซ เวย์น ว่า "แบทแมน, เพื่อผลประโยชน์ทั้งหมดและเวลาทั้งหมดที่ บรูซ เวย์น ทุ่มเทให้กับมัน, ในที่สุดมันก็เป็นเครื่องมือสำหรับความพยายามของ บรูซ เวย์น ที่จะทำให้โลกดีขึ้น" หลักการของบรูซ เวย์น คือ ความปรารถนาที่จะป้องกันอันตรายในอนาคตและปฏิญาณว่าจะไม่ฆ่า บรูซ เวย์นเชื่อว่าการกระทำของเรากำหนดเรา, เราล้มเหลวด้วยเหตุผลและทุกอย่างเป็นไปได้[48]

นักเขียนเรื่องราวของแบทแมนและซูเปอร์แมนหลายคน มักจะเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้งสองคน มีการตีความที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับนักเขียน, เรื่องราวและช่วงเวลา แกรนต์ มอร์ริสัน[49] ระบุว่าฮีโรทั้งสองคน "เชื่อในสิ่งเดียวกัน" แม้ว่าพวกเขาจะทำหน้าที่เป็นฮีโรในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนซึ่งแตกต่างกัน เขาสังเกตเห็นความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา บรูซ เวย์นและคลาร์ก เคนต์ อยู่ในชนชั้นทางทางสังคนที่แตกต่างกัน "บรูซมีพ่อบ้าน, คลาร์กมีเจ้านาย" ในหนังสือ อันลีชชิงเดอะซูเปอร์ฮีโรอินอัสออลล์ ของ ที. เจมส์ มัสเลอร์ ได้สำรวจขอบเขตว่าความมั่งคั่งส่วนตัวมากมายของ บรูซ เวย์น มีความสำคัญในเรื่องราวชีวิตของเขาและบทบาทสำคัญที่มีต่อความพยายามของเขาในฐานะแบทแมน[50]

วิล บรูกเกอร์ เขียนในหนังสือของเขา แบทแมนอันแมสก์ทึด ว่า "การยืนยันตัวตนที่แท้จริงของแบทแมนขึ้นอยู่กับผู้อ่านวัยเยาว์ ... เขาไม่จำเป็นต้องเป็น บรูซ เวย์น เขาต้องการแค่ชุดสูทและอุปกรณ์, ความสามารถ, และที่สำคัญที่สุดคือศีลธรรม, ความเป็นมนุษย์ มีเพียงความรู้สึกเกี่ยวกับเขา: 'พวกเขาเชื่อใจเขา ... และพวกเขาไม่เคยผิด"[51]

ตัวละครสมทบ

แก้

แบทแมนมีปฏิสัมพันธ์กับทั้งวายร้ายและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ก็ได้พัฒนาเป็นกลุ่มตัวละครสมทบที่แข็งแกร่ง[52]

ศัตรู

แก้

แบทแมนเผชิญหน้ากับศัตรูที่หลากหลาย ตั้งแต่อาชญากรทั่วไปจนถึงมหาวายร้ายจากต่างโลก มีหลายคนสะท้อนแง่มุมของตัวละครและพัฒนาการของแบทแมน โดยมักมีเรื่องราวต้นกำเนิดที่น่าเศร้าที่นำพวกเขาเข้าสู่ชีวิตของอาชญากรรม[53] ศัตรูเหล่านี้มักเรียกกันว่าเป็น โรกส์แกลเลอรี ของแบทแมน "ศัตรูที่เหี้ยมที่สุด" ของแบทแมนคือ โจ๊กเกอร์ คนบ้าที่ชอบฆ่าคนและมีลักษณะเหมือนตัวตลก โจ๊กเกอร์ได้รับการยอมรับจากนักวิจารณ์ว่าเป็นศัตรูที่สมบูรณ์แบบของเขา เนื่องจากโจ๊กเกอร์เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแบทแมนในด้านบุคลิกภาพและรูปลักษณ์ โจ๊กเกอร์มีท่าทางที่บ้าคลั่งด้วยรูปลักษณ์ที่มีสีสัน ขณะที่แบทแมนมีท่าทางจริงจังและเด็ดเดี่ยวพร้อมกับรูปลักษณ์ที่มืดมน ในฐานะที่เป็น "บุคลาธิษฐานของความไม่สมเหตุสมผล" โจ๊กเกอร์เป็นตัวแทนของ "ทุกสิ่งที่แบทแมน [ต่อต้าน]"[32] ศัตรูคนอื่น ๆ ที่ปรากฏตัวเป็นประจำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโรกส์แกลเลอรีของแบทแมน ได้แก่ แคตวูแมน (แมวขโมย ซึ่งบางครั้งก็เป็นพันธมิตรและคนรัก), เดอะเพนกวิน, ราส์ อัล กูล, ทูเฟซ, เดอะริดเลอร์, เดอะสแกร์โครว, มิสเตอร์ฟรีซ, พอยซันไอวี, ฮาร์ลีย์ ควินน์, เบน, เคลย์เฟซ, คิลเลอร์คร็อก และอื่น ๆ อีกมากมาย ศัตรูของแบทแมนหลายคนมักเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ อาร์แคมอะไซลัม

พันธมิตร

แก้
อัลเฟรด

อัลเฟรด เพนนีเวิร์ธ เป็นพ่อบ้านผู้ซื่อสัตย์ของแบทแมน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน แบทแมน ฉบับที่ 16 (1943) เขาทำหน้าที่เปรียบเสมือนพ่อของบรูซ เวย์น และเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่รู้ตัวตนที่แท้จริงของเขา อัลเฟรดเลี้ยงดูบรูซตั้งแต่พ่อแม่ของเขาถูกฆาตกรรมและรู้จักเขาในระดับส่วนตัว บางครั้งอัลเฟรดก็ทำหน้าที่เป็นคู่หูของแบทแมนและผู้อาศัยคนอื่น ๆ ในคฤหาสน์เวย์น นอกเหนือจากบรูซ ตัวละคร "ให้ [ยืม] สัมผัสที่อบอุ่นกับสภาพแวดล้อมของแบทแมนและ [พร้อม] ที่จะมอบมือที่มั่นคงและความมั่นใจ" ให้กับฮีโรและคู่หูของเขา[53]

ผลกระทบทางวัฒนธรรมและมรดก

แก้

แบทแมนกลายเป็นตัวละครที่มีชื่อเสียงในวัฒนธรรมประชานิยม เป็นตัวละครที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก การปรากฏตัวของตัวละครขยายไปไกลกว่าต้นกำเนิดในหนังสือการ์ตูนของเขา มีเหตุการณ์ เช่น การฉายภาพยนตร์ แบทแมน เมื่อปี 1989 และการวางจำหน่ายสินค้าพ่วงภาพยนตร์ ที่ทำให้ "พาแบทแมนออกไปสู่แนวหน้าของสาธารณะ"[54] ในบทความฉลองครบรอบหกสิบปีของตัวละคร, เดอะการ์เดียน เขียนว่า "แบทแมนเป็นภาพที่ถูกเบลอโดยการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งนั่นก็คือวัฒนธรรมมวลชนสมัยใหม่ เขาเป็นทั้งบุคคลที่มีชื่อเสียงและสินค้าในเวลาเดียวกัน วัฒนธรรมที่สมบูรณ์แบบสำหรับศตวรรษที่ 21"[55]

ในสื่ออื่น

แก้

ตัวละครของแบทแมนปรากฏตัวในสื่อต่าง ๆ นอกเหนือจากหนังสือการ์ตูน เช่น การ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์, หนังสือ, ละครวิทยุ, โทรทัศน์, การแสดงบนเวทีและภาพยนตร์หลายเรื่อง การดัดแปลงครั้งแรกของแบทแมนคือการ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เปิดตัวครั้งแรกวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1943[56] ในปีเดียวกัน ตัวละครได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ฉายเป็นตอน จำนวน 15 ตอน ชื่อว่า แบทแมน โดยมี ลูอิส วิลสัน กลายเป็นนักแสดงคนแรกที่แสดงเป็นแบทแมนบนหน้าจอ ถึงแม้ว่าแบทแมนจะไม่มีละครวิทยุเป็นของตัวเอง ตัวละครปรากฏตัวเป็นแขกรับเชิญในละครวิทยุ ดิแอดเวนเจอร์สออฟซูเปอร์แมน เริ่มต้นในปี 1945 ในบางครั้งที่นักพากย์ซูเปอร์แมน บัด คอลล์เยอร์ จำเป็นต้องหยุดพัก[57] ภาพยนตร์ฉายเป็นตอนเรื่องที่สอง แบทแมนแอนด์โรบิน ฉายในปี 1949 โดยมี รอเบิร์ต ลาเวอรี แสดงเป็นแบทแมน การดัดแปลงในช่วงทศวรรษ 1940 นั้น "ช่วยทำให้ [แบทแมน] เป็นที่รู้จักของคนหลายล้านคนที่ไม่เคยซื้อหนังสือการ์ตูน"[57]

ในเรื่องสั้น "เดอะโจ๊กเกอร์ส์เกรเทสต์ไทรอัมฟ์" ในหนังสือรวมเรื่องสั้น คัมแบก, ดร. คาลีการี ของ โดนัลด์ บาร์ทัม ตีพิมพ์เมื่อปี 1964 แบทแมนถูกแสดงเพื่อจุดประสงค์ในการล้อเลียนเป็นคนรวยที่พูดภาษาฝรั่งเศสที่อวดเก่ง[58]

โทรทัศน์

แก้

ภาพยนตร์

แก้

หลังภาพยนตร์เรื่อง ไอ้มนุษย์ค้างคาว ที่สร้างจากละครโทรทัศน์ แสดงนำโดย แอดัม เวสต์ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1966 ยี่สิบสามปีต่อมา วอร์เนอร์บราเธอส์ ได้ฉายภาพยนตร์คนแสดงเรื่อง แบทแมน ในปี ค.ศ. 1989 กำกับโดย ทิม เบอร์ตัน และแสดงนำโดย ไมเคิล คีตัน เป็นตัวละครตามชื่อเรื่อง ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปีที่ฉายและเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ห้าในเวลานั้น[59] ภาพยนตร์ยังชนะเลิศรางวัลออสการ์ สาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม[60] ความสำเร็จของภาพยนตร์ ทำให้มีการสร้างภาคต่ออีกสามเรื่อง ได้แก่ แบทแมน รีเทิร์นส ตอน ศึกมนุษย์เพนกวินกับนางแมวป่า (1992), แบทแมน ฟอร์เอฟเวอร์ ศึกจอมโจรอมตะ (1995) และ แบทแมน & โรบิน (1997) โดยภาพยนตร์สองเรื่องหลังกำกับโดย โจเอล ชูมาเกอร์ และเปลี่ยนนักแสดงแบทแมนจากคีตันเป็น วัล คิลเมอร์และจอร์จ คลูนีย์ ตามลำดับ ภาพยนตร์เรื่องที่สองของชูมาเกอร์นั้นประสบความล้มเหลว ทั้งทำเงินได้น้อยกว่าภาพยนตร์สามเรื่องแรกและได้รับคำวิจารณ์ที่ย่ำแย่ ส่งผลให้วอร์เนอร์บราเธอส์ประกาศยกเลิกภาพยนตร์ภาคต่อซึ่งได้วางแผนเอาไว้แล้ว ชื่อว่า แบทแมน อันเชนดึด[61] และเป็นการสิ้นสุดภาพยนตร์ชุดแรก

 
คริสเตียน เบล เป็น แบทแมน ในภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน บีกินส์ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2005

แบทแมน บีกินส์ จัดจำหน่ายโดย วอร์เนอร์บราเธอส์ เมื่อปี ค.ศ. 2005 เป็นการรีบูตภาพยนตร์ชุด กำกับโดย คริสโตเฟอร์ โนแลน และแสดงนำโดย คริสเตียน เบล เป็น แบทแมน สำหรับภาพยนตร์ภาคต่อ แบทแมน อัศวินรัตติกาล (2008) ทำสถิติเป็นภาพยนตร์ทำเงินในวันเปิดตัวสุดสัปดาห์สูงสุดตลอดกาลในสหรัฐ โดยทำเงินมากกว่า 158 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[62] และกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้ไว้ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโรงภาพยนตร์อเมริกัน (หลังฉายได้เพียงสิบแปดวัน)[63] จนในที่สุดก็กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่สองในสหรัฐ (ในเวลานั้น) ด้วยจำนวนเงิน 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นรองแค่ภาพยนตร์เรื่อง ไททานิค[64] แบทแมน อัศวินรัตติกาล ยังชนะเลิศรางวัลออสการ์สองรางวัล หนึ่งในนั้นคือรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมให้กับฮีธ เลดเจอร์[65] และภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย แบทแมน อัศวินรัตติกาลผงาด (2012) เป็นการสิ้นสุดภาพยนตร์ชุดของโนแลน

ตั้งแต่ปี 2008 แบทแมนได้ปรากฏในภาพยนตร์แอนิเมชันลงแผ่นหลายเรื่อง ภายใต้แบนเนอร์ ดีซียูนิเวิร์สแอะนิเมเต็ดออริจินอลมูฟวีส์ เควิน คอนรอย กลับมารับบทเดิมให้เสียงของแบทแมนในภาพยนตร์แอนิเมชันหลายเรื่อง และมีนักแสดงที่มีชื่อเสียงคนอื่น ๆ ให้เสียงแบทแมน ได้แก่ เจเนมี ซิสโต, วิลเลียม บอลด์วิน, บรูซ กรีนวูด, เบน แมกเคนซีและปีเตอร์ เวลเลอร์[66] แบทแมนในรูปแบบเลโก้ปรากฏตัวเป็นตัวละครหลักในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง เดอะ เลโก้ มูฟวี่ (2014) โดยมี วิลล์ เออร์เนตต์ เป็นคนให้เสียงของแบทแมน[67] เออร์เนตต์กลับมารับบทให้เสียงเดิมในภาพยนตร์เรื่องแยก เดอะ เลโก้ แบทแมน มูฟวี่ (2017)[68]

ในปี 2016 เบน แอฟเฟล็ก เริ่มแสดงเป็นแบทแมนใน จักรวาลขยายดีซี ในภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม กำกับโดย แซ็ก สไนเดอร์[69] แบรนดอน สปิงค์ แสดงเป็น บรูซ เวย์น วัยเด็ก ในภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน แอฟเฟล็กยังปรากฏตัวเป็นแบทแมนในฐานะนักแสดงรับเชิญใน ทีมพลีชีพ มหาวายร้าย (2016) ของเดวิด เอเยอร์[70] แอฟเฟล็กกลับมารับบทเดิมในภาพยนตร์เรื่อง จัสติซ ลีก ในปี 2017[71][72] ซึ่งดำเนินเรื่องอยู่ในจักรวาลขยายดีซีเช่นกัน[73][74][75]

ดันเต ปาเรรา-โอลสัน แสดงเป็น บรูซ เวย์น วัยเด็กในภาพยนตร์เรื่อง โจ๊กเกอร์ เมื่อปี 2019[76][77] ในปีเดียวกัน โรเบิร์ต แพตตินสัน ได้รับคัดเลือกให้แสดงเป็นแบทแมนในภาพยนตร์เรื่อง เดอะ แบทแมน ซึ่งกำหนดฉายปี 2022[78]

หมายเหตุ

แก้
  1. แต่เดิมมีชื่อว่า เดอะ แบท-แมน

อ้างอิง

แก้
  1. Zalben, Alex (March 28, 2014). "When Is Batman's Birthday, Actually?". MTV News. New York City: Viacom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2014. สืบค้นเมื่อ August 9, 2014.
  2. 2.0 2.1 "DC Entertainment To Give Classic Batman Writer Credit in 'Gotham' and 'Batman v Superman' (Exclusive)". Hollywood Reporter. September 18, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2015. สืบค้นเมื่อ September 21, 2015.
  3. 3.0 3.1 Sims, Chris (October 21, 2015). "Bill Finger Has A Creator Credit On This Week's Batman Comics". Comics Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
  4. Gayen, Sayantan (18 August 2021). "I Am Batman #0 Comic review". Comic Book Resources. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2022. สืบค้นเมื่อ 19 August 2021.
  5. Daniels, Les. Batman: The Complete History. Chronicle Books, 1999. ISBN 978-0-8118-4232-7, p. 18
  6. Steranko, Jim. The Steranko History of Comics 1. Reading, PA: Supergraphics, 1970. (ISBN 978-0-517-50188-7)
  7. Les Daniels (April 2004). Batman – The Complete History: The Life and Times of the Dark Knight. pp. 18–20. ISBN 978-0-8118-4232-7.
  8. Daniels (1999), p. 21, 23
  9. Havholm, Peter; Sandifer, Philip (Autumn 2003). "Corporate Authorship: A Response to Jerome Christensen". Critical Inquiry. 30 (1): 192. doi:10.1086/380810. ISSN 0093-1896.
  10. Biography by Joe Desris, in The Batman Archives Volume 3 (DC Comics, 1994), p. 223. ISBN 978-1-56389-099-4
  11. Daniels, Les (1999). Batman: The Complete History. Chronicle Books. pp. 21, 23. ISBN 978-0-8118-4232-7.
  12. 12.0 12.1 Kane, Andrae, p. 44.
  13. 13.0 13.1 Kane, Andrae, p. 41.
  14. Daniels, Les. DC Comics: A Celebration of the World's Favorite Comic Book Heroes. New York: Billboard Books/Watson-Guptill Publications, 2003, ISBN 978-0-8230-7919-3, p. 23.
  15. Boichel, Bill. "Batman: Commodity as Myth." The Many Lives of the Batman: Critical Approaches to a Superhero and His Media. Routledge: London, 1991. ISBN 978-0-85170-276-6, pp. 6–7.
  16. Les Daniels (April 2004). Batman – The Complete History: The Life and Times of the Dark Knight. p. 31. ISBN 978-0-8118-4232-7.
  17. Groth, Gary (October 2005). "Jerry Robinson". The Comics Journal. 1 (271): 80–81. ISSN 0194-7869. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2013. สืบค้นเมื่อ November 18, 2007.
  18. Comic Book Artist 3. Winter 1999. TwoMorrows Publishing
  19. "Comic Book Interview Super Special: Batman" Fictioneer Press, 1989
  20. Daniels (1999), p. 25 harvp error: multiple targets (2×): CITEREFDaniels1999 (help)
  21. Wright, Bradford W. Comic Book Nation. Baltimore: Johns Hopkins, 2001. ISBN 978-0-8018-7450-5, p. 19.
  22. Daniels (1999), p. 29 harvp error: multiple targets (2×): CITEREFDaniels1999 (help)
  23. Bill Finger (w), Bob Kane (p), Sheldon Moldoff (i). "The Batman and How He Came to Be" Detective Comics #33: 1–2 (Nov. 1939), DC Comics
  24. Detective Comics #33 (Nov. 1939), Grand Comics Database เก็บถาวร 2003-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  25. John Jefferson Darowski, "The Mythic Symbols of Batman เก็บถาวร เมษายน 21, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" December 2007. Retrieved March 20, 2008. Archived on March 20, 2008.
  26. Wright, p. 17.
  27. Daniels (1999), p. 38 harvp error: multiple targets (2×): CITEREFDaniels1999 (help)
  28. Daniels (2003), p. 36[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  29. Eury, Michael (2009). The Batcave Companion: An Examination of the "New Look" (1964–1969) and Bronze Age (1970–1979) Batman and Detective Comics. Kronenberg, Michael. Raleigh, NC: TwoMorrows Pub. p. 11. ISBN 978-1-893905-78-8. OCLC 144224145.
  30. "GCD :: Issue :: Detective Comics #37". www.comics.org. สืบค้นเมื่อ April 24, 2019.
  31. Daniels (1999), p. 42 harvp error: multiple targets (2×): CITEREFDaniels1999 (help)
  32. 32.0 32.1 Boichel, p. 9.
  33. Wright (2001), p. 59
  34. Edmund Hamilton (w), Curt Swan (p). "The Mightiest Team In the World" Superman #76 (June 1952), DC Comics
  35. Daniels (1999), p. 88 harvp error: multiple targets (2×): CITEREFDaniels1999 (help)
  36. Daniels (1999), p. 91 harvp error: multiple targets (2×): CITEREFDaniels1999 (help)
  37. Daniels (1999), p. 84.
  38. Boichel, p. 13.
  39. York, Christopher (2000). "All in the Family: Homophobia and Batman Comics in the 1950s". The International Journal of Comic Art. 2 (2): 100–110.
  40. Daniels (1999), p. 94 harvp error: multiple targets (2×): CITEREFDaniels1999 (help)
  41. Dennis O'Neil Batman: Knightfall. 1994, Bantam Books. ISBN 978-0-553-09673-6
  42. Daniels, 1999[ต้องการเลขหน้า]
  43. Pearson & Uricchio (1991), p. 202
  44. Morrison, Grant (w). Batman Incorporated v2, 0 (Sept. 2012), DC Comics
  45. Scott Beatty, The Batman Handbook: The Ultimate Training Manual. 2005, Quirk Books, p51. ISBN 978-1-59474-023-7
  46. Aichele, G. (1997). "Rewriting Superman" in G. Aichele & T. Pippin (eds.), The Monstrous and the Unspeakable: The Bible as Fantastic Literature, pp. 75–101. Sheffield: Sheffield Academic Press.
  47. Superman (vol. 2) #53
  48. "Holy Wisdom, Batman!: 24 Most Famous Batman Quotes". brightdrops.com. สืบค้นเมื่อ May 13, 2019.
  49. Boucher, Geoff (August 13, 2010). "Batman versus Superman as class warfare? Grant Morrison: 'Bruce has a butler, Clark has a boss'". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2012.
  50. T. James Musler. 2006. Unleashing the Superhero in Us All.
  51. Brooker, Will (2001). Batman Unmasked. NY/London: Continuum International Publishing Group. p. 368. ISBN 978-0-8264-1343-7.
  52. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ pearson pg 186
  53. 53.0 53.1 Boichel, p. 8.
  54. Pearson, Roberta E.; Uricchio, William. "Introduction." The Many Lives of the Batman: Critical Approaches to a Superhero and His Media. Routledge: London, 1991. ISBN 978-0-85170-276-6, p. 1.
  55. Finkelstein, David; Macfarlane, Ross (March 15, 1999). "Batman's big birthday". The Guardian. London: Guardian News and Media Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2008. สืบค้นเมื่อ June 19, 2007.
  56. Daniels (1999), p. 50 harvp error: multiple targets (2×): CITEREFDaniels1999 (help)
  57. 57.0 57.1 Daniels (1999), p. 64.
  58. Olsen, Lance (November 1986). "Linguistic Pratfalls in Barthelme". South Atlantic Review. 51 (4): 69–77. doi:10.2307/3199757. JSTOR 3199757.
  59. "Batman (1989)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2007. สืบค้นเมื่อ May 27, 2007.
  60. "Batman". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. สืบค้นเมื่อ October 4, 2008.[ลิงก์เสีย]
  61. "Before 'Batman Begins': Secret History of the Movies That Almost Got Made". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2017. สืบค้นเมื่อ January 16, 2017.
  62. "Opening Weekends". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2008. สืบค้นเมื่อ July 20, 2008.
  63. "Fastest to $400 million". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2014. สืบค้นเมื่อ August 6, 2008.
  64. "All Time Domestic Box Office Results". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2008. สืบค้นเมื่อ November 23, 2008.
  65. "Academy Awards Database – Actor in a Supporting Role, 2008".[ลิงก์เสีย]
  66. "Voice(s) of Batman". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2016. สืบค้นเมื่อ January 16, 2017.
  67. Sneider, Jeff (June 26, 2012). "Super voices in play for WB's Lego movie". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2012. สืบค้นเมื่อ June 26, 2012.
  68. Kit, Borys (October 10, 2014). "'Lego Batman' Spinoff Movie in the Works at Warner Bros". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2014. สืบค้นเมื่อ October 11, 2014.
  69. "Ben Affleck To Play Batman In Warner Bros' Batman-Superman Pic; Studio Sets July 17, 2015 Release Date". Deadline Hollywood. August 22, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2013.
  70. "2016 brings Batman, Superman and the 'Dawn' of a new superhero universe, 2016". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2016.
  71. "Justice League Producers Explain Where The Movie Picks Up, 2016". Comicbook.com. 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2016.
  72. "Ben Affleck keeps the title for his Batman movie (very) simple". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2016.
  73. "Joe Manganiello Cast As Deathstroke In Ben Affleck's Batman Movie". Comicbook.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2016.
  74. "Batman standalone movie directed by Ben Affleck confirmed, 2018 release date likely". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2016.
  75. "Ben Affleck Reminds Everyone 'The Batman' Doesn't Exist Until It Does, May Have A Different Title". /Film. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2016.
  76. Davis, Brandon (October 23, 2018). "'Joker': Dante Pereira-Olson Cast as Young Bruce Wayne". ComicBook.com. สืบค้นเมื่อ October 23, 2018.
  77. Couch, Aaron (October 23, 2018). "Joker' Finds Its Young Bruce Wayne and Alfred Pennyworth". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ October 23, 2018.
  78. McNary, Dave (May 31, 2019). "Robert Pattinson Is Officially 'The Batman'". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ February 14, 2020.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้