โจ๊กเกอร์

ตัวร้ายในจักรวาลดีซี

เดอะ โจ๊กเกอร์ (อังกฤษ: The Joker) เป็นตัวร้ายที่มีพลังพิเศษซึ่งปรากฏตัวในหนังสือการ์ตูนอเมริกันที่ตีพิมพ์โดย ดีซีคอมิกส์ สร้างโดย บิล ฟิงเกอร์, บ็อบ เคนและเจอร์รี รอบินสัน ปรากฏตัวครั้งแรกในฉบับเปิดตัวของหนังสือการ์ตูน แบทแมน เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1940 เครดิตสำหรับการสร้างโจ๊กเกอร์ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน เคนและโรบินสันอ้างว่าเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบของเขา ในขณะที่ยอมรับการมีส่วนสนับสนุนการเขียนของฟิงเกอร์ แม้ว่าโจ๊กเกอร์จะถูกวางแผนให้โดนฆ่าทิ้งในระหว่างการปรากฏตัวครั้งแรกของเขา แต่เขากลับรอดมาได้ด้วยการแทรกแซงของบรรณาธิการ ทำให้ตัวละครนี้กลายเป็นศัตรูตัวฉกาจของซูเปอร์ฮีโรแบทแมน

โจ๊กเกอร์
ข้อมูลการจัดพิมพ์
ผู้จัดพิมพ์ดีซีคอมิกส์
ปรากฏตัวครั้งแรกแบทแมน #1 (ปกฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1940; ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1940)[1]
สร้างสรรค์โดย
ข้อมูลในเรื่อง
นามแฝงเรดฮูด[2]
สังกัดทีม
ความสามารถ
  • อัจฉริยะด้านการวางแผนอาชญากรรม
  • เชี่ยวชาญด้านเคมี
  • มีความสามารถในการใช้อาวุธและยาพิษ

โจ๊กเกอร์ถูกพรรณนาในจักรวาลดีซีให้เป็นผู้บงการอาชญากรรมและมีลักษณะตรงข้ามกับแบทแมนทั้งในด้านบุคลิกภาพและรูปลักษณ์ เขาถูกเปิดตัวว่าเป็นไซโคพาทที่มีอาการบิดเบี้ยวและมีอารมณ์ขันแบบซาดิสต์ แต่กลับกลายเป็นคนชอบเล่นตลกในช่วงปลายทศวรรษ 1950 เพื่อตอบสนองต่อกฎระเบียบของ หน่วยกำกับดูแลหนังสือการ์ตูน ก่อนที่จะกลับไปสู่รากเหง้าที่มืดหม่นกว่าในช่วงต้นทศวรรษ 1970 โจ๊กเกอร์เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดเรื่องราวของแบทแมน รวมถึงการฆาตกรรม เจสัน ท็อดด์โรบินคนที่สองและลูกเลี้ยงของแบทแมนใน "อะเดทอินเดอะแฟมิลี" (1988) และการอัมพาตของ บาร์บารา กอร์ดอนแบทเกิร์ลคนแรกใน เดอะคิลลิงโจ๊ก (1988) โจ๊กเกอร์ไม่มีเรื่องราวต้นกำเนิดที่ชัดเจนเหมือนกับตัวร้ายที่มีพลังพิเศษตัวอื่น แต่ก็มีเรื่องราวที่เป็นไปได้หลายอย่างที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เรื่องราวที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับเขาที่ตกลงไปในถังบรรจุสารเคมีที่ทำให้ผิวหนังของเขากลายเป็นสีขาว ผมของเขากลายเป็นสีเขียวและริมฝีปากของเขากลายเป็นสีแดงสด ความพิการที่เกิดขึ้นทำให้เขาคลั่ง

โจ๊กเกอร์ไม่มีพลังเหนือมนุษย์ แต่กลับใช้ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเคมีเพื่อพัฒนายาผสมที่มีพิษหรือถึงแก่ชีวิตและอาวุธตามธีมต่าง ๆ รวมถึง ไพ่ที่คมเหมือนปลายมีดโกน, ออดไฟฟ้าที่อันตรายถึงชีวิตและดอกไม้ติดปกเสื้อที่พ่นกรด โจ๊กเกอร์บางครั้งจะทำงานร่วมกับตัวร้ายที่มีพลังพิเศษคนอื่น ๆ ในกอแทมซิตี เช่น เพนกวินและทูเฟซ หรือทำงานเป็นกลุ่ม เช่น อินจัสติสแก๊งและอินจัสติซลีก แต่ความสัมพันธ์เหล่านี้มักจะพังทลายลงเนื่องจากความปรารถนาของโจ๊กเกอร์ที่ต้องการความโกลาหลที่ไร้ขอบเขต ตัวละครที่คบหากับโจ๊กเกอร์ คือ ฮาร์ลีย์ ควินน์ อดีตจิตแพทย์และผู้ช่วยของเขา ซึ่งถูกเปิดตัวในช่วงทศวรรษ 1990 แม้ว่าความหลงใหลหลักของเขาคือแบทแมน แต่โจ๊กเกอร์ยังต่อสู้กับฮีโรคนอื่น ๆ รวมถึง ซูเปอร์แมนและวันเดอร์วูแมน

โจ๊กเกอร์เป็นหนึ่งในตัวละครที่มีชื่อเสียงที่สุดในวัฒนธรรมประชานิยม และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในตัวร้ายในหนังสือการ์ตูนและตัวละครสมมติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างขึ้นมา เขาปรากฏตัวบนสินค้าต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าและของสะสม และยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดโครงสร้างในโลกแห่งความเป็นจริง (เช่น เครื่องเล่นในสวนสนุก) และได้รับการกล่าวถึงในสื่อต่าง ๆ โจ๊กเกอร์ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์คนแสดง, แอนิเมชันและวิดีโอเกม เขาได้รับแสดงโดย ซีซาร์ โรเมโร ในละครชุดทางโทรทัศน์ แบทแมน ในทศวรรษ 1960 และได้รับแสดงในภาพยนตร์โดย แจ็ก นิโคลสัน, ฮีธ เลดเจอร์, จาเรด เลโท, วาคีน ฟีนิกซ์และแบร์รี คีโอกัน; เลดเจอร์และฟีนิกซ์ต่างได้รับรางวัลออสการ์จากการแสดงของพวกเขา นักแสดงจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาร์ก แฮมิลล์ ให้เสียงโจ๊กเกอร์ในสื่อต่าง ๆ ตั้งแต่แอนิเมชันไปจนถึงวิดีโอเกม

ชีวประวัติของตัวละคร

แก้

โจ๊กเกอร์ได้ผ่านการแก้ไขหลายครั้งนับตั้งแต่เปิดตัวใน ค.ศ. 1940 การตีความตัวละครที่พบเห็นได้ทั่วไปที่สุดคือ ชายคนหนึ่งที่ปลอมตัวเป็นอาชญากรชื่อว่า เรดฮูด แต่ถูกแบทแมนไล่ล่าและตกลงไปในถังสารเคมีที่ฟอกสีผิว, ย้อมผมเป็นสีเขียว, แต่งริมฝีปากเป็นสีแดงและทำให้เขาวิกลจริต เหตุผลที่โจ๊กเกอร์ปลอมตัวเป็นเรดฮูดและตัวตนของเขาก่อนจะเป็นโจ๊กเกอร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา[3]

ตัวละครเปิดตัวใน แบทแมน #1 (1940) โดยเขาประกาศว่าเขาจะสังหารพลเมืองระดับสูงสามคนของเมืองก็อตแธม แม้ว่าตำรวจจะปกป้องเศรษฐี เฮนรี คลาริดจ์ ซึ่งเป็นเหยื่อรายแรกที่เขาประกาศไว้ได้ แต่โจ๊กเกอร์ได้วางยาพิษเขาไว้ก่อนจะประกาศเรื่องนี้ และคลาริดจ์ก็เสียชีวิตด้วยรอยยิ้มอันน่าสยดสยองบนใบหน้า ในที่สุดแบทแมนก็เอาโจ๊กเกอร์และส่งเขาเข้าคุก[4] โจ๊กเกอร์ก่ออาชญากรรมตั้งแต่แบบไร้สาระไปจนถึงแบบโหดร้าย ด้วยเหตุผลตามคำพูดของแบทแมนว่า "มีเหตุผลสำหรับเขาเพียงคนเดียว"[5] ดีเทกทีฟคอมิกส์ #168 (1951) นำเสนอเรื่องราวต้นกำเนิดแรกของโจ๊กเกอร์ในฐานะอดีตเรดฮูด อาชญากรสวมหน้ากากที่หายตัวไปในระหว่างการปล้นครั้งสุดท้าย หลังจากกระโดดลงไปในถังสารเคมีเพื่อหนีแบทแมน ความพิการที่เกิดขึ้นทำให้เขาคลั่งและนำชื่อ "โจ๊กเกอร์" มาใช้ หลังเขามีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกันกับไพ่ดังกล่าว[6] โจ๊กเกอร์ในยุคเงิน ได้เปลี่ยนแปลงเป็นตัวละครแสนสนุกซึ่งเริ่มต้นใน "เดอะโจ๊กเกอส์มิลเลียนส์" ใน ค.ศ. 1952 ในเรื่องนี้ โจ๊กเกอร์หมกมุ่นอยู่กับการรักษาภาพลวงตาของความร่ำรวยและชื่อเสียงในฐานะอาชญากรวีรบุรุษชาวบ้าน และกลัวที่จะให้ชาวเมืองก็อตแธมรู้ว่าเขาไม่มีเงินและถูกหลอกลวงเอาทรัพย์สมบัติของเขาไป[7] ในช่วงทศวรรษ 1970 โจ๊กเกอร์ได้กำหนดนิยามของตัวละครใหม่ในฐานะฆาตกรโรคจิต "เดอะโจ๊กเกอส์ไฟว์-เวย์รีเวนจ์" เป็นการแก้แค้นของโจ๊กเกอร์อย่างรุนแรงต่ออดีตสมาชิกแก๊งที่ทรยศต่อเขา,[8] ขณะที่ "เดอะลาฟฟิงฟิช" เล่าถึงโจ๊กเกอร์ที่ทำให้ปลามีรูปร่างผิดปกติด้วยสารเคมี เพื่อให้พวกมันจะมีรอยยิ้มอันเป็นเอกลักษณ์ของเขา พร้อมหวังที่จะทำกำไรจากลิขสิทธิ์ และการฆ่าข้าราชการที่ขวางทางเขา[9]

ลักษณะของตัวละคร

แก้

บุคลิกภาพ

แก้

ลักษณะเด่นของโจ๊กเกอร์คือความวิกลจริตอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าเขาจะไม่ได้ถูกอธิบายว่ามีอาการผิดปกติทางจิตใจใด ๆ ก็ตาม เหมือนกับคนโรคจิต เขาขาดความเห็นอกเห็นใจ ขาดจิตสำนึกและความห่วงใยในสิ่งถูกและผิด โจ๊กเกอร์ใน อาร์คัมอะไซลัม: อะซีเรียสเฮาส์ออนซีเรียสเอิร์ท ถูกอธิบายว่า สามารถประมวลผลข้อมูลจากภายนอกได้ โดยการปรับตัวเข้ากับมันเท่านั้น ซึ่งทำให้เขาสามารถสร้างบุคลิกภาพใหม่ได้ทุกวัน (ขึ้นอยู่กับว่าอะไรจะเป็นประโยชน์ต่อเขา) และอธิบายว่าทำไมในบางครั้งเขาถึงเป็นตัวตลกจอมป่วนหรือฆาตกรโรคจิต[10] โจ๊กเกอร์ใน "เดอะคลาวน์แอตมิดไนต์" (แบทแมน #663 (เมษายน 2007)) เข้าสู่ภาวะสมาธิ โดยจะประเมินตัวเองในอดีตเพื่อสร้างบุคลิกภาพใหม่โดยรู้ตัว และปรับเปลี่ยนตัวเองให้เหมาะกับความต้องการของตัวเอง[11]

ทักษะและอุปกรณ์

แก้

โจ๊กเกอร์ไม่มีพลังเหนือมนุษย์โดยกำเนิด[12] เขาก่ออาชญากรรมด้วยการใช้อุปกรณ์ที่มีอาวุธหลากหลายชนิด เช่น สำรับไพ่ที่มีปลายมีดโกน, ลูกแก้วกลิ้ง, แจ็กอินเดอะบ็อกซ์ซึ่งมีเซอร์ไพรส์ที่ไม่พึงประสงค์ และซิการ์ระเบิดที่สามารถทำลายอาคารได้ ดอกไม้บนปกเสื้อของเขาสามารถพ่นกรด และมือของเขามักจะมีออดไฟฟ้าที่อันตรายซึ่งนำไฟฟ้าได้ล้านโวลต์ แม้ว่าทั้งสองสิ่งนี้จะเปิดตัวใน ค.ศ. 1952 ในฐานะของเล่นตลกที่ไม่เป็นอันตราย[13][14] อย่างไรก็ตาม ความอัจฉริยะด้านเคมีของเขาได้สร้างอาวุธที่โดดเด่นที่สุดให้กับเขา ก็คือ "โจ๊กเกอร์เวนอม" ซึ่งเป็นสารพิษในรูปแบบของเหลวหรือก๊าซที่จะทำให้เป้าหมายหัวเราะไม่หยุด หากใช้ในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เป็นอัมพาต โคม่า หรือเสียชีวิตได้ และทำให้เหยื่อมีรอยยิ้มที่เจ็บปวดและหวาดกลัว โจ๊กเกอร์ใช้พิษมาตั้งแต่เปิดตัว มีเพียงเขาเท่านั้นที่รู้สูตร และแสดงให้เห็นว่ามีพรสวรรค์เพียงพอที่จะผลิตพิษจากสารเคมีในครัวเรือนทั่วไป พิษอีกรูปแบบหนึ่ง (ใช้ใน โจ๊กเกอร์: ลาสต์ลาฟ) ทำให้เหยื่อมีลักษณะเหมือนโจ๊กเกอร์ และเชื่อฟังคำสั่งของเขา[9][4][15][16] โจ๊กเกอร์มีภูมิคุ้มกันต่อพิษและสารพิษส่วนใหญ่ มอร์ริสันเขียนไว้ใน แบทแมน #663 (เมษายน 2007) ว่า "ด้วยความที่เป็นผู้บริโภคตัวยงของการทดลองทางเคมีของตัวเอง ภูมิคุ้มกันของโจ๊กเกอร์ต่อยาพิษที่อาจฆ่าคนอื่นได้ในพริบตานั้นได้รับการพัฒนามาจากการถูกทารุณกรรมมาอย่างยาวนาน"[17][18]

ผลกระทบและมรดกทางวัฒนธรรม

แก้
 
ซีซาร์ โรเมโร เป็น เดอะโจ๊กเกอร์ (บน) ในภาพยนตร์ ไอ้มนุษย์ค้างคาว (1966) (สร้างจากละครชุดทางโทรทัศน์ แบทแมน), ร่วมกับ เบอร์เกสส์ เมอริดิท เป็น เดอะเพนกวิน (ซ้าย) และ แฟรงค์ กอร์ชิน เป็น เดอะริดเลอร์ (กลาง)

โจ๊กเกอร์ถือเป็นหนึ่งในตัวละครสมมติที่เป็นที่จดจำและโดดเด่นมากที่สุดในวัฒนธรรมประชานิยม,[19][20][21] หนึ่งในตัวร้ายในการ์ตูนที่ดีที่สุดและหนึ่งในตัวร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[22][23] ตัวละครได้รับความนิยมอย่างมากนับตั้งแต่เปิดตัว โดยปรากฏตัวในหนังสือการ์ตูน แบทแมน เก้าจากสิบสองฉบับแรก และยังคงเป็นหนึ่งในศัตรูที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของแบทแมนตลอดการตีพิมพ์ของเขา[24] ตัวละครถือเป็นหนึ่งในสี่ตัวละครในหนังสือการ์ตูนยอดนิยม ร่วมกับ แบทแมน, ซูเปอร์แมนและสไปเดอร์-แมน[21] เมื่อดีซีคอมิกส์เผยแพร่ซีรีส์ต้นฉบับของ เกรตเตสต์สตอรีส์เอเวอร์โทลด์ (1987–1988) ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับฮีโร เช่น แบทแมนและซูเปอร์แมน โจ๊กเกอร์ก็เป็นตัวร้ายเพียงตัวเดียวที่รวมอยู่ในซีรีส์ด้วย[25] ตัวละครได้กลายเป็นหัวข้อสนทนาทางจริยธรรมเกี่ยวกับความปรารถนาของแบทแมน (ผู้ยึดมั่นในจรรยาบรรณที่ห้ามฆ่าคนโดยเด็ดขาด) ที่ช่วยชีวิตคนโดยการสังหารโจ๊กเกอร์ (ผู้สังหารคนไม่ลดละ) การถกเถียงเหล่านี้มีน้ำหนักในแง่บวก (การหยุดโจ๊กเกอร์อย่างถาวร) เทียบกับผลกระทบที่โจ๊กเกอร์มีต่อตัวละครของแบทแมน และความเป็นไปได้ที่เขาอาจเริ่มฆ่าอาชญากรทั้งหมด[26][27][28]

โจ๊กเกอร์ติดอันดับที่ 1 ในรายชื่อ "100 ตัวร้ายที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล" ของนิตยสาร วิซาร์ด ใน ค.ศ. 2006[29] ตัวละครติดอันดับที่ 5 ในรายชื่อ "200 ตัวละครในหนังสือการ์ตูนยอดเยี่ยมตลอดกาล" ของ วิซาร์ด ใน ค.ศ. 2008[30] และตัวละครติดอันดับที่ 8 ในรายชื่อ "50 ตัวละครในหนังสือการ์ตูนที่ยอดเยี่ยมตลอดกาล" ของ เอ็มไพร์ (เป็นตัวร้ายที่อยู่อันดับสูงสุดทั้งสองรายชื่อ)[31] โจ๊กเกอร์ติดอันดับที่ 2 ในรายชื่อ "100 อันดับตัวร้ายในหนังสือการ์ตูน" ของ ไอจีเอ็น ใน ค.ศ. 2009[32] และ ไวรด์ ขนานนามเขาว่าเป็น "ตัวร้ายที่มีพลังพิเศษที่ยิ่งใหญ่สุดในการ์ตูน" ใน ค.ศ. 2011[33] คอมเพล็กซ์, คอลเลจฮิวเมอร์ และ วอตคัลเชอร์ ยกย่องให้โจ๊กเกอร์เป็นตัวร้ายในหนังสือการ์ตูนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[20][12][34] ขณะที่ ไอจีเอ็น จัดให้เขาเป็นตัวร้ายอันดับหนึ่งของดีซีคอมิกส์ ใน ค.ศ. 2013[35] และ นิวส์ซารามา เป็นตัวร้ายของแบทแมนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด[36]

ความนิยมของโจ๊กเกอร์ (และบทบาทของเขาในฐานะศัตรูของแบทแมน) ส่งผลให้ตัวละครตัวนี้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ แบทแมน ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรทัศน์หรือวิดีโอเกม[2][37] การดัดแปลงตัวละครนี้ได้รับการตอบรับในเชิงบวก[38] ในภาพยนตร์,[39][40] โทรทัศน์[41] และวิดีโอเกม[42] เช่นเดียวกับในหนังสือการ์ตูน บุคลิกภาพและรูปลักษณ์ของตัวละครจะเปลี่ยนแปลงไป เขาจะเป็นคนใจร้อน, ดุร้ายหรือไม่มั่นคง ขึ้นอยู่กับผู้เขียนและกลุ่มเป้าหมาย[38]

ตัวละครเป็นแรงบันดาลใจให้กับรถไฟเหาะสวนสนุก (เดอะโจ๊กเกอส์จิงซ์,[43][44] เดอะโจ๊กเกอร์ในเม็กซิโกและแคลิฟอร์เนีย,[45][46] และเดอะโจ๊กเกอร์เคออสโคสเตอร์),[47] และปรากฏในเครื่องเล่นที่มีเนื้อเรื่อง เช่น จัสติซลีก: แบตเทิลฟอร์เมโทรโพลิส[47] โจ๊กเกอร์เป็นหนึ่งในตัวร้ายที่มีพลังพิเศษในหนังสือการ์ตูนไม่กี่ตัวที่ปรากฏอยู่บนสินค้าและของเล่นเด็ก เช่น ฟิกเกอร์แอคชัน, การ์ดสะสม, เกมกระดาน, กระปุกออมสิน, ชุดนอน, ถุงเท้าและรองเท้า[21][48] เดอะโจ๊กเกอร์โมบิลเป็นของเล่นยอดนิยม เช่น รถจำลองโลหะหล่อที่ผลิตโดย คอร์กี นั้นขายดีในช่วงทศวรรษ 1950 และรถไมโครบัสฟ็อลคส์วาเกิน ลายโจ๊กเกอร์ในยุคพลังดอกไม้ ที่ผลิตโดย เมโกคอร์ปอเรชัน ในช่วงทศวรรษ 1970[49] เดอะโจ๊กเกอร์: อะซีเรียสสตัดดีออฟเดอะคลาวน์พรินซ์ออฟไครม์ กลายเป็นหนังสือวิชาการเล่มแรกที่ได้รับการตีพิมพ์เกี่ยวกับตัวร้ายที่มีพลังพิเศษใน ค.ศ. 2015[21]

ในสื่ออื่น

แก้
มาร์ก แฮมิลล์ ให้เสียงเดอะโจ๊กเกอร์ในแอนิเมชันและวิดีโอเกมตั้งแต่ ค.ศ. 1992 ฮีธ เลดเจอร์ ได้รับรางวัลออสการ์หลังเขาเสียชีวิตจากการตีความตัวละครของเขาใน แบทแมน อัศวินรัตติกาล เมื่อ ค.ศ. 2008 วาคีน ฟินิกซ์ ได้รับรางวัลออสการ์จากการตีความตัวละครของเขาใน โจ๊กเกอร์ เมื่อ ค.ศ. 2019

เดอะโจ๊กเกอร์ปรากฏตัวในสื่อต่าง ๆ มากมาย รวมถึง ละครชุดทางโทรทัศน์, ภาพยนตร์แอนิเมชันและคนแสดง เวิลด์แคต (แคตตาล็อกห้องสมุดใน 170 ประเทศ) บันทึกผลงานกว่า 250 ชิ้นที่มีโจ๊กเกอร์เป็นหัวข้อหลัก รวมถึงภาพยนตร์, หนังสือและวิดีโอเกม,[48] และภาพยนตร์แบทแมนที่มีตัวละครนี้มักจะประสบความสำเร็จมากที่สุด[50] การดัดแปลงตัวละครบนขึ้นบนจอครั้งแรกคือในละครชุดทางโทรทัศน์ใน ค.ศ. 1966 เรื่อง แบทแมน และภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากละครชุดเรื่อง "ไอ้มนุษย์ค้างคาว" โดย ซีซาร์ โรเมโร รับบทเป็นนักเล่นตลกที่หัวเราะคิกคัก (สะท้อนให้เห็นถึงตัวละครของการ์ตูนในยุคนั้นของเขา)[19][51][52] เดอะโจ๊กเกอร์ปรากฏตัวในแอนิเมชันชุดทางโทรทัศน์เรื่อง ดิแอดเวนเจอส์ออฟแบทแมน (1968, ให้เสียงโดย เท็ด ไนต์),[53] เดอะนิวแอดเวนเจอส์ออฟแบทแมน (1977, ให้เสียงโดย เลนนี ไวน์ริบ)[54] และ เดอะซูเปอร์พาวเวอส์ทีม: กาแลกติกการ์เดียนส์ (1985, ให้เสียงโดย แฟรงค์ เวลเกอร์)[55][56]

ตัวละครโจ๊กเกอร์อีกแบบหนึ่งมีชื่อว่า แจ็ก เนเปียร์ (แสดงโดย แจ็ก นิโคลสัน) ปรากฏในภาพยนตร์ครั้งแรกใน แบทแมน เมื่อ ค.ศ. 1989 ซึ่งทำเงินในบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกมากกว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บทบาทดังกล่าวถือเป็นการแสดงที่สำคัญในอาชีพการงานของนิโคลสัน และถือว่าบดบังการแสดงของแบทแมน โดยนักวิจารณ์ภาพยนตร์ โรเจอร์ อีเบิร์ต กล่าวว่าบางครั้งผู้ชมต้องเตือนตัวเองว่าอย่าเชียร์โจ๊กเกอร์[57][58] ความสำเร็จของ แบทแมน นำไปสู่แอนิเมชันชุดทางโทรทัศน์ใน ค.ศ. 1992 เรื่อง แบทแมน: ดิแอนิเมเต็ดซีรีส์ โจ๊กเกอร์ให้เสียงโดย มาร์ก แฮมิลล์ ยังคงรักษาโทนเรื่องที่มืดหม่นของการ์ตูนเอาไว้ในเรื่องราวที่เหมาะสำหรับเด็ก[59][60] โจ๊กเกอร์ของแฮมิลล์ถือเป็นการแสดงที่สำคัญ และเขายังให้เสียงตัวละครในภาพยนตร์แยก (แบทแมน: ศึกมนุษย์หน้ากากมรณะ ใน ค.ศ. 1993 และ แบทแมนบียอนด์: รีเทิร์นออฟเดอะโจ๊กเกอร์ ใน ค.ศ. 2000), วิดีโอเกม (แบทแมน: เวนเจนซ์ ใน ค.ศ. 2001), แอนิเมชันชุดที่เกี่ยวข้อง (ซูเปอร์แมน: ดิแอนิเมเต็ดซีรีส์ ใน ค.ศ. 1996, สแตติกช็อก ใน ค.ศ. 2000 และ จัสติซลีก ใน ค.ศ. 2001), แอ็กชันฟิกเกอร์, ของเล่นและให้เสียงในสวนสนุก[61][62][63][64] โจ๊กเกอร์ที่ได้รับการออกแบบใหม่ ให้เสียงโดย เควิน ไมเคิล ริชาร์ดสัน ปรากฏตัวในแอนิเมชันชุด เดอะแบทแมน ใน ค.ศ. 2004 ริชาร์ดสันเป็นคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันคนแรกแสดงเป็นตัวละครนี้[65][66]

หลังภาพยนตร์รีบูต แบทแมน เรื่อง แบทแมน บีกินส์ (2005) ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน ประสบความสำเร็จ ซึ่งจบลงด้วยตัวอย่างการมีส่วนร่วมของโจ๊กเกอร์ในภาพยนตร์ภาคต่อ ตัวละครปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน อัศวินรัตติกาล (2008) แสดงโดย ฮีธ เลดเจอร์ ในบทบาทอวตารแห่งความโกลาหลและความสับสนวุ่นวาย[67][68] ขณะที่ แบทแมน บีกินส์ ทำเงินทั่วโลก 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[69] แบทแมน อัศวินรัตติกาล กลับทำเงินทั่วโลกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปีที่ฉาย สร้างสถิติบ็อกซ์ออฟฟิศในเวลานั้นหลายรายการ (ได้แก่ ภาพยนตร์ที่เปิดตัวในช่วงเที่ยงคืน, เปิดตัววันแรกและวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ทำเงินสูงสุด)[70][71] เลดเจอร์ได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจากการแสดงของเขา หลังเขาเสียชีวิตแล้ว ซึ่งถือเป็นรางวัลออสการ์สาขาการแสดงครั้งแรกที่ให้กับภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร[72][73] เดอะโจ๊กเกอร์ยังปรากฏตัวในโครงการแอนิเมชันมากมาย เช่น แบทแมน: เดอะเบรฟแอนด์เดอโบลด์ (2009, ให้เสียงโดย เจฟ เบนเนต)[74] และ ยังจัสติซ (2011, ให้เสียงโดย เบรนต์ สไปเนอร์)[75] สำหรับภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูน ตัวละครให้เสียงโดย จอห์น ดิมักจิโอ ใน แบทแมน ศึกจอมวายร้ายหน้ากากแดง (2010) และ แบทแมน: เดทอินเดอะแฟมิลี (2020) และให้เสียงโดย ไมเคิล อีเมอร์สัน ในภาพยนตร์สองตอนเรื่อง แบทแมน ศึกอัศวินคืนรัง (2012)[76][77]

ละครชุดทางโทรทัศน์เรื่อง ก็อตแธม นครรัตติกาล (2014–2019) สำรวจตำนานของโจ๊กเกอร์ผ่านทางพี่น้องฝาแฝด เจอโรมและเจเรไมอาห์ วาเลสกา แสดงโดย คาเมรอน โมนาฮัน[78] จาเรด เลโท แสดงเป็น โจ๊กเกอร์ ในจักรวาลขยายดีซี เริ่มต้นด้วย ทีมพลีชีพ มหาวายร้าย (2016)[79] เลโทกลับมารับเดิมใน จัสติซ ลีก ของ แซ็ค สไนเดอร์ (2021)[80] แซ็ก กาลิฟานาคิส ให้เสียวตัวละครใน เดอะ เลโก้ แบทแมน มูฟวี่ (2017)[81] ภาพยนตร์ โจ๊กเกอร์ ใน ค.ศ. 2019 ของ ท็อดด์ ฟิลลิปส์ นำเสนอเรื่องราวต้นกำเนิดของตัวละคร และแสดงนำโดย วาคีน ฟินิกซ์ เป็น อาเทอร์ แฟล็ก นักแสดงตลกเดี่ยวไมโครโฟนผู้ใฝ่ฝัน แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับความรุนแรงและการแสดงถึงอาการป่วยทางจิต แต่การแสดงของฟินิกซ์กลับได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวาง[82][83][84][85] โจ๊กเกอร์ ทำเงินทั่วโลกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำลายสถิติในบ็อกซ์ออฟฟิศในเวลานั้นและได้รับรางวัลมากมาย เหมือน แบทแมน อัศวินรัตติกาล ก่อนหน้านี้ รวมถึง รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ของฟินิกซ์[86][85][87] แบร์รี คีโอกัน ปรากฏตัวเป็นเดอะโจ๊กเกอร์ในฐานะนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง เดอะ แบทแมน (2022) ของ แมตต์ รีฟส์ โดยเขามีชื่อในเครดิตเป็น "นักโทษอาร์คัมที่มองไม่เห็น"[88]

โจ๊กเกอร์ยังปรากฏตัวในวิดีโอเกม แฮมิลล์กลับมาให้เสียงตัวละครใน แบทแมน: อาร์แคมอะไซลัม (2009) และ แบทแมน: อาร์แคมซิตี (2011) ซึ่งทั้งคู่ต่างได้รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์ และเกมผู้เล่นหลายคน ดีซียูนิเวิร์สออนไลน์[89] แฮมิลล์ถูกแทนที่โดย ทรอย เบเคอร์ ใน แบทแมน: อาร์แคมออริจินส์ (2013) และภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง แบทแมน ยุทธการถล่มอาร์คแคม ซึ่งทั้งคู่เป็นเรื่องราวก่อน อาร์แคมอะไซลัม[61][90][91][92] ขณะที่แฮมิลล์กลับมาใน แบทแมน: อาร์คแฮมไนท์ (2015) ซึ่งเกมสุดท้ายในซีรีส์ อาร์แคม[93] ริชาร์ด เอ็ปคาร์ ให้เสียงเป็นเดอะโจ๊กเกอร์ในวิดีโอเกมชุดแนวต่อสู้ ได้แก่ มอร์ทัลคอมแบต วีเอส. ดีซียูนิเวิร์ส (2008),[94] อินจัสติส: ก็อดส์อมองอัส (2013),[95] วิดีโอเกมภาคต่อ อินจัสติส 2 (2017),[96] และ มอร์ทัลคอมแบต 11 (2019)[97] ตัวละครยังปรากฏตัวใน เลโก้แบทแมน: เดอะวิดีโอเกม (2008), เลโก้แบทแมน 2: ดีซีซูเปอร์ฮีโรส์ (2012) และ ภาพยนตร์แอนิเมชันที่ดัดแปลงจากวิดีโอเกม, และ เลโก้แบทแมน 3: บียอนด์ก็อตแธม (2014) (ให้เสียงโดย คริสโตเฟอร์ คอเรย์ สมิท),[98][99][100] เช่นเดียวกับ เลโก้ดีซีซูเปอร์-วิลเลนส์ (2018) ซึ่งแฮมิลล์กลับมาให้เสียงตัวละคร แอนโทนี อิงกรูเบอร์ ให้เสียงเดอะโจ๊กเกอร์ใน แบทแมน: เดอะเทลเทลซีรีส์ (2016)[101] และภาคต่อ แบทแมน:ดิเอเนมีวิทอิน (2017)[102]

อ้างอิง

แก้
  1. Zalben, Alex (มีนาคม 28, 2014). "When Is Batman's Birthday, Actually?". New York City: MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 26, 2014. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 9, 2014.
  2. 2.0 2.1 Eason, Brian K. (July 11, 2008). "Dark Knight Flashback: The Joker, Part I". Comic Book Resources. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2014. สืบค้นเมื่อ February 23, 2014.
  3. Cohen, Alex (July 16, 2008). "The Joker: Torn Between Goof And Evil". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2014. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  4. 4.0 4.1 Kroner, Brian (December 21, 2012). "Geek's 20 Greatest Joker Moments Ever, Part II". Geek Exchange. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2013. สืบค้นเมื่อ December 27, 2013.
  5. Sanderson, Peter (May 13, 2005). "Comics in Context #84: Dark Definitive". IGN. Los Angeles, California: j2 Global. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2014. สืบค้นเมื่อ April 22, 2014.
  6. "The Origins Of! The Joker". Cracked. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2013. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  7. Manning 2011, p. 27.
  8. Patrick, Seb (July 15, 2008). "10 Essential Joker Stories". Den of Geek. London, England: Dennis Publishing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2013. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  9. 9.0 9.1 Phillips, Daniel (January 18, 2008). "Rogue's Gallery: The Joker". IGN. p. 2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2014. สืบค้นเมื่อ November 18, 2013. [T]he Joker decides to brand every fish product in Gotham with his trademark grin, going so far as to blackmail and murder copyright officials until he's compensated for his hideous innovation.
  10. Langley 2012, pp. 180–181.
  11. Weiner & Peaslee 2015, p. 217.
  12. 12.0 12.1 "100 Greatest Comic Book Villains of All Time". WhatCulture. October 6, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2014. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  13. Cronin, Brian (March 15, 2014). "When We First Met – Joker's Deadly Bag of Tricks". Comic Book Resources. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2015. สืบค้นเมื่อ January 25, 2015.
  14. Manning 2011, p. 70.
  15. Carmona, Justin Jude. "Top 10 Weapons in Comics". Comics Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2013. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  16. Manning 2011, pp. 69, 124.
  17. Morrison, Grant (w), Van Fleet, John (a). "The Clown at Midnight" Batman 663: 16 (April 2007), DC Comics
  18. Manning 2011, p. 69.
  19. 19.0 19.1 Phillips, Daniel (ธันวาคม 8, 2008). "Why So Serious?: The Many Looks of Joker". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 12, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2013.
  20. 20.0 20.1 Serafino, Jason (September 8, 2013). "The 25 Greatest Comic Book Villains of All Time". Complex. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2013. สืบค้นเมื่อ October 11, 2013.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 Michael, Karen (April 17, 2015). "Texas Tech librarian and professor publish book on Joker". Lubbock Avalanche-Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2015. สืบค้นเมื่อ April 21, 2015.
  22. Boucher, Geoff (May 6, 2009). "'Joker' creator Jerry Robinson reflects on Gotham and the golden age". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2014. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  23. Esposito, Joey (December 9, 2011). "Hero Worship: The Appeal of the Joker". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2014. สืบค้นเมื่อ January 16, 2014.
  24. Cronin, Brian (May 4, 2014). "75 Greatest Friends and Foes of Batman: Villains #5-1". Comic Book Resources. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2014. สืบค้นเมื่อ February 8, 2015.
  25. Weiner & Peaslee 2015, p. XVIII.
  26. Richards, Jesse (January 8, 2013). "Why Doesn't Batman Just Kill The Joker?". HuffPost. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2014. สืบค้นเมื่อ February 21, 2014.
  27. Davis, Lauren (มีนาคม 2, 2012). "Should Batman Kill The Joker? Perspectives From Five Famous Philosophers". ComicsAlliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2014. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2014.
  28. White, Mark D; Arp, Robert (July 25, 2008). "Should Batman kill the Joker?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2014. สืบค้นเมื่อ February 21, 2014.
  29. "Top 100 Greatest Villains". Wizard. 1 (177). July 2006.
  30. "The 200 Greatest Comic Book Characters of All Time". Wizard. May 23, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2009. สืบค้นเมื่อ April 19, 2014.
  31. "The 50 Greatest Comic Book Characters". Empire. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 8, 2012. สืบค้นเมื่อ December 26, 2013.
  32. Phillips, Daniel (2009). "Top 100 Comic Book Villains – Number 2: The Joker". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2014. สืบค้นเมื่อ January 14, 2014.
  33. Hill, Scott (ตุลาคม 27, 2011). "Comics' Greatest Supervillain? No Joke, It's the Joker". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 15, 2012. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 20, 2014.
  34. "The 25 Greatest Comic Book Villains of All-Time". CollegeHumor. กุมภาพันธ์ 20, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 16, 2014. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 16, 2014.
  35. Schedeen, Jesse (November 22, 2013). "The Top 25 Villains of DC Comics". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2014. สืบค้นเมื่อ January 14, 2014.
  36. Ching, Albert; Siegel, Lucas (October 10, 2013). "The 10 Greatest Batman Villains of All Time!". Newsarama. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2014. สืบค้นเมื่อ March 3, 2014.
  37. Patrick, Seb (December 13, 2013). "The Joker: The Nature of Batman's Greatest Foe". Den of Geek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2013. สืบค้นเมื่อ December 26, 2013.
  38. 38.0 38.1 Boucher, Geoff (August 1, 2012). "The Joker returns to 'Batman' pages, building on 72-year history". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2013. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  39. "AFI's 100 Years ... 100 Heroes & Villains". American Film Institute. June 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2012. สืบค้นเมื่อ February 3, 2014.
  40. Susman, Gary (May 6, 2013). "Super Bad: 10 Best Movie Supervillains". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2013. สืบค้นเมื่อ February 16, 2014.
  41. Bretts, Bruce; Roush, Matt (March 25, 2013). "Baddies to the Bone: The 60 Nastiest Villains of All Tim". TV Guide. pp. 14–15.
  42. "100 best villains in video games". GamesRadar. January 27, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2013. สืบค้นเมื่อ February 16, 2014.
  43. "Joker's Jinx – Six Flags America (Upper Marlboro, Maryland, USA)". Roller Coaster DataBase. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2013. สืบค้นเมื่อ October 22, 2013.
  44. Dance, Scott; Hay Brown, Matthew (August 10, 2014). "Riders rescued from Six Flags roller coaster". The Baltimore Sun. Baltimore, Maryland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2014. สืบค้นเมื่อ September 1, 2014.
  45. Grout, Pam (July 6, 2013). "Newest, biggest, baddest roller coasters for summer". Atlanta, Georgia: CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2013. สืบค้นเมื่อ February 16, 2014.
  46. "'The Joker' Roller Coaster Coming to Six Flags Discovery Kingdom in Vallejo". KNTV. September 3, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2015. สืบค้นเมื่อ September 5, 2015.
  47. 47.0 47.1 "The Joker And Harley Quinn Bring Havoc, Chaos, Twists And Spins As Two New Rides Open For The 2015 Season". Business Wire. May 22, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2015. สืบค้นเมื่อ May 22, 2015.
  48. 48.0 48.1 Weiner & Peaslee 2015, p. 19.
  49. Manning 2011, p. 75.
  50. Weiner & Peaslee 2015, p. XXI.
  51. "A brief history of the Joker". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 23, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2013.
  52. Child, Ben (March 16, 2016). "Mark Hamill, Jack Nicholson, Heath Ledger ... whose Joker was best?". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2017. สืบค้นเมื่อ June 24, 2017.
  53. Scheimer, Lou; Mangels, Andy (December 15, 2012). Creating The Filmation Generation. TwoMorrows. ISBN 9781605490441. สืบค้นเมื่อ March 22, 2024. Ted Knight was the narrator, plus he played Alfred the Butler, Commissioner Gordon, and the villains. Jane Webb did Batgirl and Catwoman and the other female characters. And I did some of the minor voice work here and there as well, for the first time.
  54. Jean-Jacques, Kethlene. "Lennie Weinrib: Joker Through the Years". Celebuzz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2013. สืบค้นเมื่อ October 19, 2013.
  55. Fritz, Steve (April 7, 2009). "Animated Shorts – Actor Lends Voice to the Joker Legacy". Newsarama. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2013. สืบค้นเมื่อ October 19, 2013.
  56. "The Super Powers Team: Galactic Guardians (1985–1986)". DC Comics.com. DC Comics. February 3, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2013. สืบค้นเมื่อ October 19, 2013.
  57. "A brief history of the Joker". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 23, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2013.
  58. Ebert, Roger (June 23, 1989). "Batman". Chicago Sun-Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2014. สืบค้นเมื่อ July 24, 2015 – โดยทาง RogerEbert.com.
  59. "Top 10 Comic to TV Adaptations". IGN. June 21, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2013. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  60. "A brief history of the Joker". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 23, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2013.
  61. 61.0 61.1 Sims, Chris (ตุลาคม 19, 2011). "Mark Hamill Retires From His Role As The Joker After 19 Years". ComicsAlliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 23, 2014. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2013.
  62. Sava, Oliver (เมษายน 18, 2011). "Mask of the Phantasm". The A.V. Club. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 7, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2013.
  63. Reilly, Jim (October 20, 2011). "Mark Hamill Retires From Joker Role". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2013. สืบค้นเมื่อ December 22, 2013.
  64. Manning 2011, p. 17.
  65. Jean-Jacques, Kethlene. "Kevin Michael Richardson: Joker Through the Years". Celebuzz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2013. สืบค้นเมื่อ October 19, 2013.
  66. Mason, Chris (September 12, 2004). "The Batman – The Review!". SuperHeroHype. CraveOnline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2013. สืบค้นเมื่อ October 19, 2013.
  67. Jolin, Dan (December 2009). "The Making of the Joker". Empire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2013. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  68. Mendelson, Scott (ตุลาคม 3, 2013). "'Cloudy 2', 'Batman Begins', And 5 More Hits That Survived "Disappointing" Debuts". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 6, 2013. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 17, 2013.
  69. "Batman Begins". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2012. สืบค้นเมื่อ October 17, 2013.
  70. Mendelson, Scott (September 17, 2013). "How 'The Dark Knight' Proved Irrelevance of Box Office Rank". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2013. สืบค้นเมื่อ October 17, 2013.
  71. McClintock, Pamela (September 2, 2012). "Box Office Milestone: 'Dark Knight Rises' Crosses $1 Billion Worldwide". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 9, 2014. สืบค้นเมื่อ October 17, 2013.
  72. Acuna, Kirsten (August 23, 2013). "Everyone Was Also Furious with the Initial Casting of Heath Ledger As The Joker". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 22, 2014. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  73. "'Slumdog Millionaire' fulfills its Oscar destiny". Today. February 23, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2014. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  74. Jean-Jacques, Kethlene. "Jeff Bennett: Joker Through the Years". Celebuzz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2013. สืบค้นเมื่อ October 19, 2013.
  75. Harris, Will (June 22, 2012). "Brent Spiner on playing Conan O'Brien, Data on Star Trek, and Brent Spiner". The A.V. Club. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2013. สืบค้นเมื่อ December 22, 2013.
  76. Melrose, Kevin (September 4, 2012). "Michael Emerson Takes On the Joker in 'Batman: The Dark Knight Returns'". Comic Book Resources. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2014. สืบค้นเมื่อ October 17, 2013.
  77. Wilkins, Alasdair (สิงหาคม 1, 2010). "Under the Red Hood cuts through Batman's baggage to reveal the dark side of his legacy". io9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2014. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 18, 2013.
  78. Patten, Dominic (April 25, 2019). "'Gotham' EPs On Tonight's "Bittersweet" Series Finale, Potential Of More Batman & Their Pride In The Show". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 26, 2019. สืบค้นเมื่อ April 27, 2019.
  79. Kroll, Justin (December 2, 2014). "'Suicide Squad' Cast Revealed: Jared Leto to Play the Joker, Will Smith is Deadshot". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2014. สืบค้นเมื่อ December 28, 2014.
  80. Kit, Borys (October 21, 2020). "Jared Leto to Play Joker in Zack Snyder's 'Justice League' (Exclusive)". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2020. สืบค้นเมื่อ October 21, 2020.
  81. Perez, Lexy (February 10, 2017). "'The Lego Batman Movie': Meet the Voices Behind Each Animated Character". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2017. สืบค้นเมื่อ June 3, 2017.
  82. Cavna, Michael (October 3, 2019). "Why 'Joker' became one of the most divisive movies of the year". The Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ October 3, 2019.
  83. Anderson, Ariston (September 7, 2019). "Venice: Todd Phillips' 'Joker' Wins Golden Lion, Roman Polanski Wins Silver Lion". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 7, 2019. สืบค้นเมื่อ September 7, 2019.
  84. Beresford, Trilby (August 31, 2019). "'Joker': What the Critics are Saying". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ October 11, 2019.
  85. 85.0 85.1 Pallotta, Frank (October 25, 2019). "'Joker' becomes the highest-grossing R-rated film ever". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2019. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.
  86. Pedersen, Erik (February 9, 2020). "Oscars: Wins By Film & Studio". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2020. สืบค้นเมื่อ February 10, 2020.
  87. Nolfi, Joey (November 15, 2019). "Joker becomes first R-rated movie to gross $1 billion worldwide". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2019. สืบค้นเมื่อ November 17, 2019.
  88. Preston, Dominic. "Who plays the Arkham prisoner in The Batman?". Tech Advisor (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-02.
  89. Armitage, Hugh (May 18, 2012). "Mark Hamill returns as Joker in 'DC Universe Online'". Digital Spy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2013. สืบค้นเมื่อ December 19, 2013.
  90. Keane, Sean (October 14, 2013). "New York Comic Con 2013: The Electrocutioner takes on the Dark Knight in 'Batman: Arkham Origins'". Daily News. New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2013. สืบค้นเมื่อ October 16, 2013.
  91. Rosenberg, Adam (October 15, 2013). "'Arkham Origins' Stars Talk The First Meeting of Batman and the Joker". Daily News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2013. สืบค้นเมื่อ October 16, 2013.
  92. "Warner Bros. Brings "Batman: Assault On Arkham" To DVD/Blu-Ray August 14". Comic Book Resources. May 7, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2014. สืบค้นเมื่อ May 7, 2014.
  93. Suellentrop, Chris (June 22, 2015). "Batman: Arkham Knight: The Kotaku Review". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2015. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
  94. Thompson, Michael (November 18, 2008). "Review: Mortal Kombat vs DC Universe". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2013. สืบค้นเมื่อ December 8, 2013.
  95. Nye Griffiths, Daniel (April 22, 2013). "Injustice: Gods Among Us – Review". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2013. สืบค้นเมื่อ December 8, 2013.
  96. Valdez, Nick (เมษายน 28, 2017). "Joker puts a smile on that face in newest Injustice 2 gameplay trailer". Destructoid. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2017. สืบค้นเมื่อ June 3, 2017.
  97. Lovece, Frank (มกราคม 16, 2020). "The Joker brings a bag of deadly surprises to Mortal Kombat 11". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 18, 2020. สืบค้นเมื่อ มกราคม 18, 2020.
  98. Watts, Steve (February 18, 2008). "Joker, Harley Quinn in LEGO Batman Screenshots". Shacknews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2013. สืบค้นเมื่อ December 26, 2013.
  99. "Anime USA Welcomes Voice Actor, Christopher Corey Smith". Anime News Network. July 22, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2013. สืบค้นเมื่อ December 19, 2013.
  100. Hannley, Steve (July 28, 2014). "Cast Featured in New LEGO Batman 3: Beyond Gotham Trailer". Hardcore Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2015. สืบค้นเมื่อ March 12, 2015.
  101. Narcisse, Evan (พฤศจิกายน 17, 2016). "A Very Familiar Smile Will Be Showing Up Next Week in the Telltale Batman Video Game". io9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 9, 2016. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 9, 2016.
  102. Romano, Nick (August 3, 2017). "Riddler returns, Joker takes a selfie in Telltale's Batman: The Enemy Within trailer". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2017. สืบค้นเมื่อ August 22, 2017.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้