แบตเทิลโทดส์อาร์เคด

แบตเทิลโทดส์อาร์เคด (อังกฤษ: Battletoads Arcade) หรือที่รู้จักในชื่อ ซูเปอร์แบตเทิลโทดส์ (อังกฤษ: Super Battletoads) หรือเพียงแค่ แบตเทิลโทดส์ (อังกฤษ: Battletoads) เป็นเกมอาร์เคดแบบเลื่อนฉาก ค.ศ. 1994 ในซีรีส์แบตเทิลโทดส์ ที่พัฒนาโดยบริษัทแรร์ และเผยแพร่โดยอิเล็กทรอนิก อาตส์ เกมภาคนี้มีผู้เล่นสูงสุดสามคนในฐานะแบตเทิลโทดส์ ที่ต่อสู้กับเอเลียนและสัตว์ฟันแทะกลายพันธุ์ผ่านหกเลเวลเพื่อคุ้มครองจักรวาลจากดาร์กควีน เกมดังกล่าวยังมีด่านแนวตั้งและด่านโบนัส คางคกแต่ละตัวมีการโจมตีที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และตามธรรมเนียมของซีรีส์นี้ ผู้เล่นสามารถน็อกศัตรูเข้าหาหน้าจอ ในแบบทำลายกำแพงที่สี่

แบตเทิลโทดส์อาร์เคด
ใบปลิวอาร์เคด
ผู้พัฒนาแรร์
ผู้จัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิก อาตส์
อำนวยการผลิตคริส สแตมเปอร์
ทิม สแตมเปอร์
[1]
ออกแบบเกร็ก เมย์เลส[1]
โปรแกรมเมอร์คริส ซูเธอร์แลนด์[1]
ศิลปินสตีฟ เมย์เลส[1]
เควิน เบย์ลิส[1]
แต่งเพลงเดวิด ไวส์[1]
ชุดแบตเทิลโทดส์
เครื่องเล่นอาร์เคด
วางจำหน่ายค.ศ. 1994
แนวบีตเอ็มอัป
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

บริษัทแรร์ได้ใช้เสรีภาพมากขึ้นด้วยความรุนแรงและการนองเลือดในแบตเทิลโทดส์อาร์เคดเนื่องจากสินค้านี้ไม่ได้รับการกำหนดไว้สำหรับคอนโซลภายในบ้าน นับเป็นเกมแรกของบริษัทแรร์ที่ใช้กราฟิกส์ 3 มิติ ซึ่งในภายหลังได้นำมาใช้ในดองกีคองคันทรี และคิลเลอร์อินสติงต์ แม้ว่าเกมจะทดลองเล่นได้ดีและมีศักยภาพทางการเงิน แต่ผู้จัดจำหน่ายลังเลที่จะวางจำหน่าย เกมดังกล่าวพิสูจน์แล้วว่าไม่ประสบความสำเร็จในระบบอาร์เคด และบริษัทแรร์ได้ยกเลิกพอร์ตในการผลิต รวมถึงการเปิดตัวเกมบอยพกพาที่เสร็จสิ้นและทดสอบแล้ว การดำเนินการที่ย่ำแย่ของแบตเทิลโทดส์อาร์เคดทำให้แฟรนไชส์หายไป 26 ปี และจบลงด้วยการรีบูตซีรีส์ใน ค.ศ. 2020

แบตเทิลโทดส์อาร์เคดได้รับการเปิดตัวในระบบคอนโซลเมื่อถูกจำลองในแรร์รีเพลย์ ค.ศ. 2015 ซึ่งเป็นการรวบรวมเกมจากประวัติศาสตร์ของบริษัทแรร์สำหรับเอกซ์บอกซ์วัน โดยเหล่านักวิจารณ์แรร์รีเพลย์ต่างประหลาดใจกับคุณภาพของเกมอาร์เคด และบางคนก็มองว่ามันเป็นไฮไลต์ของแพกเกจดังกล่าว

รูปแบบการเล่น แก้

 
ผู้เล่นตัดศีรษะศัตรูที่เป็นหนูสามตัว

แบตเทิลโทดส์อาร์เคด เป็นเกมอาร์เคดบีตเอ็มอัปสโครลิงแบบหยอดเหรียญ[2] เกมนี้มีผู้เล่นสูงสุดสามคนในฐานะแบตเทิลโทดส์ (แรช, พิมเพิล และซิตซ์) โดยต่อยและเตะศัตรูที่กำลังมาถึงผ่านหกเลเวล[3] เพื่อคุ้มครองจักรวาลทางเลือกของพวกเขาจากดาร์กควีน[4] ซึ่งแบตเทิลโทดส์เวอร์ชันอาร์เคดเป็นเกมหลายผู้เล่นแบบร่วมมือกันสามคนเกมแรก[3] ผู้เล่นควบคุมตัวละครด้วยก้านควบคุมแปดทิศทาง และสองปุ่ม (โจมตี และกระโดด)[4] ตัวละครสามารถวิ่งได้หากผู้เล่นดันก้านควบคุมสองครั้งในทิศทางเดียวกัน[5] เหล่าคางคกมีรูปแบบการต่อสู้ที่แตกต่างกัน โดยแรชนั้นว่องไว, พิมเพิลนั้นแข็งแกร่ง และซิตซ์มีความสมดุลของทั้งสองอย่าง[4] ตามธรรมเนียมของซีรีส์ดังกล่าว เหล่าคางคกสามารถน็อกศัตรูให้กระเด็นออกไปนอกจอ โดยดูเหมือนว่าพวกมันจะลอยเข้าหาผู้เล่น ในแบบทำลายกำแพงที่สี่[6][3] เหล่าคางคกยังสามารถกินแมลงวันเพื่อทำให้มีพลังชีวิตใหม่ได้[4] คางคกแต่ละตัวมีพลังและการโจมตีที่เกินจริง[3] ซึ่งแขนขาของพวกมันกลายเป็นวัตถุ เช่น ขวาน และสว่าน[6] ส่วนศัตรูประกอบด้วยเอเลียน, หนูกลายพันธุ์ และตุ๊กตาหิมะ[7]

แต่ละด่านจะมีธีมเฉพาะ เช่น "ถ้ำลอดคริสต์มาส"[3] และฉากสุดท้ายของการต่อสู้กับบอส[7] ซึ่งบอสบางตัว เช่น เจเนอรัลสลอเตอร์ ได้กลับมาจากเกมภาคก่อน[3] บางด่านแตกต่างกันในการนำเสนอและรูปแบบการเล่น บางด่านเป็นเกมต่อสู้ 2.5 มิติ รูปแบบดับเบิลดรากอน ในขณะที่บางด่านเป็นเกมสองมิติอย่างแท้จริง ซึ่งในด่านหนึ่ง เหล่าคางคกจะสวมชุดเจ็ตแพกและลงอุโมงค์ รวมถึงในด่านสุดท้าย เหล่าคางคกจะยิงศัตรูจากยานพาหนะลำหนึ่ง[4] ผู้เล่นยังสามารถทำลายยานอวกาศในด่านโบนัสสไตล์สตรีทไฟเตอร์ II[3] ทั้งนี้ แบตเทิลโทดส์อาร์เคดแสดงในภาพกราฟิกส์แรสเตอร์ความละเอียดมาตรฐานในแนวนอนพร้อมเสียงโมโนหรือสเตอริโอภายในตู้อาร์เคดตั้งตรง[4]

การพัฒนาและการตลาด แก้

เกมดังกล่าวพัฒนาโดยบริษัทแรร์ ซึ่งเผยแพร่โดยบริษัทอิเล็กทรอนิก อาตส์ และวางจำหน่ายใน ค.ศ. 1994[2] โดยเป็นเกมที่ห้าในซีรีส์แบตเทิลโทดส์ ซึ่งทิม และคริส สแตมเปอร์ ผู้ก่อตั้งบริษัทแรร์ได้สร้างซีรีส์นี้ขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความสนใจในเต่านินจา ซีรีส์แบตเทิลโทดส์—โดยเฉพาะแบตเทิลโทดส์ดั้งเดิม ค.ศ. 1991 สำหรับนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม (NES)—ได้กลายเป็นที่นิยมในตัวของมันเอง และนำไปสู่ภาคต่อหลายชุด[3][7] เนื่องจากภาคต่อนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาสำหรับอาร์เคดมากกว่าคอนโซล ทางบริษัทแรร์จึงมีอิสระมากขึ้นในการแสดงภาพความรุนแรง ซึ่งแตกต่างจากภาระผูกพันของพวกเขาในส่วนที่เหลือของซีรีส์ ในขณะที่แบตเทิลโทดส์ดั้งเดิมของนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมได้เซ็นเซอร์เลือด แบตเทิลโทดส์อาร์เคดได้แสดงเลือดและการตัดหัว (แม้ว่าจะสามารถปิดได้ในสวิตช์ดีไอพีของเกม) ส่วนดาร์กควีนก็ปรากฎในรูปแบบที่ยั่วยวนมากขึ้นเช่นกัน[2] บริษัทแรร์ได้เริ่มทดลองกับกราฟิก 3 มิติในช่วงเวลานี้ และเปลี่ยนไปใช้เพาเวอร์แอนิเมเตอร์ (ต่อมาคือออโตเดสก์ มายา) ทั้งนี้ แบตเทิลโทดส์อาร์เคดเป็นเกมของบริษัทแรร์เกมแรกที่ใช้เพาเวอร์แอนิเมเตอร์ ก่อนที่จะนำมาใช้ในคิลเลอร์อินสติงต์ และดองกีคองคันทรี[8]

แม้จะเสร็จสิ้นแล้ว แต่เกมดังกล่าวยังคงไม่ได้รับการเผยแพร่ "เป็นเวลานาน" ตามคำกล่าวของจอร์จ แอนเดรียส จากบริษัทแรร์ ซึ่งเคยทำงานในเกมนี้ เกมดังกล่าวผ่านการทดสอบการเล่นและขายดีในการทดสอบตลาด แต่การเปิดตัวไม่เป็นไปตามความคาดหวัง[9] นอกจากนี้ บริษัทแรร์ได้สร้างและทดสอบพอร์ตเกมบอยแบบพกพาของแบตเทิลโทดส์อาร์เคด แต่ได้ยกเลิกไปเนื่องจากยอดขายเกมอาร์เคดที่ย่ำแย่[10] ส่วนพอร์ตซูเปอร์แฟมิคอมยังได้รับการวางแผนและยกเลิกเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะเกมอาร์เคดได้รับการตอบรับปานกลาง[3] และเบรนดัน กันน์ จากบริษัทแรร์เคยทำงานที่พอร์ตนี้และกล่าวว่าทีมงานเกือบจะเสร็จสิ้นในระดับแรกแล้วก่อนที่โครงการดังกล่าวจะถูกยกเลิก เขาคิดว่าการตัดสินใจดังกล่าวอาจเชื่อมโยงกับยอดขายปานกลางแต่ก็ไม่แน่ใจ[9] โดยซูเปอร์แบตเทิลโทดส์ในฐานะเกมอาร์เคดดังกล่าวซึ่งเป็นที่รู้จัก[11][12] เป็นเกมที่ได้วางแผนไว้สำหรับทั้งสองพอร์ตนี้[10][13]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Rare (1994). Battletoads Arcade (Arcade). Electronic Arts. Scene: Credits.
  2. 2.0 2.1 2.2 Buchanan, Levi (มกราคม 13, 2009). "Battletoads retrospective". IGN. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-22. สืบค้นเมื่อ August 22, 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 "The Unconverted: Arcade Games that Never Made It Home – Battletoads". Retro Gamer (86): 82. February 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "Battletoads". Killer List of Videogames. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2015. สืบค้นเมื่อ August 22, 2015.
  5. "Battletoads controls". AllGame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2014. สืบค้นเมื่อ August 23, 2015.
  6. 6.0 6.1 Baker, Christopher Michael. "Battletoads Review". AllGame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2014. สืบค้นเมื่อ August 23, 2015.
  7. 7.0 7.1 7.2 Baker, Christopher Michael. "Battletoads synopsis". AllGame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2014. สืบค้นเมื่อ August 23, 2015.
  8. Milne, Rory (December 2013). "Killer Instinct". Retro Gamer (123): 49, 50.
  9. 9.0 9.1 "A Rare Glimpse". Retro Gamer (84): 34. December 2010.
  10. 10.0 10.1 Gach, Ethan (กรกฎาคม 6, 2018). "Rare Finished Making a Battletoads for Game Boy That Never Came Out". Kotaku (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 21, 2020.
  11. IGN Staff (มีนาคม 1, 2001). "Gamecube developer profile: Rare". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2015. สืบค้นเมื่อ August 22, 2015.
  12. Sarkar, Samit (พฤศจิกายน 10, 2014). "Microsoft files for Battletoads trademark". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2015. สืบค้นเมื่อ August 22, 2015.
  13. Jakobs, Benjamin (กรกฎาคม 9, 2018). "Super Battletoads sollte für den Game Boy erscheinen und war zu 100 Prozent fertig". Eurogamer (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 21, 2020.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Ars Technica: review" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Destructoid: Rare Replay" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Engadget: Rare Replay" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Gamasutra: Ratchet" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "GameSpot 2020" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Kotaku: best looking" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Polygon: ranked" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า