แคพิบารา (อังกฤษ: capybara) เป็นสัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[2] ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hydrochaeris hydrochaeris เป็นสมาชิกของสกุล Hydrochoerus และมีสมาชิกที่อยู่ในสกุลเดียวกันที่หลงเหลืออยู่นั้นคือ Hydrochoerus isthmius ญาติใกล้ชิดของแคพิบาราคือหนูตะเภา มีถิ่นอาศัยในทวีปอเมริกาใต้ ในสะวันนาและป่าหนาทึบใกล้กับแหล่งน้ำ เป็นสัตว์สังคมที่อยู่รวมกันเป็นฝูงจำนวนมาก อาจพบได้มากถึง 100 ตัว แต่ส่วนมากจะอยู่เป็นฝูงแค่ 10-20 ตัวเท่านั้น แคพิบาราถูกล่าเพื่อเอาเนื้อ, หนังและไขมัน[3] แต่ก็เป็นสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ต่ำ

แคพิบารา
ภาพถ่ายแคพิบาราที่ เปโทรโปลิส บราซิล
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับสัตว์ฟันแทะ
วงศ์: Caviidae
สกุล: Hydrochoerus
(ลินเนียส, 1766)
สปีชีส์: Hydrochoerus hydrochaeris
ชื่อทวินาม
Hydrochoerus hydrochaeris
(ลินเนียส, 1766)
ถิ่นที่อยู่
ชื่อพ้อง

Sus hydrochaeris ลินเนียส, 1766

นิรุกติศาสตร์ แก้

ชื่อวิทยาศาสตร์ทั้ง hydrochoerus และ hydrochaeris มาจากภาษากรีกโบราณที่แปลว่า ὕδωρ (hydor "น้ำ") และ χοῖρος (choiros "หมู")[4][5]

การแบ่งประเภทและวิวัฒนาการ แก้

แคพิบาราจัดอยู่ในสายพันธุ์ Hydrochoerinae [6]ในปี 2002 จากการศึกษาการวิวัฒนาการโมเลกุลของแคพิบารา ได้มีการยอมรับว่าแคพิบารามีความสัมพันธ์ใกล้กันชิดระหว่าง Hydrochoerus และ Kerodon[7]ซึ่งถือว่ามีความใกล้ชิดกับหนู[4][8][9]

ลักษณะ แก้

 
แคพิบารา

แคพิบารามีลักษณะตัวเป็นทรงกระบอก ขนสั้นสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลอมเหลือง[6] มีลักษณะคล้ายหนูตะเภา หูสั้น ไม่มีหาง มีพังผืดที่เท้า ขนสีน้ำตาลอ่อนถึงสีดำ เมื่อโตเต็มที่อายุ 15–18 เดือน จะมีน้ำหนักมากถึง 35 ถึง 66 กิโลกรัม (77 ถึง 146 ปอนด์) ลำตัวอาจยาวประมาณ 45-60 เซนติเมตร [10]ตัวเมียจะมีน้ำหนักมากกว่าตัวผู้เล็กน้อย[11][12] มีพังผืดที่ขาหลังและขาหลังจะยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย[6] เท้าหลังมี 3 นิ้วในขณะที่เท้าหน้านั้นจะมี 4 นิ้ว[13] เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง นอนแช่น้ำได้ทั้งวันแม้ในเวลาขับถ่ายหรือผสมพันธุ์ เพราะชื่นชอบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ จะขึ้นจากน้ำก็ต่อเมื่อออกหาอาหารในช่วงเช้าและเย็น[14]

อาหาร แก้

แคพิบาราเป็นสัตว์กินพืชเป็นส่วนใหญ่ซึ่งส่วนมากจะเป็นจำพวกหญ้าและพืชน้ำ[11][15]รวมไปถึงผลไม้และเปลือกไม้[12]ในฤดูแล้ง แคพิบาราจะกินพืชทุกชนิดเนื่องจากการขาดแคลนอาหาร เช่น พืชจำพวกกกหรืออ้อ พืชที่เเคปิบารากินในช่วงฤดูเเล้ง จะสูญเสียสารอาหารในฤดูหนาว [16]

สังคม แก้

แคพิบาราเป็นสัตว์สังคมแต่ถึงจะเป็นสัตว์สังคมก็มีบางตัวที่อยู่ตัวเดียว ปกติจะอยู่กันเป็นกลุ่มประมาณ 10-20 ตัว[17] และกลุ่มที่มีขนาดใหญ่อาจมีมากถึง 50-100 ตัว การที่มีกลุ่มใหญ่ขนาดนี้ก็เป็นผลมาจากการรวมตัวกันในช่วงหน้าแล้ง[18][19]

ถิ่นที่อยู่ แก้

แคพิบาราเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[12]ที่สามารถพบได้ทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ยกเว้นชิลี[6]พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่โคลอมเบีย เวเนซุเอลา จนถึงอาร์เจนตินา รวมถึงเคยพบในรัฐฟลอริดาและรัฐแคลิฟอร์เนียอีกด้วย

อ้างอิง แก้

  1. Reid, F. (2016). "Hydrochoerus hydrochaeris". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T10300A22190005. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T10300A22190005.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. Basic Biology (2015). "Rodents".
  3. Capybara (Hydrochoerus hydrochaeris) เก็บถาวร 2012-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ARKive.org
  4. 4.0 4.1 Woods, C.A.; Kilpatrick, C.W. (2005). "Infraorder Hystricognathi". ใน Wilson, D.E.; Reeder, D.M (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 1556. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
  5. Darwin, Charles R. (1839). Narrative of the surveying voyages of His Majesty's Ships Adventure and Beagle between the years 1826 and 1836, describing their examination of the southern shores of South America, and the Beagle's circumnavigation of the globe. Journal and remarks. 1832–1836. London: Henry Colburn. p. 619.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Mones, Alvaro; Ojasti, Juhani (16 June 1986). "Hydrochoerus hydrochaeris". Mammalian Species (264): 1–7. doi:10.2307/3503784. JSTOR 3503784. S2CID 250991487.
  7. Rowe, Diane L.; Honeycutt, Rodney L. (March 2002). "Phylogenetic Relationships, Ecological Correlates, and Molecular Evolution Within the Cavioidea (Mammalia, Rodentia)". Molecular Biology and Evolution. 19 (3): 263–277. doi:10.1093/oxfordjournals.molbev.a004080. PMID 11861886.
  8. Vucetich, María G.; Deschamps, Cecilia M.; Olivares, Itatí; Dozo, María T. (2005). "Capybaras, size, shape, and time: A model kit". Acta Palaeontologica Polonica. 50 (2): 259–272.
  9. Deschamps, Cecilia M.; Olivares, Itatí; Vieytes, Emma Carolina; Vucetich, María Guiomar (12 September 2007). "Ontogeny and diversity of the oldest capybaras (Rodentia: Hydrochoeridae; late Miocene of Argentina)". Journal of Vertebrate Paleontology. 27 (3): 683–692. doi:10.1671/0272-4634(2007)27[683:oadoto]2.0.co;2. JSTOR 30126368. S2CID 86217854.
  10. Capybara เก็บถาวร 2012-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Arkive
  11. 11.0 11.1 Capybara Facts. Smithsonian National Zoological Park. Retrieved on December 16, 2007.
  12. 12.0 12.1 12.2 Capybara. Palm Beach Zoo. Retrieved on December 17, 2007.
  13. "Capybara Printout". Enchantedlearning.com. สืบค้นเมื่อ 2013-05-27.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-01. สืบค้นเมื่อ 2017-05-01.
  15. Forero-Montaña, Jimena; Betancur, Julio; Cavelier, Jaime (June 2003). "Dieta del capibara Hydrochaeris hydrochaeris (Rodentia: Hydrochaeridae) en Caño Limón, Arauca, Colombia" [Distribution and abundance of Caiman crocodilus in the Caño Negro National Wild Life Refuge, Costa Rica]. Revista de Biología Tropical (ภาษาสเปน). 51 (2): 571–578. PMID 15162749.
  16. Barreto, Guillermo R.; Herrera, Emilio A. (1998). "Foraging patterns of capybaras in a seasonally flooded savanna of Venezuela". Journal of Tropical Ecology (ภาษาอังกฤษ). 14 (1): 87–98. doi:10.1017/S0266467498000078. ISSN 1469-7831.
  17. Alho, Cleber J.R.; Rondon, Nelson L. (1987). "Habitats, population densities, and social structure of capybaras (Hydrochaeris Hydrochaeris, Rodentia) in the Pantanal, Brazil". Revista Brasileira de Zoologia. 4 (2): 139–149. doi:10.1590/s0101-81751987000200006.
  18. Lord, Rexford D. (March 1994). "A descriptive account of capybara behaviour". Studies on Neotropical Fauna and Environment. 29 (1): 11–22. doi:10.1080/01650529409360912.
  19. Macdonald, D. W. (July 1981). "Dwindling resources and the social behaviour of Capybaras, (Hydrochoerus hydrochaeris) (Mammalia)". Journal of Zoology. 194 (3): 371–391. doi:10.1111/j.1469-7998.1981.tb04588.x.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้