ตึกเอ็มไพร์สเตต

(เปลี่ยนทางจาก เอ็มไพร์สเตต)

40°44′54″N 73°59′09″W / 40.7484°N 73.9858°W / 40.7484; -73.9858

ตึกเอ็มไพร์สเตต
Empire State Building
แผนที่
สถิติความสูง
เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก
ตั้งแต่ พ.ศ. 2474 ถึง 2513[I]
ก่อนหน้านี้ตึกไครส์เลอร์
(Chrysler Building)
หลังจากนี้เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1
(World Trade Center 1)
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
ประเภทสำนักงาน, หอสังเกตการณ์
สถาปัตยกรรมอลังการศิลป์
ที่ตั้ง350 ฟิฟต์อเวนิว, มิดทาวน์แมนฮัตตัน, รัฐนิวยอร์ก 10118
พิกัด40°44′54″N 73°59′07″W / 40.74833°N 73.98528°W / 40.74833; -73.98528{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้
เริ่มสร้าง17 มีนาคม พ.ศ. 2473[1]
แล้วเสร็จ11 เมษายน พ.ศ. 2474[2]
เปิดใช้งาน1 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 (93 ปี)[3]
ค่าก่อสร้าง40,948,900 ดอลลาร์สหรัฐ[7]
(595 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564)
เจ้าของเอ็มไพร์สเตทเรียลตี้ทรัสต์
ความสูง
ปลายยอด1,454 ฟุต (443.2 เมตร)[4]
เสาอากาศ204 ฟุต (62.2 เมตร)[4]
หลังคา1,250 ฟุต (381 เมตร)[4]
ชั้นบนสุด1,224 ฟุต (373.1 เมตร)[4]
ดาดฟ้าชั้น 80, 86 และ 102 (บนสุด)[4]
ขนาด
ด้านอื่น ๆ424 ฟุต (129.2 เมตร) ตะวันออก-ตะวันตก 187 ฟุต (57.0 เมตร) เหนือ-ใต้ [5]
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น102[4][5][6][a]
พื้นที่แต่ละชั้น2,248,355 ตารางฟุต (208,879 ตารางเมตร)[4]
ลิฟต์73 ตัว[4]
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกวิลเลียม เฟรเดอริก แลมบ์
ผู้พัฒนาโครงการบริษัท เอ็มไพร์สเตต จำกัด
วิศวกรโครงสร้างโฮเมอร์ เกจ บัลคอม
ผู้รับเหมาก่อสร้างสตาร์เรตต์ บราเธอร์ แอนด์ เอเกน
เว็บไซต์
esbnyc.com
ขึ้นเมื่อ24 มิถุนายน พ.ศ. 2529
เลขอ้างอิง82001192
ขึ้นเมื่อ17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525
เลขอ้างอิง82001192
อ้างอิง
I. ^ "Empire State Building". Emporis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2015.
[4][8][9]

ตึกเอ็มไพร์สเตต (อังกฤษ: Empire State Building) หนึ่งในตึกระฟ้าที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในย่านมิดทาวน์แมนแฮตตัน บนเกาะแมนแฮตตัน ในนครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ บริเวณจุดตัดของถนนฟิฟต์อเวนิว (Fifth Avenue) และถนนที่ 34 ตะวันตก (West 34 Street) นับเป็นตึกหลังแรกของโลกที่มีความสูงมากกว่า 100 ชั้น ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอเมริกัน วิลเลียม เฟรเดอริก แลมบ์ (William Frederick Lamb) เป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกนานกว่า 40 ปีนับแต่สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2474

ตึกเอ็มไพร์สเตตและเม่น้ำอีสต์ มองจากฝั่งบรุกลิน
ตึกเอ็มไพร์สเตต อดีตอาคารที่สูงที่สุดในโลกนานกว่า 40 ปี และมีตึกไครส์เลอร์เป็นฉากหลัง

สถาปัตยกรรม

แก้

ก่อสร้างโดย บริษัท สตาร์เร็ตต์ บราเธอร์ แอนด์ เอเกน จำกัด (Starrett Brothers & Eken, Inc.) เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ตัวอาคารสร้างขึ้นจากโครงเหล็กที่ถักกันอย่างแข็งแรงภายใน หุ้มผิวตึกด้วยแผ่นคอนกรีตอัดแรงคุณภาพสูง มีความสูงทั้งสิ้น 102 ชั้น มีหน้าต่างทั้งสิ้น 6,500 บาน ตึกสูงจากพื้นดิน 381 เมตร (1,250 ฟุต) ตกแต่งด้วยศิลปะแบบ อลังการศิลป์ (Art Deco) ที่นิยมในสมัยนั้น มีเนื้อที่ใช้สอยทั้งหมดประมาณ 257,211 ตารางเมตร

ปี 1954 แต่ได้มีการต่อเติมเสาอากาศเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 448.7 เมตร ในปี 1954

ปี 2012 ทางตึกได้ร่วมมือกับบริษัทด้านนวัตกรรมแห่งแสงไฟอย่าง "ฟิลิปส์" (Philips) เปลี่ยนหลอดไฟประดับอาคารเป็นแอลอีดีกว่า 15,000 ดวงทั้งหมด โดยตึกจะสามารถกระพริบไฟตามจังหวะเพลงที่ถูกเปิดจากสถานีวิทยุท้องถิ่นได้

ปี 2021 ครบรอบ 90 ปีของตึกเอ็มไพร์สเตต ทางผู้บริหารอาคารมีการปรับปรุงดาดฟ้าชั้น 102 สำหรับชมวิวแบบ 360 องศาเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นแก่นักท่องเที่ยว รวมถึงมีการปรับปรุงลิฟท์โดยสารและพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าความเป็นมาของตึกที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกแห่งนี้ เพื่อก้าวไปสู่ปีที่ 100 อย่างมั่นคง

ที่มาของชื่อตึก

แก้

ชื่อตึกหลังนี้ได้มาจากชื่อเล่นของนครนิวยอร์ก คือ "เอ็มไพร์สเตต" ( และอีกชื่อของนิวยอร์ก คือ "บิ๊ก แอ๊ปเปิ้ล") จุดที่ตั้งอาคารอยู่ใจกลางเกาะแมนแฮตตัน

การจัดลำดับความสูง

แก้

หลังจากก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) ตึกเอ็มไพร์สเตตได้รับตำแหน่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกนานกว่า 40 ปี ด้วยความสูง 381 เมตร กระทั่งตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์สร้างเสร็จในปี 1972 (พ.ศ. 2515) ได้ทำลายสถิติลงด้วยความสูงของอาคาร 417 เมตร โดยการจัดลำดับจะไม่นับความสูงของเสาอากาศ

นับจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ตึกเอ็มไพร์สเตตได้กลับมาเป็นอาคารที่สูงที่สุดในนครนิวยอร์กอีกครั้ง จนกระทั่งตึกวันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (One World Trade Center) สร้างเสร็จ ตึกนั้นจึงเป็นตึกที่สูงที่สุดในนิวยอร์ก

นับถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ตึกเอ็มไพร์สเตทมีความสูงเป็นลำดับที่ 50 ของโลก นักท่องเที่ยวสามารถซื้อตั๋วเพื่อเข้าเยี่ยมอาคารรวมถึงชมวิวจากบนยอดตึกได้

อุบัติเหตุเครื่องบินชน

แก้

เวลา 09.40 นาที ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เครื่องบินทิ้งระเบิด B - 25 Mitchell ที่มีผู้ขับคือ พันโทวิลเลียม แฟรงคลิน สมิธ (William Franklin Smith) เกิดทัศนวิสัยขัดข้องเนื่องจากหมอกหนา จึงได้เกิดประสบอุบัติเหตุพุ่งเข้าชนตึกเอ็มไพร์สเตตตรงทิศเหนือของตัวอาคาร ระหว่างชั้นที่ 79 และ ชั้นที่ 80 ในเวลานั้นส่วนนี้คือที่ทำการของสำนักงานของคณะกรรมการสวัสดิการคาทอลิกแห่งชาติ ไฟได้โหมไหม้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลิฟต์ในอาคารเสียหาย และไฟฟ้าในตัวอาคารดับนานถึง 40 นาที มีผู้เสียชีวิต 14 คน แต่แม้ว่าจะเกิดความเสียหายกับตัวอาคารเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่ แต่ไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงสร้างที่แข็งแรงของอาคาร

สัญลักษณ์วัฒนธรรมอเมริกัน

แก้
 
โปสเตอร์ภาพยนตร์ "คิงคอง"(1933)

ตึกเอ็มไพร์สเตต เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ตัวแทนของวัฒนธรรมอเมริกันสมัยใหม่ โดยจากภาพยนตร์และนวนิยายที่มักจะกล่าวถึงตึกเอ็มไพร์สเตตเสมอๆ เช่น ในภาพยนตร์ "คิงคอง" ลิงกอริลล่าขนาดใหญ่ ได้ทำลายล้างเมืองนิวยอร์กและปีนขึ้นสู่ยอดอาคารเอ็มไพร์สเตต หรือ ในวรรณกรรมเยาวชนชุด "เพอร์ซี แจ็คสัน" ได้กล่าวว่าบนยอดตึกเอ็มไพร์สเตตมีสถานที่ลับสำหรับเชื่อมต่อกับเทพปกรณัมกรีกบนพระราชวังบนยอดเขาโอลิมปัส รวมทั้งการปรากฎตัวในหนังหรือบทเพลงในฐานะสัญลักษณ์ของมหานครนิวยอร์ก

อัลบั้มรูป

แก้
ภาพพาโนราม่านครนิวยอร์ก มองจากตึกเอ็มไพร์สเตต ชั้น 86

ดูเพิ่ม

แก้
ก่อนหน้า ตึกเอ็มไพร์สเตต ถัดไป
ตึกไครส์เลอร์    
ตึกที่สูงที่สุดในโลก
(ค.ศ. 1931ค.ศ. 1972)
  ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
  1. Jackson 2010, p. 413.
  2. Langmead 2009, p. 86.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NYTimes-Open-1931
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 "Empire State Building". The Skyscraper Center. สืบค้นเมื่อ 2023-03-27.
  5. 5.0 5.1 Emporis GmbH. "Empire State Building, New York City". emporis.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2012.
  6. "Empire State Building, New York City". SkyscraperPage.com. สืบค้นเมื่อ 2023-03-27.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cost
  8. "Empire State Building". National Historic Landmark summary listing. National Park Service. September 11, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 5, 2011.
  9. "National Register Information System". National Register of Historic Places. National Park Service. January 23, 2007.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน