สโมสรฟุตบอลมาริบอร์
สโมสรฟุตบอลมาริบอร์ (สโลวีเนีย: Nogometni klub Maribor) หรือ มาริบอร์ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพ ตั้งอยู่ที่มาริบอร์ ประเทศสโลวีเนีย ก่อตั้งวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1960 เป็นหนึ่งในสามสโมสรของประเทศ ที่ไม่เคยตกชั้นจากลีกสูงสุด นับตั้งแต่ที่ลีกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1991[1][2] สโมสรเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของวงการฟุตบอลสโลวีเนีย และสโมสรตั้งอยู่ที่ภูมิภาคสตีเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลมาริบอร์ | ||
---|---|---|---|
ฉายา | Vijoličasti (สีม่วง) Vijolice (วิโอลา) Štajerski ponos (ความภาคภูมิใจของสตีเรีย) | ||
ก่อตั้ง | 12 ธันวาคม 1960 | ||
สนาม | ลิยูตสกีเวิร์ต มาริบอร์ | ||
ความจุ | 12,702 | ||
ประธานสโมสร | ดราโก โกตาร์ | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ดาร์โก มิลานิค | ||
ลีก | เปอร์วาลีกาสโลวีเนีย | ||
2022-23 | อันดับที่ 3 ในเปอร์วาลีกา | ||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | ||
|
มาริบอร์ เป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศ พวกเขาชนะเลิศเปอร์วาลีกาสโลวีเนีย 14 สมัย, สโลวีเนียนคัพ 9 สมัย และสโลวีเนียนซูเปอร์คัพอีก 4 สมัย ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือช่วงคริสตทศวรรษ 1990-2000 เมื่อพวกเขาคว้าแชมป์ลีก 7 สมัยติดต่อกัน และคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยอีก 3 สมัย ต่อมาในฤดูกาล 2008–09 มาริบอร์ยังคงยิ่งใหญ่ เมื่อคว้าแชมป์ลีกได้ 7 จาก 9 สมัยหลังสุด ก่อนที่สโลวีเนียจะได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1991 มาริบอร์เล่นในระบบฟุตบอลของยูโกสลาเวีย โดยพวกเขาคว้าแชมป์ยูโกสลาฟเซคเกินด์ลีกในปี ค.ศ. 1967 พวกเขาเป็นหนึ่งในสามสโมสรของสโลวีเนีย ที่เคยได้เล่นในยูโกสลาฟเฟิร์สลีก ซึ่งจัดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1945-1991 ในปัจจุบัน พวกเขาเป็นเพียงสโมสรเดียวของประเทศ ที่เคยได้ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม
มาริบอร์ มีคู่ปรับที่สำคัญคือ โอลิมปียา จากเมืองหลวงลูบลิยานา การแข่งขันนี้เรียกว่า อิเทอร์นัลดาร์บี (Večni derbi) แต่มาริบอร์เป็นสโมสรที่มีฐานแฟนบอลและผู้สนับสนุนมากที่สุดของประเทศ
สนามเหย้าของพวกเขาคือ ลิยูตสกีเวิร์ต ซึ่งมีความจุ 12,702 ที่นั่ง สร้างในปี ค.ศ. 1952 และสร้างใหม่ช่วงปี ค.ศ. 1990-2000 สีหลักของสโมสรคือสีม่วง
ชุดแข่งขัน
แก้สีหลักของมาริบอร์คือสีม่วง[3] โดยสโมสรมีฉายาว่า สีม่วง (Vijoličasti)[4][5] และ วิโอลา (Vijolice),[6][7] นอกจากนี้ยังสื่อถึง เดอะไวโอล ซึ่งเกี่ยวข้องกับภูมิภาคของอดีตยูโกสลาเวีย[8][9]
|
|
|
|
|
สนาม
แก้สนามลิยูตสกีเวิร์ต (อังกฤษ: People's Garden, เยอรมัน: Volksgarten) เป็นสนามเพียงแห่งเดียวในมาริบอร์ที่ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำดราวา เป็นสถานที่สำคัญทางธรรมชาติ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และกีฬาของเมืองนี้[10][11] สนามตั้งชื่อตามสวนสาธารณะที่เคยตั้งอยู่ที่นี่[10] และเคยมีหลุมฝังศพตั้งอยู่ก่อนที่สนามจะสร้างขึ้น[12][13] สนามเปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1952 และสร้างใหม่ช่วงต้นทศวรรษ 1960[10] สโมสรลงเล่นที่สนามแห่งนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 เมื่ออัฒจันทร์หลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง[10] อัฒจันทร์คอนกรีตโค้ง ยาว 129.8 เมตร สูง 18.4 เมตร[10] ต่อมาในปี ค.ศ. 1994 ได้ติดตั้งระบบแสงไฟ เพื่อให้แข่งขันในช่วงเวลาเย็นได้[10] หลังจากนั้นสนามก็มีการปรับปรุงเป็นระยะ ๆ[14] ครั้งที่สำคัญที่สุด คือในปี ค.ศ. 2008 ปัจจุบัน สนามนี้มีความจุ 12,702 ที่นั่ง[15][16]
นอกจากเป็นสนามเหย้าของมาริบอร์แล้ว ยังเป็นสนามของฟุตบอลทีมชาติสโลวีเนีย เคยใช้แข่งขันในรายการฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก และเป็น 1 ใน 2 สนามของประเทศ ที่เคยจัดแข่งขันยูโร 2012, ฟุตบอลโลก 2014 และยูโร 2016 รอบคัดเลือก[17][18][19] สถิติผู้ชมในสมัยของยูโกสลาฟ คือ 20,000 คน ส่วนในลีกของสโลวีเนีย ผู้ชมสูงสุดคือ 14,000 คน ในนัดสุดท้ายของฤดูกาล 1996–97[20][21]
เกียรติประวัติ
แก้มาริบอร์ คว้าแชมป์ลีก 14 สมัย[22] และสโลวีเนียคัพอีก 9 สมัย[23] มากที่สุดของประเทศ พวกเขาเคยคว้าแชมป์ลีกติดต่อกัน 7 สมัย[24] และเป็นสโมสรเดียวของประเทศที่คว้าดับเบิลแชมป์ถึง 4 ครั้ง และยังเป็นสโมสรเดียวที่คว้าเทรเบิลแชมป์ได้ ด้วยการชนะเลิศลีก, ถ้วย และซูเปอร์คัพในฤดูกาล 2012–13 พวกเขายังเคยเป็นหนึ่งในแชมป์ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ค.ศ. 2006[25] อย่างไรก็ตาม ถ้วยรางวัลนั้น ถูกมอบให้แก่นิวคาสเซิลยูไนเต็ดที่พัฒนาอย่างรวดเร็วแทน[26] มาริบอร์เคยจบลีกด้วยอันดับต่ำกว่าที่ 4 เพียงครั้งเดียว[27] และเป็นสโมสรแรกที่สะสมครบ 1,000 คะแนน ในลีกสูงสุด[28]
ยูโกสลาเวีย
แก้ลีก
- ชนะเลิศ (1): 1966–67
- รองชนะเลิศ (3): 1963–64, 1972–73, 1978–79
- สโลวีเนียรีพับลิกลีก (ลีกระดับที่สาม)
- ชนะเลิศ (5): 1960–61, 1975–76, 1981–82, 1983–84, 1985–86
- รองชนะเลิศ (1): 1987–88
ถ้วย
- รอบรองชนะเลิศ (1): 1967–68
- ชนะเลิศ (13): 1961, 1966, 1967, 1972–73, 1973–74, 1976–77, 1978–79, 1980–81, 1982–83, 1984–85, 1985–86, 1987–88, 1988–89
- รองชนะเลิศ (8): 1963, 1968, 1969, 1970, 1971, 1972, 1983–84, 1986–87
สโลวีเนีย
แก้ลีก
- ชนะเลิศ (15): 1996–97, 1997–98, 1998–99, 1999–2000, 2000–01, 2001–02, 2002–03, 2008–09, 2010–11, 2011–12, 2012–13, 2013–14, 2014–15, 2016–17, 2018/19
- รองชนะเลิศ (5): 1991–92, 1992–93, 1994–95, 2009–10, 2015–16
ถ้วย
- ชนะเลิศ (9): 1991–92, 1993–94, 1996–97, 1998–99, 2003–04, 2009–10, 2011–12, 2012–13, 2015–16
- รองชนะเลิศ (4): 2006–07, 2007–08, 2010–11, 2013–14
- ชนะเลิศ (4): 2009, 2012, 2013, 2014
- รองชนะเลิศ (3): 2010, 2011, 2015
ดับเบิล และเทรเบิล
แก้- ดับเบิล (ลีกและถ้วย)
- ชนะเลิศ (4): 1996–97, 1998–99, 2011–12, 2012–13 (ส่วนหนึ่งของเทรเบิล)
- เทรเบิล (ลีก, ถ้วย และซูเปอร์คัพ)
- ชนะเลิศ (1): 2012–13
อ้างอิง
แก้- ↑ "Osebna izkaznica" (ภาษาสโลวีเนีย). NK Maribor. สืบค้นเมื่อ 19 December 2010.
- ↑ Slavko Jerič; Tjaša Corn (13 May 2013). "Bozgo in Tavares edina vijolična kralja strelcev" [Bozgo and Tavares the only purple kings of the goalscorers] (ภาษาสโลวีเนีย). RTV Slovenija. สืบค้นเมื่อ 29 May 2013.
- ↑ "Simboli" [Symbols] (ภาษาสโลวีเนีย). NK Maribor. สืบค้นเมื่อ 19 December 2010.
- ↑ Nogomania (16 July 2010). "Vijoličasti v elitni druščini" [The purples in the elite group] (ภาษาสโลวีเนีย). Nogomania. สืบค้นเมื่อ 6 April 2011.
- ↑ Andrej Prebil (17 มีนาคม 2011). "Vijoličasti še drugič poraženi" [The purples defeated for the second time] (ภาษาสโลวีเนีย). RTS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2011.
- ↑ Pertoci, Tina (7 August 2010). "Nacional uspešnejši od "vijolic"" [Nacional more successful than "The Violets"] (ภาษาสโลวีเนีย). Siol. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2017. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
- ↑ T.O. (8 April 2010). "Vijolice bodo še bolj vzcvetele" [The Violets will blossom even more] (ภาษาสโลวีเนีย). RTV Slovenija. สืบค้นเมื่อ 6 April 2011.
- ↑ Z. A. (20 February 2014). "Raketa sjetjela u Maribor: Najskuplji igrač Seville asistencijama pokvario povijesno proljeće Viola u Europi!" [The Rocket has landed in Maribor: The most expensive player of Sevilla with his assists wrecked the historic European spring for Viole!] (ภาษาโครเอเชีย). Index.hr. สืบค้นเมื่อ 6 November 2014.
- ↑ Edin Isanović (15 July 2014). "Drugo pretkolo Lige prvaka: Zrinjski spremno dočekuje favorizovani Maribor" [Champions League Second Qualifying Round: Zrinjski in ready and awaits the favourites Maribor] (ภาษาบอสเนีย). Klix.ba. สืบค้นเมื่อ 6 November 2014.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 "Ljudski vrt: Zgodovina" [Ljudski vrt: History] (ภาษาสโลวีเนีย). NK Maribor.
- ↑ DC Scrap. "Stadiums at night: 25 beautiful cathedrals of sport". guyism.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2011. สืบค้นเมื่อ 28 April 2011.
- ↑ Pogrebno podjetje Maribor d.d. "Pobreško pokopališče" [Pobrežje cemetery] (ภาษาสโลวีเนีย). pp-mb.si. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011.
- ↑ RKC. "Iz Slomškovega življenja" [From Slomsek's life] (ภาษาสโลวีเนีย). zupnijambkosaki.wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 5 April 2011.
- ↑ Soccerway. "Ljudski vrt, Maribor". soccerway.com. สืบค้นเมื่อ 5 April 2011.
- ↑ "Osebna izkaznica" [Personal card] (ภาษาสโลวีเนีย). NK Maribor. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
- ↑ "O stadionu" [About stadium] (ภาษาสโลวีเนีย). sportni-objekti-maribor.si. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
- ↑ M.L. (8 May 2010). "EP 2012: Srbi in Severni Irci v Maribor, Italijani v Ljubljano" [Euro 2012: Serbs and Northern Ireland in Maribor, Italians in Ljubljana] (ภาษาสโลวีเนีย). RTV Slovenija. สืบค้นเมื่อ 5 April 2011.
- ↑ "Seznam Stojanovića, znova Ljubijankič in Pečnik" [Stojanovic selected players, again Ljubijankic and Pecnik] (ภาษาสโลวีเนีย). Football Association of Slovenia. 30 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2016. สืบค้นเมื่อ 22 March 2016.
- ↑ R.Š. (23 June 2014). "Euro 2016: Začetek kvalifikacij v Tallinu, konec v San Marinu" [Euro 2016: Start in Tallin, end in San Marino] (ภาษาสโลวีเนีย). SNPortal. สืบค้นเมื่อ 22 March 2016.
- ↑ "Prva finalna kvalifikacijska tekma za vstop v 1. Ligo" (ภาษาสโลวีเนีย). NK Maribor. สืบค้นเมื่อ 20 December 2010.
- ↑ "Zapisnik tekme Maribor:Beltinci" (ภาษาสโลวีเนีย). Slovenian PrvaLiga. 1 June 1997. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
- ↑ "Dosedanji zmagovalci" (ภาษาสโลวีเนีย). Football Association of Slovenia official website. สืบค้นเมื่อ 15 February 2011.
- ↑ "Zgodovina tekmovanja" (ภาษาสโลวีเนีย). Football Association of Slovenia official website. สืบค้นเมื่อ 15 February 2011.
- ↑ Siol (27 September 2007). "Zgodovina 1. SNL" (ภาษาสโลวีเนีย). Siol. สืบค้นเมื่อ 15 February 2011.
- ↑ "NK Maribor profile". uefa.com. UEFA. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
- ↑ BBC SPORT (16 December 2006). "Newcastle to lift Intertoto Cup". BBC SPORT. สืบค้นเมื่อ 4 April 2011.
- ↑ PrvaLiga. "Maribor: Osnovne statistike" (ภาษาสโลวีเนีย). prvaliga.si. สืบค้นเมื่อ 4 April 2011.
- ↑ "Rudar Velenje 1:2 Maribor" (ภาษาสโลวีเนีย). Slovenian PrvaLiga official website. สืบค้นเมื่อ 25 July 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (สโลวีเนีย) (อังกฤษ)
- เว็บไซต์ของผู้สนับสนุน (สโลวีเนีย)
- ข้อมูลจากเว็บลีก (สโลวีเนีย)
- ข้อมูลจากเว็บยูฟ่า