เอเสเคียล 5
เอเสเคียล 5 (อังกฤษ: Ezekiel 5) เป็นบทที่ 5 ของหนังสือเอเสเคียลในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1] หนังสือเอเสเคียลประกอบด้วยคำเผยพระวจนะที่ถือว่าเป็นของผู้เผยพระวจนะ/ปุโรหิตเอเสเคียล เป็นหนึ่งในหนังสือหมวดผู้เผยพระวจนะ[2] บทที่ 5 ของหนังสือเอเสเคียลประกอบด้วยคำเผยพระวจนะโดยใช้กลุ่มผมและเคราของผู้เผยพระวจนะที่โกนออกมาเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ (เอเสเคียล 5:1-4) แสดงถึงการพิพากษาของพระเจ้าต่อเยรูซาเล็ม (วรรค 5–11) ด้วยโรคระบาด ด้วยการกันดารอาหาร ด้วยดาบ และด้วยการกระจัดกระจายไป (วรรค 12–17) การล้อมถูกระบุถึงอีกครั้งในบทที่ 6[3]
เอเสเคียล 5 | |
---|---|
หน้าที่มีเนื้อหาของหนังสือเอเสเคียล 5:12-17 ในฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; จากคริสต์ศตวรรษที่ 6) | |
หนังสือ | หนังสือเอเสเคียล |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เนวีอีม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 7 |
หมวดหมู่ | ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 26 |
ต้นฉบับ
แก้บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 17 วรรค
พยานต้นฉบับ
แก้บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[4] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 1Q9 (1QEzek; ก่อน ค.ศ. 68) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 1;[5][6][7][8] และ 11Q4 (11QEzek; 50 ปีก่อนคริสจกาล – ค.ศ. 50) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 11–17[5][6][9][10]
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[11][11][a]
ผลของการล้อม (5:1–4)
แก้ส่วนนี้บันทึกถึง 'กิจพยากรณ์ที่สามว่าด้วยการล้อม' เพื่อแสดงถึงชะตากรรมของผู้คนที่ถูกล้อม อิสยาห์เผยพระวจนะไว้ก่อนหน้านี้เมื่อกว่าศตวรรษก่อนว่า 'ยูดาห์จะถูกโกนด้วยมีดโกนของอัสซีเรีย' (อิสยาห์ 7:20 ) เอเสเคียลแสดงกิจพยากรณ์เพื่อให้ความหมายใหม่สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้[13]
วรรค 1
แก้- "ส่วนเจ้า บุตรมนุษย์เอ๋ย จงเอาดาบคมเล่มหนึ่งมา และใช้โกนศีรษะและเคราของเจ้าอย่างมีดโกนของช่างตัดผม แล้วเอาตาชั่งน้ำหนักมาแบ่งเส้นผมเหล่านั้น"[14]
- "บุตรมนุษย์" (ฮีบรู: בן־אדם ḇen-'ā-ḏām): วลีนี้ถูกใช้ 93 ครั้งเพื่อกล่าวถึงเอเสคียล[15]
- "มีดโกน": แสดงถึง "ความพ่ายแพ้" (อิสยาห์ 7:20 )[16]
โจเซฟ เบ็นสัน (Joseph Benson) อรรถกถาจารย์ของนิกายเมทอดิสต์ตั้งข้อสังเกตว่าผม "ถือเป็นเครื่องประดับในเวลานั้น และการมีศีรษะล้านเป็นสัญลักษณ์ของความเศร้าโศก ดังนั้นการโกนผมจึงหมายถึงหายนะหรือความพินาศ"[17] การโกนผมนั้นขัดต่อธรรมบัญญัติในเลวีนิติ 21: 5 ที่ห้ามไม่ให้ปุโรหิตชาวยิวตัดผมหรือโกนเคราของตน:
- จงกล่าวแก่บรรดาปุโรหิต คือบุตรหลานของอาโรน และสั่งพวกเขาว่า ... ห้ามโกนศีรษะหรือกันเครา หรือเชือดเนื้อตัวเอง[18]
วรรค 3
แก้- "แล้วจงเอาเส้นผมพวกนั้นหน่อยหนึ่งมาห่อไว้ในเสื้อคลุมของเจ้า"[19]
จำหนวนหน่อยหนึ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ถึงคนที่เหลืออยู่จากชาวยูดาห์ที่รอดชีวิต[20]
ความหมายของหมายสำคัญเรื่องการล้อม (5:5–17)
แก้หลังระบุถึงภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับเมืองที่ถูกล้อมในไม่ช้า ในที่สุดก็เปิดเผยว่าเมื่องนี้คือเยรูซาเล็ม (วรรค 5) ด้วยมาด้วยเหตุผลของคำเผยพระวจนะ (วรรค 5–6a) และการพิพากษาของพระเจ้าต่อเมืองนั้น (วรรค 8ff)[21]
ดูเพิ่ม
แก้- บุตรมนุษย์
- เยรูซาเล็ม
- ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: เอเสเคียล 3, เอเสเคียล 4, เอเสเคียล 6
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Carley 1974, pp. 35–39.
- ↑ Theodore Hiebert et al., 1996. The New Interpreter's Bible: Volume VI. Nashville: Abingdon.
- ↑ Clements 1996, p. 26.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ 5.0 5.1 Ulrich 2010, p. 586.
- ↑ 6.0 6.1 Dead sea scrolls - Ezekiel
- ↑ Fitzmyer 2008, p. 19.
- ↑ 1Q9 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
- ↑ Fitzmyer 2008, p. 110.
- ↑ 11Q4 - 11QEzek at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
- ↑ 11.0 11.1 Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ Shepherd, Michael (2018). A Commentary on the Book of the Twelve: The Minor Prophets. Kregel Exegetical Library. Kregel Academic. p. 13. ISBN 978-0825444593.
- ↑ Carley 1974, p. 35.
- ↑ เอเสเคียล 5:1 THSV11
- ↑ Bromiley 1995, p. 574.
- ↑ Coogan 2007, p. 1187 Hebrew Bible.
- ↑ Benson, J., Benson Commentary on Ezekiel 5, accessed 28 October 2019
- ↑ เลวีนิติ 21:1,5
- ↑ เอเสเคียล 5:3 THSV11
- ↑ Poole, M., Matthew Poole's Commentary on Ezekiel 5, accessed 28 October 2019
- ↑ Carley 1974, p. 38.
บรรณานุกรม
แก้- Bromiley, Geoffrey W. (1995). International Standard Bible Encyclopedia: vol. iv, Q-Z. Eerdmans. ISBN 9780802837844.
- Carley, Keith W. (1974). The Book of the Prophet Ezekiel. Cambridge Bible Commentaries on the New English Bible (illustrated ed.). Cambridge University Press. ISBN 9780521097550.
- Clements, Ronald E. (1996). Ezekiel. Westminster John Knox Press. ISBN 9780664252724.
- Coogan, Michael David (2007). Cooganv, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810.
- Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature. Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. ISBN 9780802862419. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
- Galambush, J. (2007). "25. Ezekiel". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 533–562. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Joyce, Paul M. (2009). Ezekiel: A Commentary. Continuum. ISBN 9780567483614.
- Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.