เอชทีซี ดรีม (อังกฤษ: HTC Dream) หรือรู้จักกันในชื่อ ทีโมบายล์ จี1 ในสหรัฐอเมริกา และในทวีปยุโรป และในชื่อ อีรา จี1 ในประเทศโปแลนด์ เป็นสมาร์ตโฟน ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่ถูกผลิตโดยเอชทีซี ถูกวางขายเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 โดย ดรีม เป็นอุปกรณ์เครื่องแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ซึ่งถูกซื้อ และพัฒนาใหม่โดยกูเกิล และเป็นโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ที่จะใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ มาเป็นคู่แข่งกับผู้ผลิตสมาร์ตโฟนยี่ห้ออื่น ๆ เช่น ซิมเบียน, แบล็คเบอร์รี และไอโฟน[3][4] ระบบปฏิบัติการมีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ที่ถูกปรับแต่ง พร้อมกับเพิ่มบริการของกูเกิลเข้าไป เช่น จีเมล และระบบการแจ้งเตือนที่สามารถแสดงรายการข้อความเข้าล่าสุดจากแอปพลิเคชันได้ และยังมี แอนดรอยด์ มาร์เก็ต สำหรับดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพิ่มเติมได้

เอชทีซี ดรีม
HTC Dream
ผู้พัฒนาเอชทีซี
ผู้ผลิตเอชทีซี
ซีรีส์เอซีรีส์
ขายในประเทศ22 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (สหรัฐอเมริกา)
30 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (สหราชอาณาจักร)
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (ประเทศออสเตรเลีย)
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (ประเทศสิงคโปร์)
2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (ประเทศแคนาดา)
รุ่นถัดไปเอชทีซี ดีไซร์แซด (ทีโมบายล์ จี2)
ลักษณะการออกแบบสมาร์ตโฟน แบบสไลด์
ขนาดสูง 117.7 mm (4.63 in)
กว้าง 55.7 mm (2.19 in)
หนา 17.1 mm (0.67 in)
น้ำหนัก158 g (5.6 oz)
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 1.0 (สามารถอัปเกรดเป็น 1.6) [1][2]
ซีพียู528 เมกาเฮิรตซ์ ควอล์คอมม์ เอ็มเอสเอ็ม7201เอ เออาร์เอ็ม 11
หน่วยความจำระบบ256 เมกะไบต์
หน่วยความจำ192 เมกะไบต์
หน่วยความจำภายนอกไมโครเอสดี สูงสุด 16 จิกะไบต์
แบตเตอรี่3.7 โวลต์ 1150 มิลลิแอมแปร์
ลิเทียมไอออน สามารถถอดแบตเตอรีได้
การป้อนข้อมูลจอสัมผัส, คีย์บอร์ดเควอร์ตี, แทร็กบอล
จอแสดงผล320 x 480 พิกเซล, 3.2 in (81 mm), เอชวีจีเอ 65,536 สี แอลซีดี ความละเอียด 180 พิกเซลต่อนิ้ว
กล้องหลัง3.2 ล้านพิกเซล พร้อมออโตโฟกัส
การเชื่อมต่อไวไฟ (802.11b/g), บลูทูธ 2.0+อีดีอาร์, เอ็กต์ยูเอสบี, เอจีพีเอส
ควอดแบนด์ จีเอสเอ็ม 850 900 1800 1900 เมกาเฮิรตซ์ จีพีอาร์เอส/เอดจ์
ดูอัลแบนด์ ยูเอ็มทีเอส 1700 2100 เมกาเฮิรตซ์ เอชเอสดีพีเอ/เอชเอสยูพีเอ (สหรัฐฯ/ยุโรป) (7.2/2 เมกาบิตต่อวินาที)

เอชทีซี ดรีม ได้รับการออกแบบด้วยการใช้ฮาร์ดแวร์ที่ดูมั่นคง, ทนทาน และดูมีประสิทธิภาพ ส่วนเรื่องการแนะนำระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นั้น ยังมีข้อบกพร่องในหลาย ๆ ส่วนจากคำวิจารณ์ ของนักวิจารณ์ ในเรื่องของการทำงานของซอฟต์แวร์เมื่อเทียบกับระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ในยุคนั้น แต่ก็ยังคงเป็นนวัตกรรมใหม่ เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการเปิด มีการแจ้งเตือนต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้บริการของกูเกิล

ประวัติ

แก้

การพัฒนา

แก้

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 กูเกิลได้ทำการซื้อบริษัทแอนดรอยด์ เข้ารวมกับบริษัท โดยบริษัทแอนดรอยด์มีประธานบริษัทคือ แอนดี รูบิน ซึ่งกำลังทำงานในการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ต่อมาภายใต้การทำงานของกูเกิล มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการมาตรฐานบนระบบปฏิบัติการลินุกซ์ สำหรับโทรศัพท์มือถือ เพื่อที่จะแข่งขันกับซิมเบียน และ วินโดวส์ โมเบิล ซึ่งก่อนที่จะเป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นั้นมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการภายใต้ชื่อรหัสว่า "ซูเนอร์" (อังกฤษ: Sooner ;แปลว่า เร็ว) โดยอุปกรณ์จะต้องสามารถส่งข้อความได้คล้ายกับแบล็คเบอร์รี, มีขนาดเล็ก, ไม่มีจอสัมผัส, มีปุ่มนำทาง และคีย์บอร์ดเควอร์ตี ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการเปิดตัวไอโฟน โดยแอปเปิล ซึ่งเป็นสมาร์ตโฟนเครื่องแรกของบริษัท ทำให้รูบินต้องรีบตัดสินใจและเร่งโครงการนี้ให้เสร็จโดยไว และเปลี่ยนชื่อรหัสใหม่เป็น "ดรีม" (อังกฤษ: Dream ;แปลว่า ความฝัน) ซึ่งจะเป็นสมาร์ตโฟนจอสัมผัสพร้อมกับคีย์บอร์ดที่สามารถเลื่อนออกมาจากตัวเครื่องได้ เพราะนักพัฒนาแอนดรอยด์เชื่อว่าผู้ใช้จะไม่ชอบแป้นพิมพ์เสมือนจริง แต่จะชอบแป้นพิมพ์ฮาร์ดแวร์มากกว่า[5][6][7]

อ้างอิง

แก้
  1. "HTC.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-03. สืบค้นเมื่อ 2013-06-17.
  2. Techshout.com
  3. "T-Mobile Unveils the T-Mobile G1 — the Second Phone Powered by Android". HTC. สืบค้นเมื่อ 19 May 2009.
  4. Holson, Laura (14 August 2008). "Smartphone Is Expected via Google". New York Times. สืบค้นเมื่อ 15 August 2008. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. "The Day Google Had to 'Start Over' on Android". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 20 December 2013.
  6. Elgin, Ben (August 17, 2005). "Google Buys Android for Its Mobile Arsenal". Bloomberg Businessweek. Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
  7. Block, Ryan (August 28, 2007). "Google is working on a mobile OS, and it's due out shortly". Engadget. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้