เหตุแทงคนในนิส พ.ศ. 2563

เมื่อเช้าของวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ได้มีผู้เสียชีวิต 3 คนจากการถูกแทงด้วยมีดที่มหาวิหารแม่พระแห่งนิสอันเป็นมหาวิหารโรมันคาทอลิกในเมืองนิส ประเทศฝรั่งเศส โดยชายผู้ตะโกนว่า "อัลลอฮุอักบัร!"[2] ผู้ต้องหาเป็นชาวตูนิเซียซึ่งถูกตำรวจยิงก่อนที่จะนำตัวไปคุมขัง[3] นายกเทศมนตรีเมืองนิสได้กล่าวว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็น "เหตุโจมตีก่อการร้าย" โดยกล่าวว่าเป็นผลมาจากแนวคิดอิสลามสุดโต่ง[4][5]

เหตุแทงคนในนิส พ.ศ. 2563
เป็นส่วนหนึ่งของการก่อการร้ายอิสลามในยุโรป
และการก่อการร้ายในประเทศฝรั่งเศส
ถนนด้านหน้ามหาวิหารแม่พระแห่งนิสถูกตำรวจฝรั่งเศสปิดหลังเกิดเหตุ
แผนที่
สถานที่มหาวิหารแม่พระแห่งนิส นิส ประเทศฝรั่งเศส
วันที่29 ตุลาคม ค.ศ. 2020 (2020-10-29)
ประเภทการแทง
อาวุธมีด
ตาย3 คน
เจ็บ1 คน (ผู้ก่อการร้าย)
ผู้ต้องหาอิบรอฮีม อัลอิสซาวี[1]
เหตุจูงใจอิสลามสุดโต่ง

ภูมิหลัง แก้

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศฝรั่งเศสตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีก่อการร้ายของกลุ่มญิฮาดซึ่งขับเคลื่อนโดยรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ พร้อมกับผู้ก่อการร้ายแบบกระทำการคนเดียวซึ่งได้รับแนวคิดเหล่านี้จากสองกลุ่มข้างต้น เมืองนิสเคยเกิดเหตุมาแล้วในการโจมตีโดยใช้รถบรรทุกไล่ชนผู้คน เมื่อปี พ.ศ. 2559 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 86 คน สถานที่เกิดเหตุขึ้นห่างจากที่เกิดเหตุปัจจุบันไป 0.8 กิโลเมตร (0.50 ไมล์) 12 วันต่อมาหลังเกิดเหตุโจมตีในปี พ.ศ. 2559 ฌัก อาแมล ถูกฆาตรกรรมในเหตุโจมตีที่โบสถ์ในแคว้นนอร์ม็องดี[4][6]

สี่สัปดาห์ก่อนเกิดเหตุ แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้กล่าวว่า ศาสนาอิสลามกำลังตกอยู่ "ในสภาวะวิกฤต" ทั่วทุกมุมโลก อันเป็นการสร้างความไม่พอใจแก่ชาวมุสลิมอย่างมาก โดยเขารับปากว่าจะเสนอร่างกฎหมายโดยเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฏหมายในปี พ.ศ. 2448 ว่าด้วยจะแยกคริสตจักรกับรัฐออกจากกันภายในประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ[7] สองสัปดาห์ต่อมา ซามุแอล ปาตี ครูสอนประวัติศาสตร์ถูกถูกฆาตกรรมและตัดศีรษะในกงฟล็อง-แซ็งตอนอรีน โดยเยาวชนอายุ 18 ปี เป็นชาวเชเชนมุสลิมซึ่งได้รับสถานะผู้ลี้ภัยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 หลังจากที่ครูแสดงภาพการ์ตูนจากนิตยสาร ชาร์ลีแอบโด ซึ่งมีภาพการล้อเลียนศาสดามุฮัมมัดให้นักเรียนดู[8] หลังจากเหตุฆาตกรรม มาครงได้กล่าวว่า นิตยสารการ์ตูนนี้สามารถแสดงภาพล้อเลียนของศาสดามุฮัมมัดได้ เพราะเป็นเรื่องของเสรีภาพในการแสดงออก จากเหตุการณ์การกล่าวของมาครงนั้น เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีตุรกี ได้เรียกร้องให้อารยประเทศคว่ำบาตรสินค้าที่ผลิตในประเทศฝรั่งเศส เกิดการประท้วงจำนวนมากในประเทศมุสลิม โดยมีการเผารูปภาพของมาครง และการชุมนุมต่อต้านฝรั่งเศสอย่างรุนแรง[9]

เหตุการณ์ แก้

 
มหาวิหารแม่พระแห่งนิส สถานที่เกิดเหตุ

เหตุโจมตีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30 นาฬิกา ภายในบริเวณมหาวิหารแม่พระแห่งนิส อันเป็นมหาวิหารโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ใจกลางในเมืองนิส[10] ผู้ก่อเหตุได้สังหาร 3 คน โดยหนึ่งในนั้นเป็นผู้หญิงโดยตอนแรกถูกระบุว่าโดนมีดตัดศีรษะ ต่อมา ถูกระบุอย่างเป็นทางการว่ามีบาดแผลขนาดลึกตรงลำคอของผู้เสียชีวิตเท่านั้น[2][3][11][12][13]

เหตุโจมตีเกิดขึ้นในระยะเวลา 28 นาที ในระหว่างนั้น ผู้ก่อเหตุตะโกนคำว่า "อัลลอฮุอักบัร!" ตลอดเวลา ตำรวจพื้นที่สี่นายเข้าระงับเหตุโดยการยิงใส่ผู้ก่อเหตุ ในขณะระหว่างปะทะผู้ก่อเหตุยังคงตะโกนว่า "อัลลอฮุอักบัร" จากนั้นเข้าจึงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลด้วยอาการบาดเจ็บสาหัส[11][14] วัตถุพยานในที่เกิดเหตุพบว่ามีคัมภีร์อัลกุรอาน, มีด 3 เล่ม, และโทรศัพท์ 2 เครื่อง[10]

เฌราลด์ ดาร์มาแน็ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศส กล่าวว่า ตำรวจเข้าควบคุมภายในเมืองเป็นที่เรียบร้อย[3] หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิดประจำการในที่เกิดเหตุ หน่วยต่อต้านการก่อร้ายเข้าพื้นที่ลานตระเวนรอบพื้นที่ของมหาวิหาร[15]

ผู้ก่อเหตุ แก้

ผู้ต้องหาที่เชื่อได้ว่าก่อเหตุโจมตี เป็นชายชาวตูนิเซียอายุ 21 ปี มีชื่อว่า อิบรอฮีม อัลอิสซาวี (อาหรับ: إبراهيم العيساوي) เขาเติบโตขึ้นในเมืองสฟักซ์, ประเทศตูนิเซีย เขาเดินทางออกนอกประเทศในฐานะผู้อพยพ จุดหมายปลายทางแรกของเขาเริ่มที่เกาะลัมปูเดซา, ประเทศอิตาลี ท่ามกลางการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศตูนิเซีย[16] เขาเลยถูกกักตัวเพื่อตรวจหาเชื้อเป็นระยะเวลา 20 วัน โดยเวลาส่วนใหญ่ในการกักตัว เขามักจะใช้เวลากับโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่[17] จากการรายงานจาก กอร์เรียเร เดลลา เซรา หนังสือพิมพ์รายวันของประเทศอิตาลี อัลอิสซาวีได้ถูกแจ้งให้ออกจากประเทศ เนื่องจากการเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย โดยกำหนดระยะเวลาสำหรับการออกจากประเทศแบบสมัครใจถึงวันที่ 9 ตุลาคม แต่ความเคลื่อนไหวของเขาก็ไม่ได้รับการติดตาม[16] แทนที่เขาควรออกจาประเทศอิตาลี เขากลับไปยังเมืองบารี เมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศแทน โดยไม่มีข้อบ่งชี้ถึงความร่วมมือใด ๆ จากเขา[6][18] หลังจากที่เขาถึงเมืองบารี เขาเดินทางต่อไปยังเมืองนิส ประเทศฝรั่งเศสในวันต่อมา[19][20] เขาเข้ามาในประเทศโดยได้รับการอำนวยความสะดวกเป็นบัตรประจำตัวผู้ลี้ภัย ออกโดยผู้ลี้กัยกาชาด (องค์กรนอกภาครัฐ)[21]

จากบทสัมภาษณ์ของสำนักข่าว อัลอราบียา ภายหลังจากเหตุโจมตี แม่ของอัลอิสซาวีได้กล่าวว่า เธอรู้สึกประหลาดใจเมื่อลูกของเธอไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส เพราะเขาไม่รู้ภาษาและไม่มีคนที่รู้จักในที่นั้น พี่ชายของเขาได้กล่าวกับบีบีซีนิวส์ว่า อัลอิสซาวีอ้างว่าเขารู้จักคนในประเทศฝรั่งเศส โดยเขาจะขอความช่วยเหลือกับบุคคลนี้ เพื่อนบ้านให้สัมภาษณ์กับอัลอราบียาว่า อัลอิสซาวีทำงานเป็นช่างเครื่อง และงานหลากหลายประเภทในประเทศตูนิเซีย โดยไม่มีการส่อพฤติกรรมรุนแรงแต่อย่างใด[18][19]

หัวหน้าฝ่ายกฎหมายกำลังต่อต้านการก่อการร้าย ฌ็อง-ฟร็องซัว ริการ์ต ได้กล่าวว่า ผู้ก่อเหตุไม่ได้อยู่ในรายชื่อของหน่วยข่าวกรองว่าเป็นภัยคุกคามอย่างการก่อการร้าย[6]

ผู้สูญเสีย แก้

จากเหตุโจมตีมีผู้เสียชีวิต 3 คน หนึ่งในนั้นเป็นหญิงอายุ 60 ปี เธอเข้าไปข้างในมหาวิหารเพื่อภาวนา บริเวณคอของเธอเจอรอยลึกขนาดใหญ่ เจ้าหน้าที่บอกว่าเป็นการความพยายามที่จะทำให้เสียชีวิต[22][23] อีกคนหนึ่ง เป็นชายอายุ 55 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลมหาวิหาร พบรอยลึกตรงคอขนาดใหญ่ของเขา[23][24] ผู้เสียชีวิตคนที่สาม เป็นหญิงชาวฝรั่งเศสเชื้อสายบราซิล อายุ 44 ปี เธอถูกแทงหลายแผล เธอจึงหนีออกมาจากมหาวิหาร แต่ล้มลงและเสียชีวิตภายในคาเฟ่ละแวกใกล้เคียง[11][14][25]

อ้างอิง แก้

  1. Politi, Caroline; Chevillard, Thibaut (29 October 2020). "Que sait-on de l'attaque au couteau perpétrée dans la basilique de Nice ?" [Attack in Nice: What do we know about the events in the Notre-Dame basilica?]. 20minutes (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  2. 2.0 2.1 Salaün, Tangi; Gaillard, Eric (29 October 2020). "Three dead as woman beheaded in attack in French church". Reuters. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  3. 3.0 3.1 3.2 Tidman, Zoe; Dearden, Lizzie (29 October 2020). "Macron vows to deploy soldiers across France after attacks in Nice and Avignon". The Independent. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  4. 4.0 4.1 "France attack: Three killed in 'Islamist terrorist' stabbings". BBC. 29 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  5. Sandford, Alasdair; Tidye, Alice (29 October 2020). "Nice attack: Church stabbing leaves three dead and several injured". EuroNews with AFP. EuroNews. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  6. 6.0 6.1 6.2 Hinnant, Lori; Cole, Daniel (29 October 2020). "French prosecutor: Nice killer of 3 got to France from Italy". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  7. "Macron says Islam 'in crisis', prompting backlash from Muslims". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  8. Paone, Anthony (16 October 2020). "For a teacher in France, a civics class was followed by a gruesome death". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  9. "Muslim world condemns Macron, France over treatment of Islam". Al Jazeera. 26 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  10. 10.0 10.1 Smith, Saphora; Ing, Nancy; Stelloh, Tim (29 October 2020). "French authorities say suspect in Nice church attack is a Tunisian national". NBC News. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  11. 11.0 11.1 11.2 Picheta, Rob; Thompson, Nick (29 October 2020). "Live updates: Knife attack in French city of Nice". CNN. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  12. Willsher, Kim (29 October 2020). "Knife attacker in Nice kills three people". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  13. "EN DIRECT - Attaque à la basilique de Nice : "C'est la France qui est attaquée", dénonce Macron" [LIVE - Attack in Nice: the anti-terrorism prosecutor details the assailant's murderous journey] (ภาษาฝรั่งเศส). LCI. 29 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  14. 14.0 14.1 "France attack: What we know about stabbings in Nice". BBC. 29 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  15. Haworth, Jon (29 October 2020). "France on highest security alert after terror attack". ABC News. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  16. 16.0 16.1 Burke, Jason; Tondo, Lorenzo (30 October 2020). "Nice terror suspect phoned his family hours before attack". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 October 2020.
  17. Steinbuch, Yaron (30 October 2020). "France terror suspect Brahim Aoussaoui seen in smiling photo". The New York Post. สืบค้นเมื่อ 30 October 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. 18.0 18.1 Charlton, Angela; Cole, Daniel (30 October 2020). "New arrest after France church attack, security tightened". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 30 October 2020.
  19. 19.0 19.1 "Nice attack: Grief and anger in France after church stabbings". BBC News. 30 October 2020. สืบค้นเมื่อ 30 October 2020.
  20. "Attaque à Nice: l'assaillant est un Tunisien de 21 ans arrivé par Lampedusa" [Attack in Nice: the attacker is a 21-year-old Tunisian who arrived by Lampedusa] (ภาษาฝรั่งเศส). Le Figaro. 29 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  21. Sonawane, Vishakha (2020-10-30). "Who is Brahim Aouissaoui? Tunisian-Born Nice Church Attacker Arrived In France Just Weeks Before Attack". International Business Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.
  22. Bisserbe, Noemie; Schechner, Sam (30 October 2020). "France Terrorist Attack: What Happened in Nice at the Notre Dame Basilica?". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 30 October 2020.
  23. 23.0 23.1 Willsher, Kim; Doherty, Ben (30 October 2020). "World leaders condemn Nice attack as France terror alert level raised to maximum". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 October 2020.
  24. Willsher, Kim (29 October 2020). "France will not give in to terror after Nice attack, Macron says". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  25. Salaün, Tangi; Pailliez, Caroline (30 October 2020). "France Tightens Security After Nice Attack, Protests Flare in Parts of Muslim World". U.S. News & World Report. สืบค้นเมื่อ 30 October 2020 – โดยทาง Reuters.