เสือโคร่งสุมาตรา
เสือโคร่งสุมาตรา | |
---|---|
![]() | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Felidae |
สกุล: | Panthera |
สปีชีส์: | P. tigris |
ชนิดย่อย/noitalics: | P. t. sumatrae |
Trinomial name | |
Panthera tigris sumatrae (Pocock, 1929) | |
![]() | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเสือโคร่งสุมาตรา | |
ชื่อพ้อง | |
|
สำหรับเสือสุมาตราที่หมายถึงปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาเสือสุมาตรา
เสือโคร่งสุมาตรา (อังกฤษ: Sumatran tiger) เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris sumatrae ในวงศ์ Felidae จัดเป็นเสือโคร่งขนาดเล็กที่สุดในโลกที่ยังคงพบได้จนถึงทุกวันนี้
ถิ่นอาศัยแก้ไข
เสือโคร่งสุมาตรา มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น มีลักษณะแตกต่างไปจากเสือโคร่งสายพันธุ์อื่น ๆ คือ ขนบริเวณต้นคอจะหนามากที่สุด มีลวดลายมากกว่า บางเส้นอาจแตกเป็นคู่และมีสีเข้มที่สุด มีขนาดลำตัวเล็ก ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวตั้แต่หัวจรดหาง 2.4 เมตร น้ำหนักประมาณ 100-140 กิโลกรัม[2] ขณะที่ตัวเมียจะมีความยาว 2.2 เมตร และหนักเพียง 91 กิโลกรัมเท่านั้น
อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นของเกาะสุมาตรา ล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอาหาร เช่น หมูป่า, เก้ง, กวาง, สมเสร็จ หรือแม้กระทั่งลิงอุรังอุตัง รวมถึงมนุษย์ด้วย[3]
สถานะแก้ไข
ปัจจุบัน เสือโคร่งสุมาตรานับได้ว่าเป็นเสือโคร่งเพียงสายพันธุ์เดียวที่สามารถพบได้ในประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจาก เสือโคร่งชวา (P. t. sondaica) และ เสือโคร่งบาหลี (P. t. balica) ที่เคยเป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดมาก่อน ได้สูญพันธุ์ไปก่อนหน้านี้นานแล้ว
สถานะของเสือโคร่งสุมาตราในธรรมชาติก็นับว่าใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตแล้ว โดยคาดว่ามีจำนวนราว 400-450 ตัว เท่านั้น[4]โดยสถานที่ ๆ พบมากที่สุด คือ อุทยานแห่งชาติเครินซีเซบลัท ที่อยู่ทางตะวันตกของเกาะ มีประมาณ 160 ตัว นับว่าเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรเสือโคร่งสุมาตราทั้งหมด โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสือโคร่งสุมาตราใกล้สูญพันธุ์ คือ การล่าเพื่อเอาอวัยวะต่าง ๆ ไปทำเป็นยาตามความเชื่อ โดยพรานผู้ล่าจะล่าโดยการใช้กับดักเป็นบ่วงรัดเท้า ซึ่งจะทำให้เกิดบาดแผลฉกรรจ์ อาจบาดลึกเข้าไปถึงกระดูก และตัดข้อเท้าของเสือโคร่งสุมาตราให้ขาดได้เลย [5]
สวนสัตว์ในประเทศต่าง ๆ ที่มีเสือโคร่งสุมาตราในครอบครองก็ได้แก่ สวนสัตว์ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และสวนเสือตระการ ที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย[6] แต่เสือโคร่งสุมาตราในสวนสัตว์ มีเพียงน้อยรายที่จะอยู่รอดตั้งแต่เล็กจนโตเต็มวัยได้ [7]
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Cat Specialist Group (1996). Panthera tigris ssp. sumatrae. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a brief justification of why this subspecies is critically endangered and the criteria used.
- ↑ รู้จัก "เสือ" เมื่อก้าวสู่ปีขาล^^๐
- ↑ Indonesia's Little Bigfoot, "Finding Bigfoot". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: จันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556
- ↑ Sumatran Tiger
- ↑ "ท่องโลกกว้าง: เจ้าเสือน้อยเข้าบ้าน ตอนที่ 2". ไทยพีบีเอส. 21 January 2015. สืบค้นเมื่อ 22 January 2015.
- ↑ ข่าว ในสวนเสือตระการ
- ↑ "ท่องโลกกว้าง: เจ้าเสือน้อยเข้าบ้าน ตอนที่ 1". ไทยพีบีเอส. 20 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Panthera tigris sumatrae จากวิกิสปีชีส์
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เสือโคร่งสุมาตรา |