เศรษฐกิจของประเทศไนจีเรีย

ประเทศไนจีเรียเป็นประเทศรายได้ปานกลาง มีเศรษฐกิจแบบผสม และเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยภาคการเงิน บริการ สื่อสาร เทคโนโลยีและบันเทิงกำลังขยายตัว เศรษฐกิจไนจีเรียมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากเป็นอันดับที่ 22 ของโลก (จีดีพีราคาตลาด: อันดับที่ 30 ในปี 2556) และในเดือนเมษายน 2557 เป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา[7] ไนจีเรียมีศักยภาพเป็นหนึ่งในยี่สิบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2563 ภาคการผลิตที่กำลังเกิดใหม่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของทวีปแอฟริกา และผลิตสินค้าและบริการเป็นสัดส่วนมากในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปฏิบัติการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

เศรษฐกิจไนจีเรีย
สกุลเงินไนราไนจีเรีย (N) (NGN)
ภาคีการค้าโอเปก
สถิติ
จีดีพี$451,000 ล้าน (ประมาณ 2555) (PPP; อันดับที่ 30)
จีดีพีเติบโต7.1% (ประมาณ 2555)[1]
จีดีพีต่อหัว$2,800 (ประมาณ 2555)
ภาคจีดีพีเกษตรกรรม: 40%; บริการ: 30%; การผลิต: 15%; น้ำมัน: 14% (ประมาณ 2555)[1]
เงินเฟ้อ (CPI)11.9% (ประมาณ 2554)
ประชากรยากจน45% (ประมาณ 2555)
จีนี39.7 (2546)
แรงงาน48.53 ล้าน (ประมาณ 2554)
ภาคแรงงานบริการ: 32%; เกษตรกรรม: 30%; การผลิต: 11%
ว่างงาน24% (ประมาณ 2554)
อุตสาหกรรมหลักน้ำมันดิบ, ถ่านหิน, ดีบุก, โคลัมไบต์, ยูเรเนียม; น้ำมันปาล์ม, ถั่วลิสง, ฝ้าย, ยาง, ไม้; หนังสัตว์, สิ่งทอ, ซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างอื่น, ผลิตภัณฑ์อาหาร, เครื่องรองเท้า, เคมี, ปุ๋ย, การพิมพ์, เครื่องปั้นดินเผา, เหล็กกล้า, การต่อเรือและซ่อมเรือพาณิชย์ขนาดเล็ก, บันเทิง, เครื่องจักร, ประกอบรถยนต์
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจ131[2]
การค้า
มูลค่าส่งออก$97,460 ล้าน (ประมาณ 2555)
สินค้าส่งออกปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 95%, โกโก, ยาง, เครื่องจักร, อาหารแปรรูป, ความบันเทิง
ประเทศส่งออกหลัก สหรัฐ 16.8%
 อินเดีย 12.1%
 เนเธอร์แลนด์ 8.6%
 สเปน 7.8%
 บราซิล 7.6%
 บริเตนใหญ่ 5.1%
 เยอรมนี 4.9%
 ญี่ปุ่น 4.1%
 ฝรั่งเศส 4.1% (ประมาณ 2555)[3]
มูลค่านำเข้า$70,580 ล้าน (ประมาณ 2555)
สินค้านำเข้าเครื่องจักร, เคมี, อุปกรณ์ขนส่ง, สินค้าประดิษฐกรรม, อาหารและสัตว์มีชีวิต
ประเทศนำเข้าหลัก จีน 18.2%
 สหรัฐ 10.0%
 อินเดีย 5.5% (ประมาณ 2555)[4]
FDI$71,590 ล้าน (ประมาณ 2552)
หนี้ต่างประเทศ$10,100 ล้าน (ประมาณ 2555)
การคลังรัฐบาล
หนี้สาธารณะ18.8% ของจีดีพี (ประมาณ 2555)
รายรับ$23,480 ล้าน
รายจ่าย$31,610 ล้าน (ประมาณ 2555)
อันดับความเชื่อมั่นStandard & Poor's:[5]
B+ (Domestic)
B+ (Foreign)
B+ (T&C Assessment)
Outlook: Stable[6]
Fitch:[6]
BB-
Outlook: Negative
ทุนสำรอง$42,800 ล้าน (ประมาณ 2555)
แหล่งข้อมูลหลัก: CIA World Fact Book
หน่วยทั้งหมด หากไม่ระบุ ถือว่าเป็นดอลลาร์สหรัฐ

เดิมเศรษฐกิจไนจีเรียมีอุปสรรคจากช่วงที่มีการจัดการผิดพลาด แต่การปฏิรูปเศรษฐกิจในทศวรรษที่ผ่านมาดึงไนจีเรียกลับมาสู่การบรรลุศักยภาพทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ จีดีพีที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) ของไนจีเรียเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสามเท่าจาก 170,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2543 เป็น 451,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2555 แต่การประมาณขนาดเศรษฐกิจนอกระบบ (ซึ่งไม่นับรวมในตัวเลขทางการ) ทำให้ตัวเลขแท้จริงใกล้เคียง 630,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เช่นเดียวกัน จีดีพีต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก 1,400 ดอลล่าร์สหรัฐในปี 2543 เป็น 2,800 ดอลล่าร์สหรัฐในปี 2555 (เมื่อนับรวมเศรษฐกิจนอกระบบแล้ว มีการประมาณว่าจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ราว 3,900 ดอลล่าร์สหรัฐ) โดยที่ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านคนในปี 2543 เป็น 160 ล้านคนในปี 2553 จะมีการทบทวนตัวเลขเหล่านี้โดยอาจปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด 80% เมื่อมีการคำนวณเมตริกใหม่หลังการเปลี่ยนฐานเศรษฐกิจในเดือนเมษายน 2557

แม้ว่าไนจีเรียจะมีสถานภาพเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ แต่ไนจีเรียผลิตน้ำมันได้เพียง 2.7% ของอุปสงค์ทั่วโลก (ซาอุดิอาระเบีย: 12.9%, รัสเซีย: 12.7%, สหรัฐอเมริกา: 8.6%) เพื่อให้เห็นภาพรายได้จากน้ำมัน ที่อัตราการส่งออกที่ประมาณ 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน (300,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน) และราคาขายประมาณการ 65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2554 รายได้ที่คาดไว้จากปิโตรเลียมของไนจีเรียอยู่ที่ประมาณ 52,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (จีดีพีปี 2555 อยู่ที่ 451,000 ดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งคิดเป็นราว 11% ของตัวเลขจีดีพีอย่างเป็นทางการ (และลดเหลือ 8% หากนับรวมเศรษฐกิจนอกระบบ) ฉะนั้น แม้ว่าภาคปิโตรเลียมจะสำคัญ แต่ยังเป็นส่วนเล็กของเศรษฐกิจไนจีเรียในภาพรวม

ภาคเกษตรกรรมที่เน้นการยังชีพเป็นส่วนใหญ่ตามไม่ทันการเติบโตของประชากรที่รวดเร็ว และปัจจุบันไนจีเรียนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณมาก จากเดิมที่เคยเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ แม้จะมีการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารกลับมาใหม่ก็ตาม ตามรายงานของซิตีกรุปซึ่งจัดพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ไนจีเรียจะมีการเติบโตของจีดีพีโดยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลกระหว่างปี 2553–2603[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "News 2012". Nigerian National Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
  2. "Doing Business in Nigeria 2012". World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-06. สืบค้นเมื่อ 7 May 2013.
  3. "Export Partners of Nigeria". CIA World Factbook. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-06. สืบค้นเมื่อ 2013-07-27.
  4. "Import Partners of Nigeria". CIA World Factbook. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-09. สืบค้นเมื่อ 2013-07-27.
  5. "Sovereigns rating list". Standard & Poor's. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
  6. 6.0 6.1 Rogers, Simon; Sedghi, Ami (15 April 2011). "How Fitch, Moody's and S&P rate each country's credit rating". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
  7. Nigeria becomes Africa's biggest economy
  8. "FORGET THE BRICs: Citi's Willem Buiter Presents The 11 "3G" Countries That Will Win The Future". businessinsider.com. 22 February 2011. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.