ซีเมนต์ หรือ ปูนซีเมนต์ (cement) เป็นวัสดุผสานสำหรับผลิตคอนกรีต มีส่วนผสมหลักคือ หินปูนและดินเหนียว และมีผสมอื่นเช่น ซิลิก้า อลูมิน่า สินแร่เหล็ก ยิปซั่ม และสารเพิ่มพิเศษอื่น ๆ

ซีเมนต์

ปูนซีเมนต์ มีการค้นพบว่ามีการใช้งานในสมัยมาซิโดเนียและโรมัน และได้หายไปจนกระทั่งในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้มีการคิดค้นขึ้นมาจากหลายคน จนกระทั่งผลงานของแอสป์ดินได้มีการจดสิทธิบัตรของซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เกิดจากการค้นคว้า ของ โยเซฟ แอสป์ดิน ชาวอังกฤษ ช่วงเวลากว่า 13 ปี พ.ศ. 2354 ถึง พ.ศ. 2367 โดยทดลองเอาหินปูนผสมกับดินเหนียวแล้วไปเผาก่อนนำมาบด เมื่อจะใช้งานก็นำมาผสมทราย กรวดและน้ำ โดยเขาตั้งชื่อว่า ปอตแลนด์ซีเมนต์ เพราะว่าสีเหมือนกับหินที่เกาะปอร์ตแลนด์ ประเทศอังกฤษ[1]

ประเภทของซีเมนต์ แก้

ประเภทของซีเมนต์ตามมาตรฐาน ASTM ของอเมริกัน แก้

ซึ่งการแบ่งประเภทนี้ถูกจัดนำมาใช้ในเมืองไทยตามมาตรฐาน มอก. เช่นกัน[2]

  1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา (Ordinary Portland ) ASTM C150
  2. ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก   (Hydraulic Cement ) ASTM C1157
  3. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง (Modified Portland Cement )
  4. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แข็งตัวเร็ว ( High - Early Portland Cement )
  5. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เกิดความร้อนต่ำ (Low - Heat Portland Cement )
  6. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทนเกลือซัลเฟตได้สูง (Sulfate – Resistant Portland Cement )

ประเภทของซีเมนต์ตามมาตรฐาน European EN-197 แก้

  • I Portland cement
  • II Portland-composite cement
  • III Blastfurnace cement
  • IV Pozzolanic cement
  • V Composite cement

ประเภทอื่น แก้

นอกจากนี้ยังมีซีเมนต์พิเศษ อื่น ๆ เช่น

  • ซีเมนต์ผสม สำหรับใช้งานก่อ และฉาบ
  • ซีเมนต์ขาว สำหรับงานตกแต่ง ปูกระเบื้อง
  • ซีเมนต์พิเศษอื่น ๆ สำหรับงานบ่อขุดเจาะน้ำมัน ฯลฯ

ปูนซีเมนต์ที่ยกเลิกการผลิต แก้

มาตรฐานของซีเมนต์ แก้

  • มาตรฐานของอเมริกา ASTM C-150 , ASTM C-1157
  • มาตรฐานของอังกฤษ BS-EN 197
  • มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย (ม.อ.ก.) ม.อ.ก. 15-2562
  • มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย (ม.อ.ก.) ม.อ.ก. 2594-2556

อ้างอิง แก้

  1. ความคิดพิชิตโลก,วารสาร อวพช. มีนาคม 2551 ,หน้า 8
  2. มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 15 เล่ม 1 -2547

แหล่งข้อมูลอื่น แก้