เลซีโจนส์ (อังกฤษ: Lazy Jones) เป็นเกมแพลตฟอร์มสำหรับคอมโมดอร์ 64, แซดเอกซ์ สเปกตรัม, เอ็มเอสเอกซ์ และต้าถงไอน์สไตน์ เกมนี้เขียนโดยเดวิด วิตเทเกอร์ และเผยแพร่โดยเทอร์มินอลซอฟต์แวร์ใน ค.ศ. 1984 ส่วนเวอร์ชันสเปกตรัมได้รับการพอร์ตโดยไซมอน คอบบ์

เลซีโจนส์
เลซีโจนส์
ภาพปกเวอร์ชันคอมโมดอร์ 64
ผู้พัฒนาเดวิด วิตเทเกอร์
ผู้จัดจำหน่ายเทอร์มินอลซอฟต์แวร์
ออกแบบเดวิด วิตเทเกอร์
แต่งเพลงเดวิด วิตเทเกอร์
เครื่องเล่นคอมโมดอร์ 64, แซดเอกซ์ สเปกตรัม, เอ็มเอสเอกซ์, ต้าถงไอน์สไตน์
วางจำหน่ายค.ศ. 1984
แนวแพลตฟอร์ม
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

เลซีโจนส์เป็นการรวบรวมเกมย่อยสิบห้าเกม เกมดังกล่าวเกิดขึ้นภายในโรงแรมที่มีสามชั้นซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยลิฟต์ โดยตัวละครเอกเป็นพนักงานโรงแรมที่ขี้เกียจซึ่งไม่สนใจงานของเขามากนัก แต่ชอบแอบเข้าไปในห้องต่าง ๆ เพื่อเล่นวิดีโอเกมแทน

รูปแบบการเล่น

แก้
 
ภาพจับหน้าจอเวอร์ชันคอมโมดอร์ 64

หน้าจอหลักในเกมเลซีโจนส์คือภายในโรงแรม โดยที่นั่น ตัวละครเอกสามารถใช้ลิฟต์เพื่อเดินทางได้อย่างอิสระระหว่างทั้งสามชั้น แต่เขาต้องระวังศัตรู ได้แก่: ผู้จัดการโรงแรมคนปัจจุบันที่ชั้นบนสุด, ผีของผู้จัดการคนก่อนที่ชั้นล่าง และรถเข็นทำความสะอาดผีสิงที่ชั้นกลาง ส่วนบรรดาศัตรูเพียงเดินไปรอบ ๆ และไม่ไล่ตามตัวละครเอก แต่การโดนพวกมันนั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต

แต่ละชั้นมีหกห้อง แบ่งเป็นฝั่งละสามห้องของลิฟต์ โดยแต่ละห้องสามารถเข้าได้ครั้งเดียว ภายในห้องส่วนใหญ่จะมีวิดีโอเกม ซึ่งตัวละครเอกจะเริ่มเล่นทันที นอกจากวิดีโอเกมแล้ว ยังมีบาร์ของโรงแรม, เตียง, ที่เก็บของทำความสะอาด และส้วม ซึ่งบาร์ดังกล่าวทำงานเหมือนกับวิดีโอเกม แต่ห้องอื่น ๆ นั้นเป็นการตกแต่งที่ไร้ประโยชน์ (จงใจเพิ่มเข้าไป เพราะวิตเทเกอร์หมดแนวคิดสำหรับเกมใหม่แล้ว)

เมื่อเยี่ยมชมทุกห้องแล้ว เกมจะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง แต่จะเร็วขึ้นในแต่ละคราว

โดยทั่วไปเกมย่อยจะเป็นเวอร์ชันฉบับง่ายของวิดีโอเกมช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1980 เช่น สเปซอินเวเดอส์, ฟรอกเกอร์, สเนก, เอช.อี.อาร์.โอ., เบรกเอาต์ และชักกีเอก ซึ่งแผนการกับรูปแบบการเล่นของเกมเหล่านี้เรียบง่ายมาก และส่วนใหญ่แล้วผู้เล่นจะต้องหลีกเลี่ยงศัตรูที่เข้ามาให้นานพอที่จะทำคะแนนได้มาก โดยในบางเกม ผู้เล่นจะต้องยิงศัตรูเพื่อทำคะแนน

แต่ละเกมย่อยมีเวลาจำกัด ในเกมย่อยบางเกมมีความเป็นไปได้ที่จะ "ตาย" ซึ่งจะจบเกมย่อยก่อนเวลาอันควร ในขณะที่เกมอื่นๆ จะจบลงหลังจากหมดเวลาที่กำหนดเท่านั้น แต่สิ่งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของเกม ในขณะที่ "ความตาย" ในเวอร์ชันคอมโมดอร์ 64 อาจทำให้ตัวละครในเกมกลับไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนหน้าจอ แต่ในเวอร์ชันเอ็มเอสเอกซ์ การตายแบบเดียวกันส่งผลให้เกมย่อยสิ้นสุดก่อนเวลาอันควร

โดยวิดีโอเกมทั้งสิบสี่เกมมีดังนี้:

  • ไนน์ตีไนน์เรดบอลลูน: ลูกโป่งสีแดงลอยไปที่ด้านบนของหน้าจออย่างต่อเนื่อง ผู้เล่นจะต้องจับลูกโป่งสองลูกเพื่อบินขึ้นไปเพื่อที่จะจูบผู้หญิงคนหนึ่ง จากนั้น เขาก็ต้องจับลูกโป่งหนึ่งลูกแล้วลอยกลับลงไปจูบผู้หญิงอีกคน โดยมีธนูคันหนึ่งพยายามยิงลูกธนูเพื่อเจาะลูกโป่งของผู้เล่น
  • เอกกีชัก: เกมเลียนแบบชักกีเอกที่ทำให้ดูง่ายขึ้น
  • เจย์วอล์ก: เกมเลียนแบบฟรอกเกอร์ที่ทำให้ดูง่ายขึ้น ซึ่งผู้เล่นจะต้องข้ามถนนโดยไม่ชนรถยนต์คันใดเลยเพื่อที่จะได้จูบผู้หญิงคนหนึ่ง จากนั้น เขาก็ข้ามถนนกลับไปจูบผู้หญิงอีกคน
  • เลเซอร์โจนส์: เกมเลียนแบบสเปซอินเวเดอส์ที่บรรดาเอเลียนไม่ยิงกลับมา
  • เอาต์แลนด์: เกมประเภทชูตเอ็มอัปที่ไม่ซับซ้อนมาก โดยมียานอวกาศลงมาจากท้องฟ้าและผู้เล่นจะยิงพวกมันเพื่อทำคะแนน
  • เรสคิว: เกมเลียนแบบเอช.อี.อาร์.โอ.ที่ทำให้ดูง่ายขึ้น ซึ่งผู้เล่นจะต้องช่วยบรรดาชายที่ติดอยู่ในถ้ำโดยไม่ต้องสัมผัสผนังถ้ำ
  • สคูต: เกมทักษะที่ผู้เล่นจะต้องบังคับเรือโฮเวอร์คราฟท์บางอย่างในถ้ำ
  • สตาร์ดัสต์: เกมประเภทชูตเอ็มอัปที่ผู้เล่นสามารถยิงบรรดาละอองอวกาศที่เป็นรูปทรงกลม
  • เดอะฮิลส์อาร์อะไลฟ์: เกมประเภทชูตเอ็มอัปที่คล้ายกับเอาต์แลนด์มาก เว้นเสียแต่ว่าคราวนี้ยานอวกาศจะบินในแนวนอน
  • เดอะรีเฟลกซ์: บรรดากระดูกลอยลงมาจากด้านบนของหน้าจอ และผู้เล่นจะต้องเด้งพวกมันกลับขึ้นไป
  • เดอะวอล: เกมเลียนแบบสเนกที่ทำให้ดูง่ายขึ้น ซึ่งผู้เล่นจะต้องบังคับทิศทางของกำแพงสวนที่กำลังงอกขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่ชนตัวเอง, ขอบเขตของฉาก หรือพืชใด ๆ
  • ไวลด์เวเฟอส์: เกมประเภทชูตเอ็มอัปที่ผู้เล่นสามารถยิงสิ่งที่เป็นแผ่นบาง ๆ ที่หมุนได้

ส่วนในเวอร์ชันเอ็มเอสเอกซ์และต้าถงไอน์สไตน์ เกมเจย์วอล์กจะถูกแทนที่ด้วยเวเฟอส์ II ซึ่งผู้เล่นใช้ยานอวกาศควบคุมสองลำ (ลำหนึ่งแนวตั้งและแนวนอนอีกหนึ่งลำ) เพื่อร่วมกันชนสิ่งที่เป็นแผ่นบาง ๆ ที่หมุนอยู่

สำหรับในบาร์ของโรงแรม เลซีโจนส์ยืนอยู่หน้าบาร์ (ที่ค่อนข้างกว้าง) บาร์เทนเดอร์และลูกค้าคนอื่นเพียงคนเดียวที่เมาอย่างหมดหวังต่างก็เดินไปเดินมาในบาร์ด้วยความเร็วที่ต่างกัน ซึ่งการกดปุ่มยิงในขณะที่ยืนอยู่หน้าเครื่องดื่มและบาร์เทนเดอร์ในเวลาเดียวกันจะได้รับคะแนน ส่วนลูกค้าที่เมาจะขวางทางผู้เล่น แต่สามารถกระโดดข้ามไปได้

ทั้งนี้ เกมย่อยที่อาจ "ตาย" ก่อนเวลาอันควรได้แก่เอกกีชัก, เจย์วอล์ก, เรสคิว และเดอะวอล

ส่วนเกมย่อยที่สิ้นสุดลงเมื่อเวลาจำกัดหมดลงคือไนน์ตีไนน์เรดบอลลูน, เลเซอร์โจนส์, เอาต์แลนด์, สคูต, สตาร์ดัสต์, เดอะฮิลส์อาร์อะไลฟ์, เดอะรีเฟลกซ์, เดอะเทิร์ก, ไวลด์เวเฟอส์, ไวพ์เอาต์, เวเฟอส์ II และบาร์ของโรงแรม

แต่ในเวอร์ชันเอ็มเอสเอกซ์เกมย่อยที่จะสิ้นสุดลงเมื่อหมดเวลาจำกัดเท่านั้น ได้แก่: เอาต์แลนด์, เดอะรีเฟลกซ์, ไวลด์เวเฟอส์, เวเฟอส์ II, ไวพ์เอาต์ และบาร์

การพัฒนา

แก้

วิตเทเกอร์ได้พัฒนาเกมย่อยแต่ละเกมแยกกันโดยใช้ภาษาเบสิกก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเกมเหล่านั้นใช้งานได้ จากนั้นจึงแปลงแต่ละเกมเป็นโค้ดภาษาแอสเซมบลีแทบจะบรรทัดต่อบรรทัด[1]

สิ่งสืบทอด

แก้

หนึ่งในแทร็กดนตรี (ทำนองย่อยจากเกม "สตาร์ดัสต์" ในคอมโมดอร์ 64 เหมือนกับเกม "เดอะวอล" ในเอ็มเอสเอกซ์) ได้รับการสุ่มตัวอย่างโดยซอมบีเนชัน ซึ่งเป็นโปรเจกต์อิเล็กโทรของเยอรมนีสำหรับซิงเกิล "เคิร์นคราฟท์ 400" ใน ค.ศ. 1999 ของพวกเขา[2] และต่อมา โฟลรีอัน เซ็นฟ์เทอร์ ("สพลังค์!") ได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งที่ไม่เปิดเผยให้แก่เดวิด วิตเทเกอร์ สำหรับการใช้ทำนองเพลงดังกล่าว[2]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 เจมส์ รอล์ฟ ได้วิจารณ์เกมนี้ในฐานะส่วนหนึ่งของซีรีส์แอ็งกรีวิดีโอเกมเนิร์ด โดยให้บทวิจารณ์ในเชิงบวกอย่างมากและกล่าวถึงเกมนี้ว่า "เป็นแนวคิดที่ปฏิวัติวงการมากสำหรับยุคนั้น" และ "ความสำเร็จอันยอดเยี่ยมของคอมโมดอร์ 64"[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "David Whittaker Interview". C64.COM. สืบค้นเมื่อ 2015-06-26.
  2. 2.0 2.1 "OK COMPUTER!". NME. 2001-06-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2001. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.
  3. Commodore 64 - Angry Video Game Nerd (AVGN) (ภาษาอังกฤษ), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21, สืบค้นเมื่อ 2021-09-28

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้