เรือหลวงนเรศวร
เรือหลวงนเรศวร (FFG-421) (อังกฤษ: HTMS Naresuan) เป็นเรือฟริเกตสังกัดกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย[2] ดัดแปลงมาจากเรือฟริเกตแบบ 053 ของจีน โดยความร่วมมือกันออกแบบระหว่างกองทัพเรือไทยกับจีน ต่อที่อู่ต่อเรือไชน่าสเตตท์ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ปล่อยเรือลงน้ำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 และเข้าประจำการในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เรือหลวงนเรศวร มีเรือในชั้นเดียวกันอีกหนึ่งลำคือ เรือหลวงตากสิน
เรือหลวงนเรศวร (FFG-421)
| |
ประวัติ | |
---|---|
ประเทศไทย | |
ชนิด | เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร (เรือฟริเกตแบบ 053) |
ชื่อ | เรือหลวง นเรศวร |
ตั้งชื่อตาม | สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
อู่เรือ | บริษัทต่อเรือแห่งรัฐของจีน เซี่ยงไฮ้ |
ปล่อยเรือ | พ.ศ. 2534 |
เดินเรือแรก | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2537 |
เข้าประจำการ | พ.ศ. 2538 |
ท่าจอด | ฐานทัพเรือสัตหีบ |
รหัสระบุ |
|
คำขวัญ | องอาจ กล้าหาญ สู้เพื่อชาติ |
สถานะ | อยู่ในประจำการ |
ลักษณะเฉพาะ | |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 2,985 ตัน |
ความยาว: | 120.5 ม. |
ความกว้าง: | 13.7 ม. |
กินน้ำลึก: | 4.3 ม. |
กินน้ำลึก: | 3.8 ม. |
ระบบพลังงาน: | 1 × เจเนอรัลอีเลคทริค LM2500+ แก็สเทอร์ไบน์ และ 2 × เครื่องยนต์ดีเซล เอ็มทียู 20V1163 TB83 |
ระบบขับเคลื่อน: | 2 × ใบจักรแบบปรับมุมได้ |
ความเร็ว: | 32 นอต (59 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สูงสุด |
พิสัยเชื้อเพลิง: | 4000 ไมล์ทะเล (7408 กิโลเมตร) ที่ 18 นอต |
อัตราเต็มที่: | 150 |
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: |
1 x ระบบอำนวยการรบ แบบ Saab 9LV Mk.4 1 x ระบบ radar ESM แบบ ITT ES-3601 (AN/SLQ-4) 1 xระบบ communication ESM 1 xระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อย แบบ Raytheon Anschutz MINS 2 (ring laser gyro) ระบบวิทยุสื่อสาร ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) โซนาร์หัวเรือ Atlas Elektronic DSQS-24 |
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: |
2x แท่นยิงเป้าลวง แบบ Terma DL-12T แท่นละ 12 ท่อยิง 4x แท่นยิงเป้าลวง แบบ Terma Mk.137 แท่นละ 6 ท่อยิง |
ยุทโธปกรณ์: |
1 x 5 นิ้ว/54 (127 มม.) 5"/62 Mark 45 Mod 4 2 x ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS-30MR/Mk.44 ขนาด 30 มม. แท่นเดี่ยว 8 x ท่อยิง Mark 41 Vertical Launching System สำหรับ 32 x อาร์ไอเอ็ม-162 อีเอสเอสเอ็ม 8 x เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน 2 x Mark 32 Surface Vessel Torpedo Tubes |
อากาศยาน: | 1 x เวสต์แลนด์ลิงซ์ |
การปรับปรุง
แก้ในปี ค.ศ. 2011 กองทัพเรือได้เลือกระบบ 9LV ของบริษัทซ๊าบ ประเทศสวีเดน ในการปรับปรุงระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ ระบบควบคุมการยิง และระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีของ เรือหลวงนเรศวร และ เรือหลวงตากสิน[3][4]
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.marinetraffic.com/en/ais/details/ships/shipid:1772107/mmsi:567015500/imo:0/vessel:RTN_SHIP_421
- ↑ เรือหลวงนเรศวร เก็บถาวร 2013-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2555
- ↑ การอัพเกรด เรือหลวงชั้นนเรศวร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2555
- ↑ "Saab receives order from Thailand regarding the upgrading of combat management system and fire control systems" ซ๊าบ สวีเดน, สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554