เมกะโปรเจกต์ (อังกฤษ: megaproject) หรือ โครงการทางวิศวกรรมขนาดใหญ่มาก เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่มาก เมกะโปรเจกต์มีนิยามปกติว่ามีมูลค่าลงทุนสูงกว่า 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และดึงดูดความสนใจจากสาธารณะมากเพราะผลกระทบใหญ่หลวงต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และงบประมาณ[1] เมกะโปรเจกต์ยังสามารถนิยามได้ว่าเป็น "การริเริ่มที่เป็นรูปธรรม มูลค่าสูงมาก และเป็นสาธารณะ"[2] ความเอาใจใส่ในกระบวนการพัฒนาโครงการอาจจำเป็นต้องลดอคติการมองในแง่ดีและการแสดงผิดทางยุทธศาสตร์[1]

เมกะโปรเจกต์มีทั้งสะพาน อุโมงค์ ทางหลวง ทางรถไฟ สนามบิน ท่าเรือ โรงไฟฟ้า เขื่อน โครงการน้ำเสีย เขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ อาคารสาธารณะ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการสำรวจอวกาศและระบบอาวุธ อย่างไรก็ดี เมกะโปรเจกต์ที่พบมากที่สุดอยู่ในหมวดหมู่โรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่[3]

เมกะโปรเจกต์ ในประเทศไทย แก้

ในประเทศไทย นิยมใช้คำว่า "เมกะโปรเจกต์" เรียกโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ใช้เงินลงทุนสูงโดยทั่วไป โดยอาจไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการที่มีความซับซ้อนในการก่อสร้างหรือดำเนินการก็ได้ โดยทั่วไปเมกะโปรเจกต์มักจะถูกสงสัยว่าเป็นโครงการที่มีการทุจริตสูง เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ ทำให้ตรวจสอบได้ทั่วถึงยาก และมีงบลงทุนสูง ทำให้มีแรงจูงใจในการทุจริตมากขึ้น

เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ใช้งบประมาณสูงมาก จึงมักดำเนินการโดยความร่วมมือของกลุ่มบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่ออาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน และเพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุน หรือดำเนินการโดยภาครัฐ โดยอาจใช้รูปแบบหุ้นส่วนมหาชน-เอกชน (PPP) หรือระหว่างรัฐบาล (G to G - Government to government) ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการหรือบาร์เตอร์เทรด (ในกรณีประเทศไทย มักจะเป็นผลิตผลทางการเกษตร) การให้สัมปทาน การให้เอกชนสร้างและโอนเป็นของรัฐภายหลัง (BOT - Build-Operate-Transfer)

ตัวอย่าง "เมกะโปรเจกต์" ในประเทศไทย ได้แก่ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบจราจร ระบบขนส่งมวลชน การบริหารจัดการน้ำ ระบบบริหารการขนส่ง โครงการที่อยู่อาศัยของรัฐ (เช่น บ้านเอื้ออาทร บ้านมั่นคง) หรือ สนามบิน เป็นต้น

ตัวอย่างโครงการในประเทศไทย แก้

  1. โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
  2. โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  3. โครงการสุวรรณภูมิมหานคร
  4. โครงการมักกะสัน คอมเพล็กซ์
  5. โครงการรถไฟความเร็วสูง
  6. โครงการโครงการสถานีกลางบางซื่อ และโครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
  7. โครงการรถไฟทางคู่ 1เมตร ทั้งสายใหม่และปรับทางเดี่ยวเป็นทางคู่
  8. โครงการเชียงใหม่เวิลด์

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Bent Flyvbjerg, Nils Bruzelius, and Werner Rothengatter, 2003. Megaprojects and Risk: An Anatomy of Ambition ISBN 0521009464 (Cambridge: Cambridge University Press).
  2. Alan Altshuler and David Luberoff, Mega-Projects: The Changing Politics of Urban Public Investment (Washington, DC: Brookings Institution, 2003). ISBN 0815701292
  3. Hugo Priemus and Bent Flyvbjerg. 2007. Decision-making on mega-projects: cost-benefit analysis, planning and innovation. Edward Elgar Publishing. 342 pages

แหล่งข้อมูลอื่น แก้