เชียงใหม่เวิลด์

เชียงใหม่เวิลด์ เป็นแผนงานเมกะโปรเจกต์ในสมัยรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร[1] เพื่อส่งเสริมจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นบ้านเกิดของทักษิณในฐานะมหานครลำดับสองของประเทศไทย ทักษิณได้ประกาศต่อชาวเชียงใหม่หลังได้เป็นนายกรัฐมนตรีว่า "คนเชียงใหม่อยากได้อะไรขอให้ฝันสุด ๆ แล้วผมจะเนรมิตฝันให้เป็นจริง"[2]

เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ

เชียงใหม่เวิลด์สามารถแบ่งโครงการออกเป็นสองกลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มแรกเป็นโครงการตามข้อสั่งการพิเศษของนายกรัฐมนตรี อาทิ โครงการสวนสัตว์กลางคืน, มหกรรมพืชสวนโลก, กระเช้าลอยฟ้า เป็นต้น และกลุ่มที่สองเป็นโครงการของกระทรวงทบวงกรมตามปกติ อาทิ ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 121 เป็นต้น แม้การรัฐประหารในปี 2549 จะทำให้โครงการภาพรวมสะดุดลง แต่หน่วยงานเจ้าของโครงการก็ยังคงผลักดันโครงการตามแผนงานนี้เรื่อยมาจนสำเร็จเสร็จสิ้นไปทีละโครงการจนถึงปัจจุบัน

รัฐบาลทักษิณได้กำหนดให้เชียงใหม่เวิลด์เป็นนโยบายเร่งด่วน โครงการกลุ่มแรกที่เกิดขึ้นในยุคทักษิณต่างใช้ระบบ Fast Track ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงมาก จะเพิ่มหรือตัดรายละเอียดส่วนไหนออกได้ตามต้องการโดยไม่ต้องมีแผนแม่บทที่ชัดเจน ส่วนไหนออกแบบเสร็จก่อนก็ก่อสร้างได้เลยโดยไม่ต้องรอแผนงานรวม โครงการในกลุ่มนี้เดินหน้าได้เร็วมาก จนกลุ่มนักวิชาการออกมาอ้างว่า "ตัวโครงการจึงจับต้องไม่ได้ จนสังคมไม่สามารถศึกษาได้ว่าเขาจะทำอะไร มีผลกระทบขนาดไหน"[3] โครงการไนท์ซาฟารีและมหกรรมพืชสวนโลกใช้เวลาทั้งหมดเพียง 2 ปีก็แล้วเสร็จนับตั้งแต่วันแรกที่ทักษิณประกาศ

โครงการกลุ่มข้อสั่งการพิเศษที่สำเร็จลุล่วง แก้

อ้างอิง แก้

  1. รายงาน "พลเมืองเหนือ" : เชียงใหม่ใต้เงาทักษิณ สู่มหานคร "โตเดี่ยว" และ "เปลี่ยนไป" ประชาไท. 12 พฤษภาคม 2548
  2. เชียงใหม่ปัดฝุ่นเมกะโปรเจกต์ยุคทักษิณอีกครั้ง. เชียงใหม่ธุรกิจ. 20 ธันวาคม 2555
  3. เมื่อเมกะโปรเจกต์เชียงใหม่ถูกตรวจสอบ หลังกรรมการสิทธิฯ ‘On Tour’ พบภาคีฮักเจียงใหม่ ประชาไท. 19 ตุลาคม 2549
  4. มติคณะรัฐมนตรี 28 ตุลาคม 2546 อนุมัติงบประมาณโครงการ "เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี" วงเงิน 1,155.90 ล้านบาท ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  5. 2,404 ล้านกับการเนรมิต มหกรรมพืชสวนโลก ราชพฤกษ์"49. มติชน 17 มิถุนายน 2549
  6. มติคณะรัฐมนตรี 29 กรกฎาคม 2551 อนุมัติวงเงินงบประมาณเบื้องต้นจำนวน 2,369,746,695.44 บาท และงบประมาณที่ได้รับเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี 15 พฤศจิกายน 2554
  7. เป็นค่าก่อสร้างอาคาร 497 ล้านบาท และโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหาร 155 ล้านบาท