เพาล์ คาเรอร์
เพาล์ คาเรอร์ (เยอรมัน: Paul Karrer; 21 เมษายน ค.ศ. 1889 – 18 มิถุนายน ค.ศ. 1971) เป็นนักเคมีชาวสวิส เกิดที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เป็นบุตรของเพาล์ คาเรอร์ และยูเลีย คาเรอร์[1] ต่อมาครอบครัวย้ายมาอาศัยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คาเรอร์เรียนเคมีที่มหาวิทยาลัยซือริช หลังเรียนจบ คาเรอร์ทำงานเป็นผู้ช่วย ก่อนจะดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีและผู้อำนวยการสถาบันเคมีอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยซือริช[2] คาเรอร์มีผลงานที่สำคัญคือการศึกษาสารกลุ่มแคโรทีนอยด์และชี้ให้เห็นว่าบางส่วนสามารถแปรสภาพเป็นวิตามินเอได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย การศึกษานี้นำไปสู่การระบุโครงสร้างของบีตา-แคโรทีน หลังจากนั้นคาเรอร์ได้ศึกษาโครงสร้างของกรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี), วิตามินบี2 และวิตามินอี ในปี ค.ศ. 1937 คาเรอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับนอร์แมน ฮาวเวิร์ธ[3]
เพาล์ คาเรอร์ | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 21 เมษายน ค.ศ. 1889 มอสโก รัสเซีย |
เสียชีวิต | 18 มิถุนายน ค.ศ. 1971 ซือริช สวิตเซอร์แลนด์ | (82 ปี)
สัญชาติ | สวิส |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยซือริช |
มีชื่อเสียงจาก | วิตามิน |
รางวัล | รางวัลมาร์แซล เบอนัว (ค.ศ. 1922) รางวัลโนเบลสาขาเคมี (ค.ศ. 1937) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เคมี |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยซือริช |
ด้านชีวิตส่วนตัว คาเรอร์แต่งงานกับเฮเลนา เฟรอลิช (Helena Froelich) มีบุตรด้วยกัน 3 คน[4] คาเรอร์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1971
สิ่งสืบเนื่องแก้ไข
ในปี ค.ศ. 1959 มีการจัดตั้งรางวัลเหรียญทองเพาล์ คาเรอร์ (Paul Karrer Gold Medal) สำหรับนักเคมีที่มีผลงานโดดเด่น โดยมีพิธีมอบที่มหาวิทยาลัยซือริช[5]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Paul Karrer | Encyclopedia.com
- ↑ Paul Karrer | Britannica.com
- ↑ The Nobel Prize in Chemistry 1937 - Nobelprize.org
- ↑ Paul Karrer - NNDB.com
- ↑ "UZH - Department of Chemistry - Paul Karrer Lecture". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2016-02-05.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เพาล์ คาเรอร์
- Paul Karrer - Biographical - Nobelprize.org
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |