เบะตะโน่ (พม่า: ဗိဿနိုး, [beɪʔθənó], รู้ในชื่อ เมืองปานทวา) ตั้งอยู่ในเขตชลประทานภาคมะกเว ใกล้กับเมืองตอง-ดวี่นจี้ในปัจจุบัน ในยุคนครรัฐปยูเป็นเมืองที่มีความสำคัญอย่างมาก อาจเป็นเมืองหลวงท้องถิ่นแทนเมืองศรีเกษตร ปัจจุบันหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้ขึ้นชื่อเรื่องน้ำพุร้อนและแหล่งโบราณคดี เมืองเบะตะโน่ ฮะลี่น และศรีเกษตร เป็นเมืองโบราณของอาณาจักปยู ถูกสร้างขึ้นบนทุ่งชลประทานในเขตแห้งแล้งของลุ่มแม่น้ำอิรวดี[1] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยยูเนสโก เมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2557[2][3] เนื่องจากเป็นแหล่งมรดกโบราณคดีที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี จากช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศักราชที่ 900[4]

เบะตะโน่
เมือง
ทางเข้าโบราณสถานเบะตะโน่
ทางเข้าโบราณสถานเบะตะโน่
เบะตะโน่ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
เบะตะโน่
เบะตะโน่
ที่ตั้งเมืองในประเทศพม่า
พิกัด: 20°0′14″N 95°22′46″E / 20.00389°N 95.37944°E / 20.00389; 95.37944
ประเทศ พม่า
ภาค ภาคมะกเว
จังหวัดมะกเว
อำเภอตอง-ดวี่นจี้
เขตเวลาUTC+6.30 (เวลามาตรฐานพม่า)

เบะตะโน่ มีทางทอดตรงไปยังที่ราบเจาะแซทางตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งน้ำ สิ่งที่ค้นพบในการขุดค้นทางวิทยาศาสตร์ของซากเมืองโบราณ ได้แก่ โครงสร้างอาคาร เครื่องปั้นดินเผา สิ่งประดิษฐ์ และโครงกระดูกมนุษย์ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 200 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศักราชที่ 100[5] เมืองตั้งชื่อตามพระวิษณุเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เมืองนี้อาจเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของรัฐที่มีรูปแบบทางวัฒนธรรม และอาจเป็นต้นแบบทางการเมืองในประวัติศาสตร์ของพม่า เป็นชุมชนที่มีป้อมปราการขนาดใหญ่ มีพื้นที่ราว 300 เฮกตาร์ (3 ตารางกิโลเมตร) ภายในกำแพงสี่เหลี่ยมมุมฉาก (3 กม. x 1 กม.) กำแพงและป้อมปราการตามแนวนั้นมีความหนาหกเมตร และการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีมีอายุระหว่าง 180 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศักราชที่ 610 เช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ ในยุคหลังทางเข้าหลักของกำแพงทอดไปสู่พระราชวังซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์และอารามถูกขุดพบภายในกำแพงเมืองเช่นเดียวกัน[5]

คลังภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Thaw, Aung (1968). Report on Excavation at Beikthano. University of Michigan: Revolutionary Government of the Union of Burma, Ministry of Union Culture. p. 6.
  2. "Myanmar's 3 ancient cities now on UNESCO World Heritage list". Philippines News Agency, Xinhua. 23 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2016. สืบค้นเมื่อ 9 November 2015.
  3. Khinbe, Aung. "UNESCO: Myanmar's first site inscribed to World Heritage List" (PDF). The New Light of Myanmar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 July 2015. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015.
  4. "Pyu Ancient Cities". UNESCO Organization. สืบค้นเมื่อ 9 November 2015.
  5. 5.0 5.1 Southeast Asia : from prehistory to history. Ian Glover, Peter S. Bellwood. London: RoutledgeCurzon. 2004. ISBN 0-415-29777-X. OCLC 52720792.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เบะตะโน่
  • Aung-Thwin, Michael (1996). "Kingdom of Bagan". ใน Gillian Cribbs (บ.ก.). Myanmar Land of the Spirits. Guernsey: Co & Bear Productions. ISBN 0-9527665-0-7.