เทศบาลเมืองเบตง

เทศบาลเมืองในจังหวัดยะลา ประเทศไทย

เบตง (จีน: 勿洞) เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ภาคใต้ของประเทศไทย ติดกับเขตแดนประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งหมด 78 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมตำบลเบตงทั้งตำบล และมีประชากรในปี พ.ศ. 2548 จำนวน 24,688 คน เบตงเป็นเทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศไทย[2]

เทศบาลเมืองเบตง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Betong
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: ทิวทัศน์เมืองเบตง, หอนาฬิกาเมืองเบตง, ด่านศุลกากรเบตง, วัดโพธิสัตโตเจ้าแม่กวนอิมเบตง, วัดพุทธาธิวาส
สมญา: 
เมืองในหมอกและดอกไม้งาม
คำขวัญ: 
เบตงใต้สุดแดนสยาม เมืองงามน่าอยู่
คู่การลงทุน หนุนการท่องเที่ยว
ประชาชนกลมเกลียว ยึดเหนี่ยววัฒนธรรม
ค้ำจุนประเพณี ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
ทม.เบตงตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา
ทม.เบตง
ทม.เบตง
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองเบตง
ทม.เบตงตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.เบตง
ทม.เบตง
ทม.เบตง (ประเทศไทย)
พิกัด: 5°46′23″N 101°04′21″E / 5.7731°N 101.0725°E / 5.7731; 101.0725
ประเทศ ไทย
จังหวัดยะลา
อำเภอเบตง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีขนบ ชาวนา
พื้นที่
 • ทั้งหมด78 ตร.กม. (30 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด26,668 คน
 • ความหนาแน่น341.89 คน/ตร.กม. (885.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04950201
ที่อยู่
สำนักงาน
335 ถนนสุขยางค์ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 95110
เว็บไซต์betongcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองเบตงมีระยะทางห่างจากนครยะลา 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 1,590 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซียทางด้านรัฐเประและรัฐเกอดะฮ์ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ชาวมาเลเซียนิยมแห่งหนึ่ง[3]

ประวัติ

แก้

แต่เดิมเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2482 ตำบลเบตงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลเบตง[4] โดยมีสงวน จิรจินดาเป็นนายกเทศมนตรีคนแรก[5] และต่อมาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เทศบาลตำบลเบตงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองเบตง[6]

ส่วนชื่อ เบตง ในปัจจุบันนั้น เป็นคำมลายู หมายถึง "ไม้ไผ่ขนาดใหญ่" คือไม้ไผ่ตง[7]

ภูมิศาสตร์

แก้

เมืองเบตงตั้งอยู่ในหุบเขา มีลักษณะเหมือนแอ่งกระทะที่ล้อมรอบด้วยภูเขา โดยมีลำคลองสำคัญไหลผ่านใจกลางเมืองเบตง คือ คลองเบตง ไหลมาจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกแล้วไปบรรจบกับแม่น้ำปัตตานี ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาจึงเทำให้พื้นที่รอบ ๆ เมืองเบตงเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดยะลาและภาคใต้ คือ แม่น้ำปัตตานี อันเป็นที่ตั้งของเขื่อนบางลาง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และยังแก้ปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองยะลา สภาพทางธรรมชาติทำให้เมืองเบตงมีหมอกตลอดปี จึงได้รับสมญานามว่า "เมืองในหมอกและดอกไม้งาม"[8]

ประชากร

แก้
ประชากร
เทศบาลเมืองเบตง
(รายปี)
ปีประชากร±%
2547 24,385—    
2550 25,241+3.5%
2551 25,480+0.9%
2552 25,636+0.6%
2561 26,668+4.0%
อ้างอิง[1][9][10]

ประชากรส่วนใหญ่ในเทศบาลเมืองเบตงมีหลายเชื้อชาติ ใน พ.ศ. 2551 มีประชากรทั้งหมด 25,534 คน เป็นเพศชาย 12,412 คน และเพศหญิง 13,113 คน[11] ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู, ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยพุทธ[12]

ศาสนาในเทศบาลเมืองเบตง (พ.ศ. 2562)[13]
ศาสนา ร้อยละ
พุทธ
  
51.92%
อิสลาม
  
47.75%
คริสต์
  
0.32%
ซิกข์
  
0.02%

สถิติการนับถือศาสนาของประชากรในเทศบาลเมืองเบตงเมื่อ พ.ศ. 2550[14] พบว่าส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 50.8 รองลงมาคือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 47.8, ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.9 และอื่น ๆ อีก 0.5 มีศาสนสถานทั้งหมด 10 แห่ง แบ่งเป็นมัสยิดทั้งหมด 8 แห่ง วัด 1 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 1 แห่ง[14] และการสำรวจใน พ.ศ. 2562 พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 51.92 รองลงมาคือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 47.75, ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.32 และศาสนาซิกข์ ร้อยละ 0.02[13]

จำนวนผู้นับถือศาสนาในเทศบาลเมืองเบตง[14]
แบ่งตามศาสนา พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550
อิสลาม 12,701 12,072
พุทธ 11,704 12,827
คริสต์ 499 252

ชุมชน

แก้

เทศบาลเมืองเบตง มีอาณาเขตปกครองครอบคลุมชุมชน 27 ชุมชน[12][15]

  1. ชุมชนกาแป๊ะกอตอใน
  2. ชุมชนกาแป๊ะกอตอนอก
  3. ชุมชนจาเราะกางา
  4. ชุมชนกาแป๊ะ กม. 2
  5. ชุมชนกาแป๊ะฮูลู
  6. ชุมชนบูเก็ตตักกรู
  7. ชุมชนกุนุงจนอง
  8. ชุมชนเบตงฮูลู
  9. ชุมชนฮางุส
  10. ชุมชนกือติง
  11. ชุมชนรัตนกิจ
  12. ชุมชนตัณฑ์วีระ
  13. ชุมชนวีระพันธ์
  14. ชุมชนศาลาประชาคมเทศบาล
  15. ชุมชนกองร้อย ตชด. 445
  16. ชุมชนคงคาสามัคคี
  17. ชุมชนมัสยิดกลาง
  18. ชุมชนสโมสร
  19. ชุมชนหลังศาลจังหวัดเบตง
  20. ชุมชนตลาดสดเทศบาล
  21. ชุมชนคชฤทธิ์
  22. ชุมชนแกรนด์วิลล่า
  23. ชุมชนสวนผัก (ปิยานนท์พงศ์)
  24. ชุมชนพัฒนะ
  25. ชุมชนกาแป๊ะ กม. 3
  26. ชุมชนกาแป๊ะ กม. 5
  27. ชุมชนร่วมใจพัฒนา

การศึกษา

แก้

เทศบาลเมืองเบตงมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง[16] และมีโรงเรียนในสังกัดเทศบาล 5 แห่ง[17] ได้แก่

  1. โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)
  2. โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านกอตอกาแป๊ะ)
  3. โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านกุนุงจนอง)
  4. โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านกาแป๊ะฮูลู)
  5. โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันต์)

รางวัล

แก้
  • รางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2551[12]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองเบตง". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. The town over the border
  3. "Road trip: Kuala Lumpur to Betong". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-20. สืบค้นเมื่อ 2013-03-04.
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลเบตง จังหวัดยะลา พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 951–954. 30 กันยายน 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2013-03-04.
  5. เทศบาลเมืองเบตง. ประวัติเทศบาลเมืองเบตง เก็บถาวร 2012-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 5 มีนาคม 2556
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองชะอำ, เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ, เทศบาลเมืองเบตง, เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร, เทศบาลเมืองนาสาร, เทศบาลเมืองบัวใหญ่)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2011-10-31.
  7. ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มติชน. 2547, หน้า 345
  8. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม (19 พฤษภาคม 2554). ประวัติตำบลเบตง. เรียกดูเมื่อ 5 มีนาคม 2556
  9. "รายชื่อเทศบาลนครจำนวน 22 แห่ง (ข้อมูล 16 พฤศจิกายน 2547)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-15. สืบค้นเมื่อ 2013-04-16.
  10. ประกาศเทศบาลเมืองเบตง เรื่อง แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2554-2556) เทศบาลเมืองเบตง[ลิงก์เสีย]
  11. เทศบาลเมืองเบตง ข้อมูลทั่วไป เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 5 มีนาคม 2556
  12. 12.0 12.1 12.2 ฐานข้อมูลรางวัลพระปกเกล้า. เทศบาลเมืองเบตง. เรียกดูเมื่อ 5 มีนาคม 2556
  13. 13.0 13.1 แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565) เทศบาลเมืองเบตง (PDF). เทศบาลเมืองเบตง. 2562. p. 37.
  14. 14.0 14.1 14.2 จำนวนผู้นับถือศาสนารายเทศบาล (ยะลา) - เบตง[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 5 มีนาคม 2556
  15. "แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) เทศบาลเมืองเบตง" (PDF). เทศบาลเมืองเบตง. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  16. กองการศึกษาเมืองเบตง (12 กุมภาพันธ์ 2556). เปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองเบตง[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 5 มีนาคม 2556
  17. ข้อมูลสถานศึกษาในจังหวัด ยะลา ประเภท โรงเรียนเทศบาล ประจำปีการศึกษา 2555[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้