เทศบาลนครแม่สอด

เทศบาลนครในจังหวัดตาก ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก เทศบาลตำบลแม่สอด)

เทศบาลนครแม่สอด เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลนคร ตั้งอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จัดตั้งเป็นเทศบาลนครขึ้นในปี พ.ศ. 2553 เป็นเทศบาลนครที่มีประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย

เทศบาลนครแม่สอด
จากซ้ายบนไปล่างขวา: สำนักงานเทศบาลนครแม่สอด, วัดชุมพลคีรี, ถนนบัวคูณ, ถนนอินทรคีรี, และภาพถ่ายมุมสูง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครแม่สอด
ตรา
คำขวัญ: 
แม่สอดเมืองน่าอยู่ ประตูการท่องเที่ยวชายแดน เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง แหล่งการค้าอัญมณี
ทน.แม่สอดตั้งอยู่ในจังหวัดตาก
ทน.แม่สอด
ทน.แม่สอด
ที่ตั้งของเทศบาลนครแม่สอด
ทน.แม่สอดตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.แม่สอด
ทน.แม่สอด
ทน.แม่สอด (ประเทศไทย)
พิกัด: 16°42′47″N 98°34′29″E / 16.71306°N 98.57472°E / 16.71306; 98.57472
ประเทศ ไทย
จังหวัดตาก
อำเภอแม่สอด
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีประเสริฐ ปวงละคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด27.2 ตร.กม. (10.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด39,261[# 1] คน
 • ความหนาแน่น1,443.41 คน/ตร.กม. (3,738.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03630601
สนามบินท่าอากาศยานแม่สอด
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครแม่สอด เลขที่ 99/99 ถนนสายเอเชีย ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
โทรศัพท์0 5554 7449
โทรสาร0 5553 1434
เว็บไซต์www.nakhonmaesotcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เทศบาลนครแม่สอด แต่เดิมก่อนปี พ.ศ. 2480 มีฐานะการปกครองท้องถิ่นโดยขึ้นอยู่กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีที่ว่าการอำเภอและหน่วยงานของแผนกต่าง ๆ คือ แผนกมหาดไทย แผนกที่ดิน แผนกสัสดี แผนกคลัง แผนกศึกษาธิการ แผนกสรรพสามิต แผนกสรรพากร แผนกอัยการ และมีหน่วยงานที่เป็นเอกเทศอีก คือ สถานีตำรวจภูธร และสถานีวิทยุอุตุนิยม ต่อมามีประชากรแน่นหนา มีจำนวนพลเมืองในท้องถิ่นสมัยนั้นประมาณ 12,000 คนเศษ จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2480 มีอาณาเขตในการปกครองสมัยนั้น มีเนื้อที่ 480 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนหมู่บ้าน 27 หมู่บ้าน

ต่อมาโดยคณะเทศมนตรี และด้วยความเห็นชอบของอำเภอและจังหวัดได้พิจารณาเห็นว่าเขตเทศบาลกว้างขวางมากเกินไปไม่สามารถที่จะปกครองดูแลทำนุบำรุงได้ทั่วถึง จึงพิจารณาของเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลให้เล็กลงมาอีกเพื่อเหมาะสมกับกำลังเงิน รายได้ ของท้องถิ่นที่จะทำการปกครองดูแลและทำนุบำรุงท้องถิ่นได้ทั่วถึง จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล เมื่อปี พ.ศ. 2492 ลงเหลือพื้นที่การปกครอง 27.2 ตารางกิโลเมตร และ ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมืองแม่สอด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544

เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยว่า เทศบาลเมืองแม่สอด มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป[# 1] ทั้งมีรายได้ควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 และเข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.เทศบาล มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2496 สมควรให้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาล "นครแม่สอด" ตามเจตนารมณ์ของท้องถิ่น อาศัยอำนาจตามมาตรา 11 และมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.เทศบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปลี่ยนแปลงเทศบาลเมืองแม่สอดเป็น "เทศบาลนครแม่สอด"[2]

สำนักงานเทศบาล แก้

อาคารสำนักงานเทศบาลตำบลแม่สอด ในระยะเริ่มแรกได้ทำการเช่าอาคารของเอกชนเพื่อใช้เป็นสำนักงานเทศบาล ตั้งอยู่ที่ถนนอินทรคีรี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 กิจการบริหารของท้องถิ่นได้เจริญขึ้น ทำให้อาคารสถานที่คับแคบไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติราชการ จึงได้ย้ายตัวอาคารสำนักงานเทศบาลโดยเช่าอาคารของเอกชนเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น กว้างขวางกว่าเดิมเหมาะสมกับการใช้เป็นอาคารสำนักงาน อยู่จุดกลางตลาด เป็นที่ชุมชน ตั้งอยู่ที่ริมถนนศรีพานิช

ในปี พ.ศ. 2489 ได้ย้ายอาคารสำนักงานเทศบาลไปเช่าอาคารเอกชนและเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ตั้งอยู่ที่ริมถนนประสาทวิถี ติดกับโรงเรียนรัฐบาล (โรงเรียนแม่สอดสรรพวิทยาคม) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2495 เทศบาลได้จัดซื้อที่ดินจากกระทรวงมหาดไทย มีเนื้อที่ 1,512 ตารางเมตร ดำเนินการก่อสร้างอาคารไม้ชั้นเดียวตามแบบแปลนของกรมโยธาธิการ แบบที่ 503 งบประมาณค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 59,900 บาท

ต่อมาได้มีการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีกจำนวน 15 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา ตั้งอยู่ใกล้ถนนสายเอเชียและเยื้องกับโรงเรียนเทศบาลวัดชุมพลคีรี พร้อมทั้งก่อสร้างสำนักงานเทศบาลหลังใหม่ เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท เทศบาลยังได้รับความร่วมมือจาก นางอะมีนา คาตูน ได้อุทิศที่ดินซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินที่สำนักงานใหญ่แห่งนี้เพิ่มอีกประมาณ 4 ไร่ เพื่อสมทบเป็นที่ก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลด้วย

ภูมิศาสตร์ แก้

แม่สอดมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา ทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาถนนธงชัย ภายในเขตเทศบาลมีลำห้วยแม่สอดไหลผ่านตัวเมือง

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เทศบาลนครแม่สอด ตั้งอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีพื้นที่ประมาณ 27.2 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 17,000 ไร่ มีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดตาก ประมาณ 87 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 509 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลต่าง ๆ คือ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตาว
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ และองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าสายลวด

ภูมิอากาศ แก้

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครแม่สอด (2524–2553)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.4
(95.7)
38.5
(101.3)
40.3
(104.5)
41.1
(106)
41.6
(106.9)
36.6
(97.9)
35.6
(96.1)
35.4
(95.7)
35.8
(96.4)
38.7
(101.7)
36.5
(97.7)
35.7
(96.3)
41.6
(106.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.6
(88.9)
34.0
(93.2)
35.8
(96.4)
36.8
(98.2)
34.1
(93.4)
31.4
(88.5)
30.5
(86.9)
30.3
(86.5)
31.5
(88.7)
32.2
(90)
31.5
(88.7)
30.4
(86.7)
32.5
(90.5)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 22.4
(72.3)
24.5
(76.1)
27.2
(81)
29.1
(84.4)
27.9
(82.2)
26.3
(79.3)
25.8
(78.4)
25.6
(78.1)
26.2
(79.2)
26.1
(79)
24.4
(75.9)
22.0
(71.6)
25.6
(78.1)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.3
(59.5)
16.7
(62.1)
19.8
(67.6)
23.1
(73.6)
23.9
(75)
23.6
(74.5)
23.2
(73.8)
23.1
(73.6)
23.2
(73.8)
22.3
(72.1)
19.2
(66.6)
15.5
(59.9)
20.7
(69.3)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 7.6
(45.7)
9.4
(48.9)
11.8
(53.2)
17.6
(63.7)
19.5
(67.1)
21.5
(70.7)
20.9
(69.6)
20.6
(69.1)
19.3
(66.7)
15.3
(59.5)
8.4
(47.1)
4.5
(40.1)
4.5
(40.1)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 1.7
(0.067)
8.2
(0.323)
15.5
(0.61)
44.8
(1.764)
174.2
(6.858)
255.4
(10.055)
329.0
(12.953)
321.7
(12.665)
185.4
(7.299)
102.1
(4.02)
23.7
(0.933)
5.9
(0.232)
1,467.6
(57.78)
ความชื้นร้อยละ 72 64 61 64 76 84 86 87 85 82 77 74 76
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 0.6 0.8 2.0 5.2 17.0 25.1 26.7 26.6 20.5 12.2 3.2 0.8 140.7
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 275.9 259.9 275.9 243.0 158.1 57.0 58.9 58.9 108.0 179.8 219.0 275.9 2,170.3
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยา[3]
แหล่งที่มา 2: Office of Water Management and Hydrology, Royal Irrigation Department (แสงอาทิตย์และความชื้น)[4]

ดวงตราเทศบาล แก้

ดวงตราเทศบาลเป็นรูปประตูเมือง เพราะตามประวัติศาสตร์นั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาตีประเทศไทยผ่านทางอำเภอแม่สอด ซึ่งเป็นเมืองด่านหน้า รับข้าศึกที่ด่านแม่ละเมา ด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์เทศบาลจึงได้กำหนดดวงตราเป็นรูปประตูเมือง เพื่อแสดงว่าครั้งหนึ่งเมืองแม่สอด เป็นเมืองหน้าด่านของประเทศไทยในการป้องกันการรุกรานจากประเทศพม่า

การศึกษา แก้

การขนส่ง แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 ขณะที่กำลังยื่นเรื่องขอเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนคร ในเขตเทศบาลเมืองแม่สอดมีจำนวนราษฎรเฉพาะจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร (ของกรมการปกครอง) ไม่ถึงเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้ แต่มีการตีความหมายของคำว่า "ราษฎร" ในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลอย่างถูกกฎหมายด้วย เป็นผลให้มีจำนวน "ราษฎร" ทั้งหมดเกินห้าหมื่นคน ประกอบกับมีการพิจารณาความเหมาะสมด้านอื่น ๆ แล้วเข้าเกณฑ์ที่จะยกฐานะเป็นเทศบาลนครได้ [1] ในที่นี้จะระบุจำนวนราษฎรตามฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเท่านั้น เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกับข้อมูลของเทศบาลนครแห่งอื่น ๆ

อ้างอิง แก้

  1. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครแม่สอด ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นเทศบาลนครแม่สอด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2012-07-10.
  3. "Climatological Data for the Period 1981–2010". กรมอุตุนิยมวิทยา. p. 5. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.
  4. "ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman Monteith (Reference Crop Evapotranspiration by Penman Monteith)" (PDF). Office of Water Management and Hydrology, Royal Irrigation Department. p. 28. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้