เทวปาหาร (อักษรโรมัน: Deopahar; แปลว่า หุบเขาเทวะ) หรือ เทวบรรพต (อักษรโรมัน: Deoparvat) เป็นแหล่งโบราณคดีในนุมาลีครห์ อำเภอโคลาฆาฏ รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย[1] ประติมากรรมและซากสิ่งปลูกสร้างที่พบเป็นตัวอย่างชั้นเยี่ยมของการผสานระหว่างศิลปะอารยันพราหมณีกับศิลปกรรมพื้นถิ่น[1] ปัจจุบันเทวปาหารอยู่ภายใต้อาณาเขตอุทยานประวัติศาสตร์โดยกองกำกับดูแลโบราณคดี[2] และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของรัฐอัสสัม[3] จากซากที่หลงเหลือในปัจจุบันทำให้เชื่อว่าสร้างไม่เสร็จแต่แรกหรืออาจะเสียหายจากแผ่นดินไหวในปี 1897

แหล่งโบราณคดีเทวปาหาร
ศาสนา
ศาสนาฮินดู
ที่ตั้ง
รัฐรัฐอัสสัม
ประเทศประเทศอินเดีย
เทวปาหารตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เทวปาหาร
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
เทวปาหารตั้งอยู่ในรัฐอัสสัม
เทวปาหาร
เทวปาหาร (รัฐอัสสัม)
พิกัดภูมิศาสตร์26°36′08″N 93°43′52″E / 26.60222°N 93.73111°E / 26.60222; 93.73111
สถาปัตยกรรม
เริ่มก่อตั้งศตวรรษที่ 10-11
วัสดุหิน

ผู้ปบูกและค้าชาชาวอังกฤษ ทอมัส การ์ดทาย (Thomas Guardthei) เป็นบุคคลแรกที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและความสลับซับซ้อนของซากโบสถ์พระศิวะที่เทวปาหาร โบสถ์พระศิวะนี้สร้างขึ้นจากหินบนพื้นหินก้อนเดียว (monolithic floor) เพดานเป็นหินแผ่นใหญ่ที่สลักเป็นรูปดอกบัวและวิทยาธร ประติมากรรมหินจำนวนมากที่เทวปาหารแกะสลักมาจากหินยุคก่อนคัมเบรีย หินที่ฐานเชื่อมเข้าด้วยกันโดยใช้จะงอยเหล็ก (iron hinges)[4]

ประติมากรรมต่าง ๆ ที่พบยังมีทั้งประติมากรรมแสดงรูปของอัปสร, พระวิษณุ, พระทวารบาลศิวะ, พระคเณศ, พระยม, พระสูรยะ, และวิทยาธร คนธรรพ์[1] รูปสลัก "อเปศวรี" ซึ่งเป็นรูปอัปสรสามหัวถือเป็นประติมากรรมที่งดงามที่สุดชิ้นหนึ่งจากเทวปาหาร ปัจจุบันประติมากรรมส่วนใหญ่จากเทวปาหารนำไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่โบสถ์พระศิวะในนุมาลีครห์ และพิพิธภัณฑ์รัฐอัสสัมในเมืองคุวาหาฏี นักโบราณคดี จี. ภูยัน (G. Bhuyan) บรรยายประติมากรรมเหล่านี้ว่าโดดเด่นเป็นพิเศษและแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของศิลปกรรมพื้นถิ่นอัสสัมที่พัฒนาในศตวรรษที่ 10[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Sarmah, Dr. Bijoy (September 1, 2020). "A Historical Study of the Archaeological Remains of Deopahar, Numaligarh" (PDF). SAMPRITI. VI (II): 667–679 – โดยทาง researchgate.net.
  2. "Home | Directorate of Archaeology | Government Of Assam, India". archaeology.assam.gov.in.
  3. "Historical Monuments | Assam Tourism Development Corporation Ltd | Government Of Assam, India". tourismcorporation.assam.gov.in.
  4. "Temple ruins on Dhansiri bank". www.telegraphindia.com.